Posts from the ‘เคล็ดลับ’ Category

วิธีการเก็งกำไรหุ้น2

วิธีการเก็งกำไร
1. รับความเสี่ยงสูงได้ และคิดให้ไว ทำให้ไว ใจก็ต้องถึงด้วย

ความเสี่ยงต้องรับได้สูงหน่อย ถ้ารับความเสี่ยงสูงไม่ได้ อย่ามาเก็งกำไร ให้ไปเล่นหุ้นโดยใช้แนวคิดแบบลงทุนดีกว่า คนที่เก็งกำไรได้ดี คือเขาพร้อมจะ cut loss ทันที เมื่อรู้ว่าเข้าพลาดจังหวะ การ cut loss นี่แหล่ะที่บอกว่าคุณรับความเสี่ยงได้สูง เมื่อรับความเสี่ยงสูงได้ ก็ต้องคิดให้ไว ทำให้ไวด้วย ช้าๆมันจะไม่ทันคนอื่น
2. วอลุ่มสำคัญมากๆๆๆ

การเก็งกำไร ต้องยึดที่วอลุ่มเป็นหลัก หุ้นที่ไม่มีวอลุ่มเข้ามาเล่น อย่าไปเก็งกำไรเด็ดขาด เสียเวลา เพราะเจ้ามือเขายังไม่ได้เล่น และไม่รู้จะเล่นเมื่อไหร่ ให้ไปเก็งตัวที่มีวอลุ่มเข้า ซึ่งหมายถึงเจ้าหุ้นตัวนั้นกำลังทำเกมส์ดีกว่า
3. อย่าเกี่ยงเรื่องราคา

บางคนเห็นหุ้นวิ่งขึ้นมาแรงๆ ก็ไม่กล้าเข้าไปเล่น เหตุผลคือเพราะซื้อไม่ทันปล่อยไปดีกว่า (แต่พอตอนถูกก็ไม่กล้าซื้อ เพราะกลัวจะไม่ขึ้นหรือไม่ก็กลัวมันจะลงได้อีก พอมันวิ่งขึ้นมาก็ไม่กล้าซื้อ เพราะว่าแพงไป จะเอายังไงแน่ ?) การเก็งกำไรนั้น อย่าไปหวังซื้อให้ต่ำที่สุด แล้วไปขายสูงที่สุด

หัวใจของการเก็งกำไรคือ เข้าไปเล่นเมื่อมีสัญญาณการเก็งกำไรเข้ามา และต้องขายออกมาในอีกไม่นาน พร้อมกับเอากำไรให้ได้ สมมติว่าหุ้นตัวนั้น จะวิ่งจาก 1 บาทไป 5 บาท คุณก็อย่าไปแคร์เพื่อซื้อ 1 บาทหรือกะขายตรง 5 บาท คุณแค่เอากำไรจากตรง 2 3 4 ให้ได้ก็เป็นพอ
4. ไปเรื่อยๆ อย่าชอบกินของเดิม

การเก็งกำไรต้องพเนจรไปเรื่อยๆ เหมือนจอมยุทธ์หนังจีน เข้าไปเก็งตัวไหนได้แล้วก็จงออกมา แล้วก็หาไปเรื่อยๆ ในตลาดหุ้นจะมีการเก็งกำไรหุ้นอยู่เสมอ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีให้เก็ง ยกเว้นเสียว่าคุณจะหมดโอกาสเสียก่อน เพราะไปติดหุ้นแล้วออกไม่ได้
5. เช็คข่าวเสมอ

หุ้นที่เก็งกำไรขึ้นมา มันต้องมีข่าวสนับสนุน ไม่ข่าวใดก็ข่าวหนึ่ง ต้องเช็คให้ดีๆ จะได้ไม่อยู่หลังเขา เช็คข่าวไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไร เข้าเว็บ http://www.ryt9.com แล้วพิมพ์ค้นหาตรงมุมขวาบนก็ได้ หรือจะเช็คจากที่อื่นก็ได้หุ้นอะไรที่มีการเก็งกำไรเข้ามา มักจะมีข่าวออกมาส่งเสริมอยู่เสมอ การมีข่าวออกมาช่วย หากข่าวนั้นสามารถต่อยอดได้อีกนาน หุ้นตัวนั้นก็สามารถเก็งกำไรได้เรื่อยๆด้วย แบบว่าเล่นได้เรื่อยๆ
6. เปลี่ยนหุ้นในหน้าจอบ่อยๆ

นักเก็งกำไรต้องกระฉับกระเฉง หน้าจอของคุณต้องสับเปลี่ยนหุ้นที่มีสัญญาณการเก็งกำไรเข้ามา เพื่อดึงมาดูอาก

ข้อคิดจาก เสี่ยป๋อง – วัชระ แก้วสว่าง 

● การถือเงินสด และมองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อน คือ กลยุทธ์ที่ปลอดภัย

● เทคนิคไม่เคยหลอกใคร นอกเสียจากหลอกตัวเอง

● เหนือฟ้ายังมีฟ้า บนสวรรค์ก็ไม่รู้มีตั้งกี่ชั้น ถ้าตอนหุ้นตกในนรกก็ไม่รู้มีกี่ขุม ไม่มีคำว่าถูกว่าแพงในตลาดหุ้น

● เราต้องรู้ตัวหุ้น รู้นิสัยหุ้น ต้องดูประวัติหุ้น ต้องรู้ว่าหุ้นตัวนี้ปีนี้มี Growth มั้ย?

● สุดท้ายก็ต้องมาดู “จุดซื้อด้านเทคนิค” จะช่วยให้ประหยัดเวลาเหมือนขึ้นรถเมล์ถูกสายไม่ต้องรอนาน

เสี่ยป๋องให้นิยามตัวเองว่าเป็น “นักเก็งกำไรหุ้นพื้นฐาน” ที่ส่วนใหญ่จะเล่นเก็งกำไรหุ้นบิ๊กแคป เขามีความเชื่อส่วนตัวว่าสุดท้ายแล้วคนเล่นหุ้น 100 คน จะแค่มี 20 คน ที่รอดตายจากตลาดหุ้น โดยคนที่ 1-5 จะรวยมหาศาล พวกนี้ไม่น่าห่วง ส่วนคนที่ 5-10 ก็จะรวยมาก ซึ่งตัวเองอาจอยู่อันดับ 8 (รวยมาก) ส่วนคนที่ 10-20 จะรวยแบบดูแลตัวเองได้ นอกจากนั้นอีก 80% ไม่เคยรอดพ้นน้ำมือตลาดหุ้น หากยังไม่รู้เทคนิคการเล่นหุ้นที่เหมาะสมกับตัวเอง

Master Of Trend

อะไรคือ “หุ้นปั่น” 30/01/2015 โดย pawawit 
เกริ่นนำ ว่าด้วยเรื่อง “หุ้นปั่น” ได้ยินแล้วตื่นเต้น มันอาจทำให้หลายคนเลือดสูบฉีด ประมาณว่า “อยากโดนเข้าไปแจม” …อย่างไรก็ตามขึ้นชื่อว่าปั่น ย่อมมีทั้งคนที่ได้และคนที่เสีย “ตลาดหุ้น” ใครๆก็รู้ว่ามันเป็น Zero sum game คือ ต้องมีคนนึงได้ และมีอีกคนนึงเสียเสมอ
“แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ” ..หากผมจะกล่าวว่า “คุณคิดผิด” ตลาดหุ้นไม่ใช่ Zero sum game แต่มันเป็นเกมของ “win –win” ล่ะคุณจะว่าอย่างไร
เรามาดูกันว่า การรับรู้กำไรหรือขาดทุน ของนักลงทุน หรือนักเก็งกำไร มีอยู่ทางเดียว ..นั่นก็คือ การขายหุ้นเท่านั้น …คุณไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากเลยว่า คุณกำไรหรือขาดทุน หากคุณยังถือครองหุ้นนั้นๆอยู่ เพราะราคามันสามารถขึ้นลงได้ทุกนาทีที่ตลาดเปิด
โดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะมีความเชื่อที่ว่า “หุ้นจะขึ้นลงตาม ผลประกอบการ” แต่นั้นเป็นความคิดที่อันตรายที่สุด เท่าที่ผมเคยได้ยินมาในการลงทุน
…เพราะ แท้จริงแล้ว หุ้นมันขึ้นลงตาม Demand & Supply ต่างหาก (ถ้า Classifies ให้ชัด หุ้นก็ไม่ต่างจาก Commodity ชนิดอื่นๆ ที่ขึ้นลงตามความต้องการของคนซื้อและคนขาย แต่สิ่งที่ทำให้หุ้นต่างจาก Commodity ชนิดอื่นๆ เนื่องจาก หุ้นมันไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องใช้ ..ซึ่งต่างจาก Commodity อื่นๆ ที่มักจะเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบในการผลิต จุดนี้ส่งผลให้หุ้นมีความผันผวนที่สุดโต่งกว่า Commodity ธรรมดานั่นเอง)
อย่างที่กล่าว ก็คือ “หุ้นไม่ใช่สิ่งจำเป็นของชีวิต ดังนั้น คนที่เข้ามาซื้อหุ้นมีวัตถุประสงค์ ไม่ใช่ที่การบริโภค
(หุ้น มันบริโภคไม่ได้ เพราะมันเป็นแค่สิทธิในการเป็นเจ้าของกิจการ — ไม่ใช่สิ่งที่บริโภคเข้าไปได้!!) วัตถุประสงค์ของการซื้อหุ้นจริงๆเลย …ก็คือซื้อเก็งกำไร ซึ่งแบ่งออกเป็น การเก็งกำไรในระยะสั้น และการเก็งกำไรในระยะยาว (ซึ่งหลายคน ให้นิยามของพฤติกรรมนี้ว่า การลงทุนนั่นเอง.. “ตัวผมก็ ถือว่าตัวเองคือ นักลงทุน เพราะฟังดูเท่ห์กว่านักเก็งกำไรระยะยาว แต่จริงๆมันก็เหมือนกันนั่นแหละ..หุ หุ”)
1. “นิยาม” หุ้นปั่นคืออะไร …ก็คือ หุ้นทุกตัวนั่นแหละ ที่พยายามซื้อขายทำให้ราคามันสูงขึ้นหรือลดลง เพื่อมุ่งหวัง ให้เป็นไปในทิศทางของกลุ่มคนหนึ่งๆ (นี่ไม่ใช่การกวนประสาท แต่มันคือ ความจริง ..เพราะหุ้นไม่สามารถขึ้นได้ หากไม่มีคนเข้ามาซื้อขายเก็งกำไร –แต่การจะเป็นหุ้นปั่นหรือไม่ มันขึ้นกับว่า ลักษณะการขึ้นลงของราคามันเป็นไปตามกลไกตลาด หรือ มันเป็นไปตามความต้องการของคนกลุ่มหนึ่งๆ)
สรุป “หุ้นปั่น” ก็คือ หุ้นที่วิ่งตามความต้องการของคนกลุ่มหนึ่งๆ ซึ่งบิดเบือนไปจาก ราคาที่ขึ้นลงตามกลไกของตลาดนั่นเอง
2. เราสามารถแบ่งหุ้นปั่นได้เป็น 2 ประเภท คือ
หนึ่ง ปั่นแบบมีพื้นฐานรองรับ คือ การทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ (ประเด็นนี้ต้องทำความเข้าใจนิดนึงว่า ตลาดหุ้นไทย เป็นตลาดที่ไร้คุณภาพ นั่นก็คือ มีคนเข้ามาซื้อขายน้อยมาก จุดนี้เองทำให้ตลาดหุ้นซบเซา และแทบไม่มีการเคลื่อนไหว ..ซึ่งถ้าดูให้ดีแล้ว นับจากปี 1997 เป็นต้นมา หุ้นที่ทำการซื้อขายอย่างจริงจัง มีเพียง “หยิบมือ” เท่านั้น โดยที่กลายเป็นว่า หุ้นส่วนใหญ่ถูกทิ้งไว้เฉยๆ แบบต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน และไร้สภาพคล่อง “หุ้นเหล่านี้คือ หุ้นพื้นฐานดี ที่เจ้าของก็คิดว่ามันต่ำกว่าความเป็นจริง จึงไม่ปล่อยหุ้นออกมาขาย ..และเนื่องด้วยไม่มีสภาพคล่อง ดังนั้น ก็ไม่มีคนเล่น”
จากต้นปี 2009 เป็นต้นมา ตลาดเปลี่ยนจาก Mode “ซบเซา” กลายเป็น Mode “Bullish” ..จุดนี้ทำให้เจ้าของหุ้นที่เคยเน่าๆ กลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะสืบเนื่องมาจากการที่ กิจการมีการฟื้นตัวที่ชัดเจน ประกอบกับ Sentiment ของตลาด ที่คึกคัก “และนี่เอง ก็เป็นความเป็นมาของ หุ้นปั่นที่มีพื้นฐานรองรับ” ( ก็คือเจ้าของ ถือโอกาสนี้ในการดันราคา หุ้นคุณภาพดีของตัวเอง ที่ราคาราคาต่ำเตี้ยมาเป็นเวลานาน ให้ราคาพุ่งขึ้นไปสะท้อนมูลค่าความเป็นจริง ตัวอย่าง หุ้นเหล่านี้ก็ เช่น หุ้นร้อนๆที่มีการซื้อขายอย่างร้อนแรงในปัจจุบัน แต่ถ้าย้อนไปก่อนหน้านั้นไม่นาน จะแทบไม่มี Volume ซื้อขายเลย “ก็คือเพิ่งมาปั่นนั่นเอง!!”)
สอง “หุ้นปั่นไร้พื้นฐาน” คือ หุ้นที่เจ้ามือ หรือ ขาใหญ่ในตลาด หาจังหวะ โดยใช้โอกาสในช่วงตลาด Bullish ในการไปเอาหุ้นที่ไม่มีพื้นฐาน (หุ้นห่วยแตก ..ตัวอย่าง เช่น หุ้นที่ไม่เคยมีกำไร ไม่เคยให้ปันผล ราคามีแต่ย่อลงๆ ..ลักษณะ การสังเกตหุ้นเหล่านี้ ก็คือ หุ้นที่ราคาต่ำมาก บางหุ้นราคาไม่กี่ สตางค์) ..ถามว่าทำไม นักปั่นหุ้นจึงเลือกหุ้นประเภทนี้มาปั่น ..ก็เพราะมันไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากในการปั่น รวมทั้งอีกสาเหตุคือ “คนปั่นจะต้องได้ไฟเขียวจากเจ้าของหุ้น” (และนี่เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก) …สมมุติว่า คุณเป็นเจ้าของหุ้นดี แต่ราคาถูก คุณย่อมไม่ต้องการให้ คนเอาหุ้นของคุณมาปั่นเล่น ทุบลง เพราะมันเสียภาพลักษณ์ต่อกิจการ (ซึ่งถ้าเจ้าของหุ้นดีราคาถูก ต้องการทำราคาจริง ก็คงต้องทำแบบวิธีแรก คือ การปั่นขึ้นไปแบบติดลมบน ทำราคาโดยมีพื้นฐานที่แท้จริงรองรับ ซึ่งแน่นอน ความต่างของ การปั่นแบบมีพื้นฐาน กับ การปั่นแบบไม่มีพื้นฐาน ก็คือ การ “ปิดเกม”)
—- การ “ปิดเกม” ของการปั่นหุ้นแบบไม่มีพื้นฐานรองรับ ย่อมจบลงด้วยการเทขายหุ้นทิ้งทุกราคา (ภาษาตลาดก็คือ เลือดสาด !! นั่นเอง) …ส่วนหุ้นที่ปั่นโดยมีพื้นฐานรองรับ ย่อม “ปิดเกม” โดยที่เจ้าของอาจทำกำไรบ้าง แต่หุ้นส่วนใหญ่ก็จะยังคงอยู่ในมือของเจ้าของอยู่ดี
การสังเกตุว่า หุ้นนั้นๆ เข้าข่ายหุ้นปั่น ต้องดูอย่างไร … “ง่ายๆ สังเกตุที่ Volume มันต้องมากกว่าปกติ ..ประกอบด้วย ข่าวดี ที่มีการปล่อยออกมา ทั้งข่าวแบบปากต่อปาก(วงใน) .. …ข่าวตามสื่อ จะเป็นข่าวที่ดี ประกอบกับการวิเคราะห์ในมุมบวกของนักวิเคราะห์ เสริมเข้ามา ….และแน่นอน ท้ายสุด ราคาต้องขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดในระยะเวลาสั้นๆ (มันจะขึ้นในอัตราที่สูงเกินกว่า การเพิ่มขึ้นของ SET Index อย่างมาก) เช่น SET ขึ้น 10% หุ้นตัวนั้นๆพุ่งขึ้น 300% .. “ปั่นชัวร์ ..ฟันธง!!”
—-คำ ถามที่น่าสนใจว่า หุ้นปั่นนั้นๆ เป็นหุ้นปั่นที่ มีพื้นฐาน หรือ ปั่นแบบเลือดสาด (ไร้พื้นฐาน)รองรับ ..ดูง่ายๆ ก็คือ ดูพื้นฐานกิจการนั่นเอง …. ง่ายๆ ถ้าเราไม่โลภ เราจะไม่หลงเข้าไปซื้อหุ้นปั่นหรอกครับ ดังนั้นต้องมีสติแล้วแยกแยะให้ออก !!

สูตรการเทรดให้ได้มากกว่าเสีย 

1. การวางแผนการเทรดและเทรดตามแผนของคุณ(Plan your trade And Trade your plan)

ในการเทรด ไม่ควรตัดสินตามอารมณ์ ความรู้สึกของคุณ ว่าราคาน่าจะขึ้น ราคาน่าจะลง แล้วเปิดคำสั่งเทรด คุณจำเป็นจะต้องมีการวางแผนในการเทรดเพื่อนำไปสู่ึความประสบความสำเร็จ

แผนการเทรดที่ดี ควรประกอบด้วย

– การกำหนด จุดเข้า หรือ สัญญาณในการเข้าเทรด

– การกำหนดจุด ขาดทุน ( Stop Loss)

– การกำหนดเป้าหมายกำไร ( Target)

– การวางแผนทางการเงิน ( Money Management)

– การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management) การจัดสรรค์การเรดให้เหมาะสม

แผนการเทรดที่ดีจะช่วยให้คุณตัดอารมณ์ ออกจากการเทรด ช่วยให้คุณไม่ต้องมานั่งเครียด เวลาที่ติดลบ หรือ ไกล้จะ Call Margin ( เงินใกล้จะหมด) ไม่ต้องถูกบังคับปิด เช่น มาจิ้นของคุณหมด ตัวอย่างแผนการเทรดหรือระบบเทรด คุณสามารถหาได้จาก google ลองหาแผนการเทรดที่เหมาะกับตัวของคุณ ลองทดสอบระบบ และเทรดตามระบบด้วยเงินปลอม อาจจะปรับปรุงให้เหมาะสมกับตัวของคุณ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับการเทรดของคุณ ซึ่งไม่มีระบบไหนที่ได้ผลการเทรดของคุณออกมา 100% ระบบเทรดที่ดี ควรมีประสิทธิ์ภาพมากกว่า 60 % ไม่ว่าคุณจะได้ระบบเทพ หรือ สุดยอดเทพ ยังไง คุณก็ต้องติดลบก่อน ไม่มีใครไม่เคย ติดลบ

2. แนวโน้มของกราฟ คือเพื่อนของคุณ ( The Trend is Your Friend ) 

อย่าคิดสวนเทรน ให้หาสัญญาณ Buy/ Long เมื่อ ตลาดอยู่ในสภาวะขาขึ้น ( Bullish Market ตลาดแดนบวก) และหาจังหวะ Sell/Short เมื่อตลาดอยู่ในสภาวะขาลง ( Bearish Market ตลาดแดนลบ)

3. การรักษาเงินลงทุน ( Focus on capital preservation)

สิงสำคัญอีกอย่างสำหรับการเทรด ต้องรักษาเงินในบัญชีของคุณให้ดีที่สุด การเปิดคำสั่งเทรดแค่ละคำสั่ง ไม่ควรจะเกิน 10 % ของเงินในบัญชีเทรดของคุณ เช่น เงินทุน 1000 $ คุณควจจะเทรดไม่เกิน 100$ ถ้าไม่มีการรักษาเงินทุนไว้ เงินทุนจะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเทรดมาก ได้มาก ก็เสียมาก เช่นกัน เมื่อเงินหมด คุณอาจจะท้อ หรือเลิกไปเลย เพราะฉะนั้น ควรจะเล่นน้อยๆ เรื่อย ๆ แล้ว จะประสบผลสำเร็จในตลาดฟอเร็ก ฟอเร็กไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย

4. ต้องรู้ว่าเมื่อไรควรจะตัดขาดทุน (Know when to cut loss)

ถ้าราคาวิ่งตรงข้ามกับที่คุณได้เทรดไว้ หรือคาดการณ์ไว้ สิิ่งแรกที่คุณต้อง

การเกร็งกำไร

1.ในโลกของการเก็งกำไรหรือการลงทุน ทั้งในตลาดทุนและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่เคยมี “อะไรใหม่” เกิดขึ้นเลย2.การทำกำไรอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปีเป็นเรื่องที่ยากมาก ไม่มีใครได้กำไรทุกวัน

3.อย่าเพิ่งเชื่อเหตุผลของตัวเอง จนกว่าตลาดจะเป็นคนบอกว่า ถูก หรือ ผิด

4.ตลาดไม่เคยผิด ความคิดส่วนตัวของคุณต่างหากที่ผิด

5.การเทรดที่ดี ที่ได้ผลและจับต้องได้ เป็นเม็ดเงินจริงๆ ควรจะเห็นผลกำไรตั้งแต่เริ่มแรก

6.ตราบใดที่หุ้นคุณยังไม่ออกนอกลู่นอกทาง และตลาดก็ยังทำตัวดีอยู่ ก็ไม่มีเหตุผลให้ต้องรีบร้อนทำกำไร

7.อย่าปล่อยให้ “การเก็งกำไร” กลายเป็น “การลงทุน” เด็ดขาด (ซื้อเก็งกำไรแล้วผิดทางต้องขาย อย่าหลอกตัวเองว่าลงทุนระยะยาว)

8.เงินที่เสียจากการ ขายตัดขาดทุน Stop Loss ถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับการ “ทนถือลงทุนเพราะจำเป็น”

9.ห้ามซื้อหุ้นด้วยเหตุผลที่ว่า “ราคามันลงมาเยอะมากแล้วจากจุดสูงเก่า”

10.ห้ามขายหุ้นด้วยเหตุผลที่ว่า “ราคามันดูแพงแล้ว”

11.เมื่อหุ้นสามารถทำจุดสูงใหม่ได้ หลังจากความเคลื่อนไหวที่เป็นปกติ ให้รีบซื้อทันที

12.ความกลัวจะทำให้คุณทำเงินได้จากตลาดน้อยกว่าที่ควรจะได้

13.“ความเป็นมนุษย์” ของเรา คือศัตรูที่น่ากลัวที่สุดของนักลงทุนและเทรดเดอร์

14.อย่าได้หวัง “ลมๆแล้งๆ”

15.การเคลื่อนไหวที่ยิ่งใหญ่มักต้องใช้เวลานานในการก่อตัว

16.การขี้สงสัยมากไป พยายามหาเหตุผลเบื้องหลังการเคลื่อนไหวของราคา ไม่ใช่เรื่องที่ดี

17.การเฝ้าดูจำนวนน้อยๆ ง่ายกว่าจำนวนมากๆ

18.ถ้าคุณไม่สามารถทำเงินจากหุ้นที่เป็นผู้นำ อย่าหวังจะสามารถทำเงินได้จากตลาดโดยรวม

19.ผู้นำของวันนี้ อาจไม่ได้เป็นผู้นำของสองปีข้างหน้า

20.อย่าตัดสินภาพรวมตลาดเป็นบวกหรือลบ เพียงเพราะหุ้นหนึ่งตัวใด ในบางกลุ่มได้เคลื่อนไหวสวนทิศทางของแนวโน้มหลัก

21.มีไม่กี่คนที่ได้เงินจากการเล่นตามข่าว จงระวังข่าววงใน ถ้าเงินหาง่ายขนาดนั้น คงไม่มีใครเอามาแจกคุณฟรีๆหรอก

22.ซื้อหุ้นที่กำลังขึ้น และ ขายเมื่อหุ้นกำลังลง

23.การเล่นหุ้น ไม่มีสูตรใดที่จะให้คุณได้กำไรจากมัน 100%

24.กำไรสามารถดูแลตัวมันเองได้ แต่การขาดทุนนั้นไม่เคยดูแลตัวเอง

25.จำเอาไว้เลยว่า หุ้นไม่มีคำว่าแพงเกินไปที่จะซื้อ หรือถูกเกินไปที่จะขาย

26.วันไหนที่ต้องขาดทุน ผมจะรู้สึกเจ็บปวด แต่ความเจ็บปวดนั้น ผมจะลืมมันภายในชั่วค่ำคืน แต่ไม่ได้หมายความว่า ผมจะไม่ใส่ใจมันนะ และถ้าคุณไม่ใส่ใจมัน ก็ถือว่ามันเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

27.ถ้าคุณถือหุ้นที่มากเกินไป และไม่สบายใจจนนอนไม่หลับ ทางแก้คือ ให้คุณขายหุ้นออกไปในจุดที่คุณสามารถนอนหลับได้ (Sleeping point)

28.ห้ามถัวเฉลี่ยขาลง เด็ดขาด

29.ซื้อขายตามวิธีการเทรดของตัวเอง และข้อมูลที่ได้รับ

30.ถ้าหุ้นที่ซื้อ ไม่วิ่งไปตามที่คาดหวังไว้ จะต้องไม่รอช้าที่จะขายออกไปทันที ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องถือรอมันในระยะยาว

หุ้นวัฏจักรเศรษฐกิจ โดย Invisible Hand

หุ้นวัฏจักรเศรษฐกิจ โดย Invisible Hand
หุ้นประเภท economic cyclical นั้นไม่ได้มี five force model ที่ดีมากนักเนื่องจากจะถูกกดดันจากแรงบีบของลูกค้าเมื่อลูกค้าได้ order เพิ่มเพราะลูกค้ามักจะใหญ่กว่าตัวเอง

ที่นี้ หุ้นแต่ละตัวก็คงจะมี model ที่แตกต่างกันรวมไปถึง pe ที่แตกต่างกันด้วย

เท่าที่สังเกตุมีหุ้นที่ pe ค่อนข้างจะสูงอยู่สองตัวคือ stanly ,sat

ผมดูแล้วมีความคล้ายกันในแ่ง่ของ roe ที่สูงกว่า 20% เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5-6 ปีย้อนหลัง

คำถามคือ
1 roe ที่สูงโดยเฉลี่ยน่าจะมีส่วนที่ทำให้หุ้น pe สูงด้วยใช่หรือไม่เนื่องจากมันสะท้อนถึงโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมและผลตอบแทนที่กลับมาในส่วนของผู้ถือหุ้นได้ค่อนข้างดี
– ครับ ควรจะเป็นอย่างนั้นครับ หุ้นที่มี roe ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นหลายตัวก็เกิดจากการไม่มีหนี้เลยและอีกทั้งอาจจะสะสมเงินสดไว้กับตัวมากเกินไปด้วยครับ รวมถึงหลายตัวก็มีประสิทธิภาพในการทำกำไร ( net margin ) และประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ ( ROA ) ที่ต่ำ
2.stanly มี roe ที่สูงและ d/e ที่ต่ำแต่ sat มี roe ที่สูงและ d/e ที่สูง

นั้นแสดงว่า roe ของ sat มีโอกาศเกิดจากการที่ใช้ equity น้อยเมื่อเทียบกับ debt

ดังนั้น roe ของ sat คุณภาพไม่น่าจะสู้ของ stanly ได้ ไม่ทราบว่าคิดว่าเกี่ยวหรือไม่
– ถ้า ROE เท่ากัน หุ้นที่ D/E ต่ำกว่าจะน่าสนใจกว่าเพราะแสดงว่ามี ROA สูงกว่าครับ และมีความเสี่ยงทางการเงินน้อยกว่า ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือน port การลงทุน 2 พอร์ต ให้ผลตอบแทนการลงทุน 40% ต่อปีเท่ากัน พอร์ตแรกไม่ใช้ margin loan เลย แต่ port ที่ 2 ใช้ margin 70-80% พอร์ตแรกย่อมดีกว่าครับเพราะเสี่ยงน้อยกว่าและมี roa สูงกว่า
3.ในทางกลับกันถ้าเราเจอบริษัทที่ d/e ต่ำแต่ roe สูงในที่นี้ผมสมมุติคำว่าต่ำคือ น้อยกว่า 0.5 ลงไป เราจะสามารถพูดได้ไหมว่านี้คือบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรที่ดีแต่มีโครงสร้างทางการเงินที่ conservative เกินไปเพราะถ้าบริษัทกู้มากขึ้นและใช้ส่วนของทุนน้อยลงจนทำให้ d/e สูงขึ้นไป .8-.9 บริษัทก็ยังไม่ถึงขั้นเสี่ยงแต่ผู้ถือหุ้นจะได้ return สูงขึ้น กรณีตัวอย่างบริษัทนี้คือ stanly
– ต้องดูประเภทธุรกิจด้วยครับ ธุรกิจที่ high operation risk คือ พวกที่เป็น economic cyclical ไม่ควร take financial risk มากไปครับ อย่างกลุ่ม auto ก็ถือว่าเป็น economic cyclical ครับ คล้ายๆ กับว่าถ้าเรามีอาชีพที่มีรายได้สูงแต่ไม่มั่นคง ถ้าจะซื้อบ้านซื้อรถควรซื้อเงินสดหรือถ้าผ่อนควรจะผ่อนให้สั้นที่สุด ยกตัวอย่างเช่น นักกีฬาหรือดารา ไม่ควรซื้อบ้านเงินผ่อน 30 ปีครับ ธุรกิจที่จะ take D/E ได้สูงๆ คือธุรกิจที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น ( low economic cylical ) หรือหุ้นที่มีรายได้จากค่าเช่าที่ค่อนข้างมั่นคงเช่น CPN Ticon หรือ SF ครับ
อีกธุรกิจหนึ่งที่มี operating risk สูงแต่กลับมี D/E สูงซึ่งเสี่ยงมากคือ สถาบันการเงิน เพราะในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำจะมี NPL เกิดขึ้นมากในขณะที่ D/E ของสถาบันการเงินสูงถึง 5-10 เท่า ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่พอเกิดวิกฤติเศรษฐกิจทีไรจะต้องมีสถาบันการเงินล้มละลายหรือปิดตัวไป แม้จะอยู่รอดได้แต่ราคาหุ้นก็ตกต่ำมากและจำเป็นต้องเพิ่มทุน แม้แต่สถาบันการเงินในสหรัฐก็หนีไม่พ้น ดังนั้นถ้าจะซื้อหุ้นแบบถือลืมถือยาวไม่ควรไปถือหุ้นสถาบันการเงินครับเพราะเป็นหุ้นที่ไม่ปลอดภัยในภาวะวิกฤติ
อีกพวกที่ มี high operating risk แต่ high p/e ( financial risk ) ก็คือหุ้นโรงกลั่นและสายการบินครับ ถ้าไปดู track record หุ้นเหล่านี้จะไม่ค่อยให้ long term return ที่ดีเท่าไหร่ครับ
4.การดู roe ของหุ้นอสังหาริมทรัพย์นั้นดูเหมือนจะไม่ใช่ประเด็นที่ตลาดจะตีค่า pe ให้สูงเช่นบริษัท spali ที่มี pe ค่อนข้างต่ำแต่มี gm ที่สูงและ roe ที่สูงแต่พอไปดูตัวเลขเช่น inventory turnover แล้วค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับบริษัทเช่น ps จุดนี้จะสะท้อนถึงงบกระแสเงินสดได้ใช่ไหมว่าบริษัท develop ที่มีการขายเร็วและ stock น้อยจะมีเงินสดสูงกว่าจึงทำให้ pe ของ ps สูงกว่า แบบนี้เราจะบอกได้หรือไม่ว่าหุ้น develop นั้น roe ,gm อาจจะเป็นประเด็นรองสำหรับตลาดในการให้ pe ถ้าเทียบกับความสามารถในการขายเร็วและบริหาร stock
– ถ้า Roe สูงแต่ inventory turnover ต่ำก็จะทำให้การเติบโตต้องใช้ working cap มากซึ่งก็จะทำให้ D/E สูงขึ้นและอาจจะนำมาซึ่งการจ่ายปันผลใน % ที่ลดลงและตามมาด้วยการเพิ่มทุนได้ครับ กรณีของ ps สามารถเติบโตได้ด้วยการพยายามลด inventory turnover ลงไปมากจึงทำให้เพิ่มยอดขายได้มากโดยที่ D/E เพิ่มไม่มากเกินไปและทำให้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน
5.ในทางกลับกันการตีค่าของ pe ที่ตลาดให้ในหุ้นอิเล็กทรอนิก ไม่แน่ใจว่าจะขึ้นอยู่กับประเด็นไหน เช่น kce มี gross margin ที่สูงระดับเกิน 20% มาจากความสามารถในการบริษัทจัดการที่ดีขึ้นของเสียลดลงแต่ดูเหมือนตลาดจะให้ pe ไม่สูงเท่าหุ้นพวก hana delta smt ซึ่งในกรณีนี้ผมเดาว่าตลาดคงเห็นว่าความสามารถในการทำกำไร และ roe ของ kce สู้หุ้นตัวอื่นที่กล่าวมาไม่ได้เพราะวัดจาก roe ย้อนหลังหลายๆปีแล้ว roe ของ kce เพิ่งจะมาดี ดังนั้นเราพอจะสรุปได้ไหมว่า หุ้นกลับตัวหรือมีการบริหารจัดการที่ดีขึ้นแม้ว่าอัตราการทำกำไรเช่น gm จะสูงมากแทบเรียกได้ว่าสูงที่สุดแต่ตลาดก็อาจมองว่าไม่ stable จึงไม่ปรับ pe

กรณีนี้นำมาซึ่งคำถามคือ
5.1ถ้า kce สามารถรักษาระดับกำไรขั้นต้นที่สูงต่อเนื่องได้พี่ ih คิดว่าเขาจะมีโอกาศได้ปรับ pe ไปเท่าตัวอื่นไหม หรือต้องดูว่าใครมี capex ในการรักษาความสามารถทางการแข่งขันสูงและต่อเพิ่มเติมหรือมีประเด็นไหนเพิ่มเติมอีก
– ที่ kce มี p/e ไม่สูงนัก น่าจะมาจาก 2 สาเหตุหลัก อย่างแรกคือ D/E ที่ 2 เท่ากว่าๆ สูงเกินไปสำหรับหุ้นในกลุ่มนี้ที่รายได้มีความผันผวนกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งการที่มี d/e สูงทำให้มี fixed cost คือ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยต่อรายได้ในสัดส่วนที่สูงกว่าหุ้นคู่แข่ง ซึ่งหากรายได้ลดลงก็เสี่ยงที่จะขาดทุนได้ สาเหตุที่ 2 ก็เกี่ยวข้องกับสาเหตุแรกอยู่บ้างคือ การที่ kce มีประวัติการทำกำไรที่เคยขาดทุนสลับกับกำไรมาก่อนเลยทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจในความต่อเนื่องของการทำกำไรจึงไม่กล้าให้ p/e สูงขึ้นครับ นอกจากนี้การที่ d/e ของ kce สูงขนาดนั้นน่าจะสะท้อนว่า kce น่าจะเป็นหุ้นที่ต้องมีการลงทุนสูงเพื่อขยายการผลิตหรือเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันครับ
5.2ในทางกลับกันดูเหมือน smt จะ pe สูงมากทั้งๆที่เพิ่งเข้าตลาดได้ไม่นาน ผมคิดว่าอาจจเพราะเป็นบริษัทสามารถสื่อให้กับนักลงทุนเข้าใจว่าบริษัทอจะสามารถเจาะสินค้าที่เป็น high growth ได้ ไม่ทราบว่ามีความเห็นอย่างไรครับ
– ดาราที่รับงาน presentor มากที่สุด อาจจะไม่ใช่ดาราที่หน้าตาดีที่สุดหรือนิสัยดีสุดก็ได้ครับ เรื่องการสร้างภาพลักษณ์และสร้างเสน่ห์ความตื่นเต้นก็สำคัญ จะเห็นได้เลยว่าดาราระดับ top ที่มีสินค้าในมือมากๆ จะต้องมีข่าวออกสื่อประจำไม่ว่าจะเป็นข่าวดีหรือข่าวเมาท์ก็ตาม สำหรับหุ้นที่ถามมานี้ตั้งแต่เข้าตลาดก็มี growth ให้เห็นและผู้บริหารก็ทำการสื่อสารกับนักลงทุนได้ดีครับ หุ้นที่มี p/e สูงก็แสดงว่านักลงทุนคาดหวังการเติบโตอยู่พอสมควร ส่วนราคาหุ้นระยะยาวจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทจะ deliver growth ได้ตามที่นักลงทุนคาดหวังไว้ ( ค่อนข้างสูง ) ได้หรือเปล่า
6.กรณีหุ้น cpf นั้นทำให้ได้เห็นว่าหุ้น cycle ในยุคหลังได้เปลี่ยนไปเพราะ cycle เกษตรใครๆก็บอกว่าสั้น cpf ไม่เคยทำกำไรได้ดีติดต่อกันสองปี แต่ปรากฏว่าหักปากกาเซียนก็คือ ราคาหมูไก่ของปี 2010 สูงต่อเนื่องและกำไรก็ทำ new high ซ้ำพร้อมกับราคาหุ้นที่ขึ้นไปต่อจากจุดที่ทุกคนมองว่าแพงแล้วอีกเป็นเท่าตัว
ในทางกลับกันบริษัทแพ็คเกจจิ้งอย่าง ptl aj นั้นถ้าคนซื้อซื้อตอน pe ต่ำมากๆช่วงที่หุ้นลงไป bottom ปลายปี 2008-ต้นปี2009 ตอนนั้น pe จะต่ำมากแต่ได้ราคาต่ำและราคาหุ้นก็วิ่งขึ้นไปแรงมากและถ้าขายที่จุดพีค pe ก็ค่อนข้างสูง สูงในที่นี้นับทั้งกำไร 4 ไตรมาสย้อนหลังและกำไรคาดการณ์จบปี 2553
ดูเหมือนกับว่าหลักการซื้อหุ้น cycle ที่ ลินบอกว่าซื้อตอน pe สูงๆขายตอน pe ต่ำๆจะใช้ไม่ได้กับหุ้น cycle รอบล่าสุด
ไม่ทราบมีความเห็นอย่างไรครับ
– CPF ถ้ามอง 5-10 ปีย้อนหลังจะเห็นว่ารายได้เติบโตมาตลอด และตัวธุรกิจเองก็มีความได้เปรียบในการแข่งขันสูงมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่มีขนาดเล็กกว่ามาก ซึ่งก็ควรจะดีมานานแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้ CPF ไม่ perform มาตลอดก็คือ net margin ที่ต่ำและผันผวนทำให้เกิดความไม่มั่นคงของกำไร แต่ตั้งแต่ปี 52 เป็นต้นมา CPF มี net margin ที่สูงขึ้นตามลำดับและเริ่มมีความมั่นคงของกำไรมากขึ้น รวมถึงทางผู้ถือหุ้นใหญ่ก็มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญของราคาหุ้นหรือ wealth ในตลาดหุ้นมากขึ้นมาก จึงทำให้นักลงทุน re-rated p/e มาเป็น p/e ของหุ้นจากหุ้น cyclical ที่มีกำไรไม่แน่นอนที่มักจะได้ p/e ต่ำมาเป็นหุ้น food ที่มีกำไรค่อนข้างแน่นอนและได้ p/e สูงขึ้นตาม แต่ระยะยาวๆ ก็คงต้องดูความสม่ำเสมอของกำไรอีกทีครับว่าสิ่งที่นักลงทุนคิดจะเป็นไปตามนั้นไหม แต่การที่ผู้ถือหุ้นใหญ่สนใจเรื่อง wealth มากขึ้นนั้นช่วยได้เยอะเลยครับ ตามที่ผมเคยเขียนบทความเรื่อง ? Wealth หลักของผู้ถือหุ้น ? น่ะครับ
7.ในมุมกลับกันหุ้น psl ที่ต้นปี 2003 มีกำไรปี 2002 ประมาณ 400 กว่าล้าน market cap 500 เศษๆ pe ก็แค่ 1 เท่าเศษและหุ้นขึ้น 20 กว่าเด้งในปีเดียว ถึงแม้กำไรปี 2004 จะโตต่อจาก ปี 2003 แต่หุ้นก็ไม่ได้ขึ้นต่อแล้ว ซึ่งก็กลายเป็นว่าขายปี 2003 ปลายปีดีกว่า ซึ่งก็เข้าข่ายซื้อหุ้น cycle pe ถูกไปขายตอน pe แพงเช่นกัน

ซึ่งต่างจากหลักการที่คนส่วนใหญ่พูด

ไม่ทราบมีมุมมองว่าอย่างไรครับ
– Psl นั้นมาจากจุดที่นักลงทุนแทบจะลืมไปแล้วว่ามีหุ้นกลุ่มเรือในตลาดหุ้น และไม่มีใครสนใจทำการวิเคราะห์จริงจังเลย ดังนั้น psl จึง trade ที่ p/e ต่ำในช่วงที่ธุรกิจกำลัง bottom out จึงทำให้คนที่ลงทุนในช่วงนั้นจึงได้กำไรค่อนข้างมากและหลังจากนั้นหุ้นกลุ่มเรือก็เป็นที่รู้จักมากขึ้น
ถ้าเรามาดูในปัจจุบันแม้ว่าหุ้นกลุ่มเรือจะอยู่ในวัฎจักรขาลง แต่หุ้นเรือก็ยังถูกติดตามในระดับหนึ่งและยังมีบทวิเคราะห์ติดตามอยู่พอสมควร ถึงทำให้ p/e หุ้นเรือในปัจจุบันอยู่ในระดับที่สูงคือประมาณ 20 เท่า ( คิดเฉพาะกำไรจากการดำเนินงานโดยไม่รวมกำไรจากการขายเรือ ) เพราะนักลงทุนเชื่อว่าเมื่อกำไรดีขึ้น p/e ก็จะลดลงมาเอง ดังนั้นขาลงรอบนี้ต่างจากรอบที่แล้วเพราะรอบนี้ยังมีคนสนใจอยู่พอสมควรเพราะภาพการทำกำไรหลายๆ เท่าของขาขึ้นรอบก่อนยังติดตาติดใจอยู่ครับจึงทำให้ราคาหุ้นและ p/e ไม่ได้ลดลงไปมาก แต่ถ้าถามความเห็นส่วนตัวของผม ผมคิดว่าวัฎจักรเรือยังห่างไกลจากจุดต่ำสุดเยอะครับเพราะค่าระวางเรือต่อวันในปัจจุบันยังอยู่ที่ 9,000-10,000 เหรียญต่อวันซึ่ง bottom รอบก่อนค่าระวางเรือลงไปถึง 4,000-5,000 ต่อวัน ซึ่งค่าระวางเรือในปัจจุบันที่ 1 หมื่นเหรียญนั้นยังไม่ได้ทำให้เรือเก่าที่มีอายุ 30 ปีปลดระวางเลยเพราะ cash operating cost ของการเดินเรืออยู่ที่ 4-5 พันเหรียญจึงทำใหเรือเก่าๆ ที่หมดภาระค่าเสื่อมและดอกเบี้ยแล้วสามารถวิ่งได้สบายๆ เมื่อเรือเก่าไม่ปลดระวางในขณะที่เรือที่สั่งต่อใหม่ยังเข้ามาเรื่อยๆ ก็ทำให้ค่าระวางเรือก็ไม่สามารถเป็นขาขึ้นได้ครับเพราะยังอยู่ในภาวะ oversupply (ซึ่งวัฎจักรเรืออาจยาวมากกว่าที่ีเราคาดกัน)
8 ไม่ทราบว่าคุณ ih มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องการฟื้นตัวของหุ้นหลังจากปลายปี 2008 ครับ คือเนื่องจากว่าหุ้นในหลายๆกลุ่มที่ตัวฟื้นตัวแรงที่สุดก็คือตัวที่มี d/e สูงกว่าตัวอื่นค่อนข้างมาก
ผมยกตัวอย่างนะครับ sat ตอนนั้น d/e 1.48 เท่าในขณะที่ stanly มี d/e 0.24 เท่าสำหรับงบปี 2551 แต่ sat ขึ้นจาก bottom 10 เด้ง stanly 4 เด้งกว่า

พอมาดูในหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิก kce ขึ้นเยอะสุดเลยครับ 13 เด้ง แต่ตอนนั้น kce มี d/e 3 เท่าถือว่าสูงที่สุดเช่นกัน

หรืออย่างการบินไทย ตอนนั้นสภาพคล่องแทบเอาตัวไม่รอดแต่ขึ้นจาก bottom ขึ้นมาได้ถึง 8 เด้ง
โดยส่วนตัวผมคิดว่าในเวลาที่เราไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะแย่นานแค่ไหนเราควรเลือกหุ้นที่งบแข็งแกร่งไว้ก่อนแต่เมื่อเราเห็นสัญญาณฟื้นตัวเราควรย้ายตัวไปเล่นตัวที่มี d/e สูงแทนเนื่องจากหุ้นพวกนี้ตอนยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ราคาหุ้นจะลงลึกกว่าพวกงบการเงินดีแต่เมื่อมีสัญญาณฟื้นตัวมันก็ทะยานได้ไกลกว่า และเมื่อยอดขายกลับมาดีการที่หุ้นพวกนี้คืนหนี้ได้ ก็มี room ในการ improve ตัวเองได้มากกว่าหุ้นที่งบการเงินดีด้วย
ไม่ทราบว่าคุณ ih มีความเห็นอย่างไรในประเด็นนี้ครับ
– การขายหุ้น defensive ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติน้อยและปรับตัวลงน้อยไปซื้อหุ้นที่ได้รับผลกระทบมากและปรับตัวลงมากก็เป็นกลยุทธ์ที่สร้างผลตอบแทนได้สูงในช่วงที่ตลาดผ่านจุดที่ลงหนักๆ มาแล้ว ซึ่งก็เป็นสิ่งที Buffet ก็ทำครับ Buffet ก็ขายหุ้นอุปโภคบริโภคมาซื้อหุ้นสถาบันการเงินในช่วง subprime ครับ อย่างไรก็ตามก็มีข้อแม้อยู่ว่าบริษัท high d/e ที่ราคาตกต่ำลงมากๆ จะต้องไม่เจ๊งหรือโดนลดทุน หรือจะไม่ต้องโดนแปลงหนี้เป็นทุนจนทำให้ dilute มากเกินไปด้วยนะครับ อย่าง crisis ครั้งที่ผ่านมาแม้ว่าหุ้นจะลงลึกแต่ก็ฟื้นเร็วและเป็นสิ่งที่อยู่นอกประเทศผลกระทบมาที่บ้านเราจึงไม่มากเท่าตอนปี 40 ครับ
9.เรื่องของ model dcf ที่แปลงเป็นค่า pe เช่น

ถ้าบริษัทได้เจ้าหนี้การค้านานก็จะมี cash flow ที่ดีและทำให้ model dcf ได้มูลค่าสูง และทำให้ pe สูงแต่จริงๆแล้วพอเราทำ dcf ในระยะยาวบริษัทก็ต้องคืนเงินเจ้าหนี้อยู่ดีและบริษัทที่มี กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกเยอะๆเพราะมีรายการเจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นก็ไม่สามารถปันผลได้มากกว่ากำไรเพราะจะทำให้ส่วนของทุนลดลงจนถึงจุดนึงก็จะปันผลไม่ได้ ถูกไหมครับ
– ก็เป็นประเด็นที่ดีครับ เต็มที่ก็ปันผลได้เท่ากับกำไรครับ หรือมากกว่ากำไรได้เป็นบางปีครับ ไม่มีบริษัทใดสามารถปันผลได้มากกว่ากำไรในระยะยาวๆ ครับเพราะจะทำให้ equity ลดลงเข้าใกล้ 0 ครับ ดังนั้น model DCF ของหุ้นค้าปลีกถ้าเอาแบบ conservative ก็ควรจะ discount net profit ไปเลย หรือใช้เป็น dividend discounted model ครับ
แต่สิ่งที่ตลาดให้ pe กับหุ้นค้าปลีกก็คือให้สูงซึ่งดูสอดคล้องกับ model ที่ว่ามา

สิ่งที่ผมคิดคือการที่บริษัทได้เจ้าหนี้การค้าสูงๆนั้นสะท้อนถึงอำนาจต่อรองที่มีมากและสะท้อนถึงความเสี่ยงที่น้อยกว่าในเรื่องของ cash cycle และบริษัทก็บริหารได้ง่ายกว่า เพียงแต่มองดูแล้วการได้เจ้าหนี้การค้าที่พอเข้า dcf model แล้วสุดท้ายก็ต้องคืนเงินเจ้าหนี้และปันผลจากส่วนนี้ไม่ได้ก็เลยอยากฟังความเห็นของคุณ ih ในเรื่องนี้ดูบ้างน่ะครับ
– ผมคิดว่า p/e ของหุ้นค้าปลีกที่ได้สูงๆ นั้นน่าจะสะท้อน growth มากกว่า ถ้าจะสังเกตหุ้นค้าปลีกที่ได้ p/e ค่อนข้างสูงอย่าง CPALL HMPRO Robins ก็ไม่ใช่หุ้นที่ปันผลสูงมากนัก แต่มี growth ที่ดีมากระดับ 20-40% ต่อปีในช่วงนี้ และหุ้นที่ปันผล 100% ของกำไรแต่โตไม่มากก็ไม่ได้ p/e สูงเท่าไหร่ครับ แต่ใครสนใจคิดจะลงทุนหุ้นเหล่านี้ที่ p/e 25-30 เท่าก็คงจะต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นครับเพราะแทบไม่มีหุ้นตัวไหนที่จะโตได้ 20-30% ต่อปีได้ตลอดไปครับ
10.ในมุมกลับกัน model dcf ที่ว่าถ้ามีลูกหนี้การค้าน้อยจะทำให้มีกระแสเงินสดดีเมื่อเทียบกับบริษัทที่มีลูกหนี้การค้าเยอะๆซึ่งจะส่งผลให้ fcf สูงและ pe สูง แต่อีกมุมนึงถ้าบริษัทอยากที่จะเติบโตเร็วในแง่ของยอดขายและกำไรการที่ยอมมีลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นบ้างคงจะทำให้บริษัทเติบโตได้ง่ายกว่า การเข็มงวดกับการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้การค้ามากเกินไป เรื่องลูกหนี้การค้า่ถ้าในภาวะที่เศรษฐกิจดีโอกาศที่จะมีหนี้สูญมากๆคงจะน้อย ดังนั้นหุ้นที่ยอมมีลูกหนี้เยอะหน่อยแต่ยอดขายโตได้เร็วกำไรโตเร็วหุ้นคงมีโอกาศขึ้นในเร็วกว่าหุ้นที่ conservative เรื่องลูกหนี้มากเกินไป
ผมเลยมองว่าถ้าดูจาก model dcf ลูกหนี้เยอะเป็นสิ่งที่จะกดให้ fcf ต่ำ

แต่ในแง่ของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่ชอบเห็นกำไรโตเร็วๆ การที่มีลูกหนี้การค้ามากขึ้นเท่ากับยอดขายหรือโตกว่ายอดขายเล็กน้อยราคาหุ้นน่าจะขึ้นได้เร็วกว่าหรือไม่ในาภวะที่เศรษฐกิจไม่แย่และหนี้ไม่กลายเป็นหนี้เสีย

หรือพูดแบบนี้ได้ไหม ถ้าเศรษฐกิจไม่แย่–>เก็บหนี้ได้–>กำไรโตเร็ว–>หุ้นขึ้นเยอะ

เศรษฐกิจไม่แย่–>หนี้สูญ–>กำไรหดหาย–>หุ้นลงเยอะ
สรุปคือในภาวะที่เรามองว่าไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจหุ้นที่มีลูกหนี้เยอะก็สามารถเป็นการลงทุนที่ upside เยอะได้เมื่อเทียบกับ downside และตลาดอาจจะให้ pe สูงด้วยถ้าหุ้นนั้น high growth
– ธุรกิจที่ขยายตัวโดยที่มีลูกหนี้การค้าเยอะหรือมีระยะเวลาเก็บหนี้นาน เมื่อขายถึงจุดหนึ่งจะต้องใช้ working cap เพิ่มเรื่อยๆ ซึ่งจะนำมาซึ่ง D/E ที่สูงขึ้น ปันผลลดลงและอาจจะเพิ่มทุน แต่ปัญหานี้จะลดลงไปมากหากอีกขาหนึ่งคือบริษัทก็สามารถมีระยะเวลาการจ่ายเงินให้กับ supplier ที่นานตามไปด้วย ซึ่งก็จะ match กันพอดี แต่ตัวที่ระยะเวลาการเก็บเงินจากลูกหนี้นานๆ แต่ต้องจ่าย supplier เร็วอย่างนี้ก็จะลำบากครับ นอกจากนี้การมีลูกหนี้การค้ามากๆ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ในงบดุลหรือเทียบกับกำไรก็จะเสี่ยงมากหากเกิดวิกฤติแบบปี 40 ครับเพราะจะเกิดหนี้เสียจำนวนมาก และปกติลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นมักจะถูก finance ด้วยเงินกู้ระยะสั้น bank O/D ซึ่งในช่วงวิกฤติดอกเบี้ยมักจะสูงขึ้นมากจึงทำให้ต้นทุนการมีลูกหนี้การค้ามากๆ นั้นยิ่งสูงขึ้นไปอีกครับ
11.กรณีของ advanc ที่สมัยก่อนนานมากแล้วเคยมี pe 30-40 เท่าแต่ยอดใช้โทรศัพท์ในประเทศไทยน้อยมาก พอคนหันมาใช้โทรศัพท์กันเยอะขึ้นก็ทำให้หุ้น advanc ขึ้นมาเยอะมากๆแม้ว่า pe จะแพงมากแล้วก็ตาม จนถึงจุดนึงหุ้น advanc กำไรก็แทบไม่โตอีกเลย ประเด็นคือหลังจากที่กำไรแทบไม่โตตลาดควรจะให้ pe ของ advanc ที่เท่าไหร่นั้นคงขึ้นอยู่กับ
payout ratio เนื่องจากว่ามันเป็นตัวการันตีผลตอบแทนให้กับนักลงทุนถ้าตลาดให้ pe 15 ปันผลต่อปีก็ 6.6% ผมคิดว่าถ้า advanc ไม่มีปันผลแบบนี้หนุนเอาไว้ สำหรับหุ้นที่ไม่โตตลาดคงให้ pe ไม่ถึง 10 เท่า
ที่นี้คำถามต่อมาก็คือ หุ้นเช่น cpall bgh ที่ถือว่าเป็นหุ้นเติบโตที่ได้ปันผลไม่ค่อยเยอะ เช่นได้ปันผลน้อยเลยเมื่อเทียบกับหุ้น advanc แต่ตลาดให้ pe สูงกว่าเมื่อถึงจุดที่ cpall bgh หยุดโต ถ้าสองตัวนี้ไม่หันมา pay out ระดับ 100% เหมือน advanc คงจะมีโอกาศได้ pe ต่ำกว่า 10 เท่าไม่ทราบว่ามีความเห็นอย่างไรครับ
– ก็เป็นไปได้ครับ แต่อย่างไรก็ตาม หุ้นที่จะโตได้มาจาก 2 ทางครับ คือ volume growth กับ price growth ซึ่ง advanc ในช่วงอิ่มตัวมากๆ ก็อาจจะไม่สามารถโตได้ทั้ง 2 ทาง ทำให้กำไรอาจจะคงที่ไปเลยเหมือนหุ้นพวก utility เช่น โรงไฟฟ้าทำให้มีสภาพคล้ายๆ bond ในขณะที่หุ้นอย่าง cpall หรือ bgh ในจุดที่ไม่ขยายหรือ volume ไม่โตแล้วแต่ก็ยังสามารถปรับราคาขายหรือค่าบริการได้ในอัตราเดียวกับเงินเฟ้อหรือมากกว่า จึงทำให้อาจจะสามารถโตเท่ากับหรือมากกว่า inflation ได้ ซึ่งก็น่าจะเป็นเหตุผลที่ในช่วงอิ่มตัวของ cpall หรือ bgh ก็ยังอาจจะมีการเติบโตของกำไรมากกว่าครับ โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นมากกว่าเงินเฟ้อ 1-2% ต่อปีครับ โดยเราจะเห็นได้จากโรงพยาบาลบางแห่งที่ไม่มีการขยายเลยแต่ก็ยังมีการเพิ่มขึ้นของกำไรได้จากการปรับราคาค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น อย่างเช่นกรณีของ NTV เป็นต้นครับ
ที่มา : mrsuradej.blogspot.com

ทำไมหมอและวิศวกรจึงลงทุนได้เก่ง

Hide story
ที่มา จิตวิทยาและแนวคิดเกี่ยวกับการลงทุน
ทำไมหมอและวิศวกรจึงลงทุนได้เก่ง

เคยสงสัยมั้ยครับว่าทำไมวีไอในเมืองไทยหลายคนจึงมีพื้นฐานมาจากวิศวกรและแพทย์ ทั้งที่ในการเรียนการสอนทั้งสองสาขาวิชานี้ ไม่มีเค้าลางในเรื่องของวิชาการลงทุนอยู่เลย

หากใครหลายคนติดตามรายการ Money talk เราจะพบว่า คนรวยที่สุด จบวิศวกรแล้วเรียนต่อสาขาทางการเงิน คนรวยอันดับสอง จบแพทย์แล้วเรียนต่อเฉพาะทางการทำคลอด คนรวยอันดับสาม เป็นอาจารย์สอนด้านธุรกิจและการลงทุน คนรวยอันดับสี่ เป็นนักพูด (ขออภัยล่วงหน้านะครับถ้าผมเข้าใจผิด)

ผมเคยเห็นกระทู้ในพันทิปเคยโพสถามว่า “ถ้าโตขึ้นอยากเป็นวีไอ หนูควรเลือกเรียนสาขาใดดีคะ”

คำตอบมันเห็นๆกันอยู่แล้ว “หนูไปเรียนหมอหรือไม่ก็วิศวกรเถอะจ๊ะ” จบมาแล้วจะได้เป็นวีไอ

แน่นอนว่า หมอหลายคนก็ยังคงเจ๊งหุ้น วิศวกรหลายท่านก็ยังติดดอย ปตท. แต่อย่างน้อยหลายท่านก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงลิ่ว ผมก็มีเพื่อนที่เป็นทั้งแพทย์และวิศวกร ดังนั้น “อะไร?” ที่ทำให้สองอาชีพนี้แตกต่างจากอาชีพอื่นๆ ที่อาจช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในการลงทุน

อย่างแรก ผมคิดว่าเป็น selective bias
ในประเทศไทย ค่านิยมของสังคมในสมัยผมนั้นนิยมส่งเสริมให้ลูกเรียนแพทย์หรือไม่ก็วิศวกร การแข่งขันเพื่อสอบเข้าสองคณะนี้นั้นสูงลิ่ว ดังนั้นคนสองกลุ่มนี้จึงถูกคัดเลือกมาแล้วว่าเป็นวัตถุดิบชั้นเลิศ ดังนั้น ไม่ว่าจะเอาเขาไปทำอะไร ก็คงจะอร่อยกว่าปกติ

อย่างที่สอง พวกเขาเรียนสาขาวิชาที่หลากหลายมาก
แพทย์จะต้องเรียนทั้งเคมี ชีวะ ฟิสิกส์ ระบบการทำงานของร่างกาย แบคทีเรีย พืช ยา รังสี จิตใจ กฏหมาย สังคม ฯลฯ ในขณะที่วิศวกรก็ต้องเรียนทั้งการคำนวณ กฏฟิสิกส์ การประยุกต์ใช้ความรู้ การออกแบบระบบ การควบคุมงาน การวิเคราะห์โครงการ กฏหมาย ฯลฯ ซึ่งจะต่างจากอาชีพอื่นเช่น นักชีววิทยา รู้เฉพาะเรื่องสิ่งมีชีวิตที่ตนศึกษา นักกฏหมาย ที่รู้แต่กฏหมาย นักการเงิน ที่รู้แต่เรื่องเงิน นักการตลาด ที่เรียนเฉพาะการตลาด คนที่เรียนมาหลากหลายกว่า จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายทิศทาง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่หลากหลายได้มากกว่า และสามารถมองในภาพรวมได้ง่ายกว่า

อย่างที่สาม พวกเขาเป็นนักแก้ปัญหา
แพทย์จะได้รับโจทย์ที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละวันของการปฏิบัติงาน วิศวกรก็ต้องพยายามแก้ปัญหาไม่ซ้ำกันเช่นกัน ดังนั้น เมื่อมาเจอโจทย์ทางการลงทุน พวกเขาจึงน่าจะทำได้ดีกว่า เพราะทักษะในการลงทุนนั้น ไม่ได้ใช้ทักษะในทางใดทางหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ต้องประเมินจากบริบทในหลายๆด้าน และไม่ว่าจะพยายามเช่นไร ก็จะยังต้องทำไปโดยที่ยังมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในงานนั้นๆเสมอ การเรียนรู้โดยให้แก้ปัญหาเป็นทักษะที่สำคัญของสองอาชีพนี้ ในขณะที่อาชีพอื่นๆอาจเน้นไปในทางการมีความรู้เฉพาะด้านนั้นๆ

อย่างที่สี่ เมื่อจบมาก็ได้ทำงานเป็นหัวหน้าหรือในระดับการจัดการ
แน่นอนว่าทั้งสองอาชีพนี้อาจจะต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อการเลื่อนขั้นอยู่บ้าง แต่ career path นั้นสั้นกว่าอาชีพอื่นๆอย่างชัดเจน เป็นหมอก็เป็นหมออยู่อย่างนั้นตั้งแต่ต้น ไม่มีเจ้านาย มีแต่ต้องคอยกำกับควบคุมทีมให้ทำงานตั้งแต่แรก ดังนั้น จึงได้ฝึกการตัดสินใจด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการตัดสินใจที่ดี ก็เป็นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งในการลงทุน

อย่างที่ห้า ทั้งสองอาชีพนี้มีฐานเงินเดือนที่สูงตั้งแต่แรก
เงินนั้นมีมูลค่าตามเวลาด้วย เงินที่ได้มาตอนอายุน้อยจะสามารถทวีค่าได้มากกว่าเงินที่ได้มาตอนอายุมาก ดังนั้นถ้าสามารถออมเงินได้มากตั้งแต่อายุน้อย ก็จะสามารถประสบความสำเร็จในการลงทุนมากกว่า

ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะไม่ได้เป็นทั้งแพทย์และวิศวกร ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นอะไรที่ไม่สำคัญ ประเด็นสำคัญนั้นอยู่ที่ว่า เราเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายเพียงพอแล้วหรือไม่ เรามีทักษะในการแก้ปัญหาที่ไม่มีคำตอบสำเร็จตายตัวได้ดีหรือไม่ เราสามารถทำสิ่งต่างๆได้อย่างดี ดดยไม่ต้องรอให้ใครมาออกคำสั่งหรือไม่ และประการสุดท้าย เราตั้งใจในการออมและมีวินัยในการลงทุนตั้งแต่เราอายุยังน้อยได้หรือไม่

ลองมองหาคนใกล้ตัวหรือหนังสือของคนที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนมาอ่านดูครับ เพื่อจะได้ข้อมูลที่มากขึ้นว่า “อะไร” ที่ทำให้เขาเหล่านั้นประสบความสำเร็จ

ความสำเร็จนั้นเป็น “โรคติดต่อ” ครับ

เราต้องอยู่ใกล้ๆคนที่ประสบความสำเร็จเข้าไว้

แชร์ เทคนิค การซื้อ/ขาย หุ้นที่ราคา เปิด/ปิด ให้ปลอดภัย

shared สามัญชน คนเล่นหุ้น’s status.

แชร์ เทคนิค การซื้อ/ขาย หุ้นที่ราคา เปิด/ปิด ให้ปลอดภัย

เป็นเทคนิคที่ไม่ใหม่อะไรนะครับ หลายคนน่าจะรู้แล้ว แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ ผมแนะนำวิธีนี้ให้รุ่นน้อง/รุ่นพี่ หลายคนที่พึ่งเข้าตลาด ก็บอกว่าพึ่งรู้

ก็เลยอยากนำมาแชร์ไว้ในบอร์ด เทคนิคที่ว่า เกี่ยวข้องกับ การซื้อขายหุ้น ที่ราคาปิดหรือเปิดตลาด ที่เรียกว่า ATO/ATC นั่นเองครับ

ทุกคนคงทราบดีว่า ซื้อราคา ATO ATC คืออะไร มันก็คือ

ATO = การซื้อหรือขายหุ้นที่ราคาเปิด ซึ่งจะมี สองรอบ คือ ประมาณ 10 โมงเช้า และรอบบ่าย 14.30
ATC = การซื้อหรือขายหุ้นที่ราคาปิด ซึ่งจะมี รอบเดียว คือ ก่อนปิดตลาดประมาณ 16.30

ในช่วงก่อนปิดตลาดหลายคนมักใช้คำสั่ง ATC ในการซื้อหรือขายหุ้น โดยหวังว่าจะได้ราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาล่าสุดเล็กน้อย จึงตั้งซื้อหรือขาย ATC แล้วมาลุ้นว่าราคาปิดวันนั้นคือเท่าไหร่ เช่นสมมุติว่า ราคาของหุ้น A วิ่งอยู่ก่อน ปิดตลาดตอนเย็น ที่ 5.00 บาท คนที่อยากขายหุ้นก็มองว่า 5.00 นี่หละพอใจแล้วอยากขาย แต่ขอตั้ง ATC ละกันเผื่อว่า มันปิด 5.05 จะได้ได้กำไรมาอีกช่องนึง แต่ถ้ามันลงไป 4.95 ก็ยังรับได้อยู่ไม่ซีเรียส

ถ้าคุณคิดแบบนี้ แนะนำตอนที่ตลาด pre-close คือกระพริบ ATC อยู้ให้ตั้งขาย หุ้น A ที่ราคา 4.90 (ต่ำกว่าราคาที่ยอมรับได้ซัก 1ช่อง) ที่ให้ตั้งแบบนี้ เพราะเมื่อปิดตลาดแล้ว แม้ว่าราคาปิดจะปิดสูงกว่าราคา 4.90 ที่ตั้งขายไว้เช่นปิดที่ 4.95,5.00 หรือ 5.05 คุณจะขายหุ้น A ได้ที่ราคาปิดของวันนั้นแทนทันที แม้ว่าจะตั้งขายไว้ 4.90 ก็ตาม บางคนเข้าใจผิดคิดว่า ถ้าชั้นตั้งขาย 4.90 แล้วตลาดมันปิด 5.00 ชั้นก็ซวยหน่ะสิขายได้ 4.90 เอง แทนที่จะได้ 5.00 ราคาปิด ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะราคาหุ้นที่ขายได้จะเป็นราคา 5.0 แทนแม้จะตั้งขายไว้ 4.90 ก็ตาม

วิธีนี้มีประโยชน์ อย่างไร ประโยชน์ คือคุณสามารถขายหุ้นได้ราคาปิด ตามเจตนาเดิม ในกรณีที่ปิดแล้วหุ้นโดดสูงกว่าเดิมก็ยังขายได้ราคาปิดตามนั้น เช่นราคาก่อนเข้าสู่ pre-close 5.0 แต่ปิด 5.05 ถึงแม้คุณจะตั้งขาย 4.90 ก็จะขายได้ราคาปิด 5.05 เหมือนกัน แต่การตั้งแบบนี้ดีกว่าตั้ง ATC ยังไง ดีตรงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดราคาปิดที่ผิดเพี้ยนจากราคาก่อนตลาดปิดไปมาก หลายๆคนคงเคยเห็นเหตุการ์ณกับหุ้นบางตัวที่ ราคาปิดกระโดดขึ้นโดดลง แบบผิดปกติ บางครั้งลงถึง floor หรือ ขึ้นถึง ceiling สมมุติว่าคุณตั้งขาย ATC แล้ว หุ้นโดดลงไปปิดที่ราคา floor 4.00 บาท จะเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่เกิดคือคุณขายหุ้นได้ ที่ 4.00 บาททันที ซึ่งอาจขาดทุนมหาศาลจากราคา 5.00 บาทที่ตั้งใจขายไว้ แต่ถ้าหากคุณตั้งขายไว้ 4.90 แทนการใช้ ATC ในกรณีเกิดเหตุการณ์นี้ หุ้นของคุณจะไม่ macth เพราะราคาปิด 4.00 ต่ำกว่าราคาขายที่ตั้งไว้ 4.90 ทำให้คุณรอดจากการขายหุ้นราคาขาดทุนยับเยิน

เช่นเดียวกับการซื้อหุ้น คนตั้งซื้อ ATC แล้วก็ภาวนาหวังให้มันโดดลงไปต่ำกว่าราคาก่อนปิด สัก 2-3 ช่องเพื่อจะได้ราคาถูกขึ้นมาอีกนิด ซึ่งคุณสามารถตั้งแบบใส่ราคาซื้อได้แทนการตั้งแบบ ATC ในช่วง pre-close เช่น หุ้น A ราคาก่อนปิด 5.00 บาท คุณก็อาจจะตั้งซื้อที่ 5.10 (สูงกว่าราคาที่ยอมรับได้ซัก 1 ช่อง) ถึงแม้ว่าหุ้น A จะปิดที่ ราคา 4.95 คุณก็จะได้หุ้นมาในราคาปิด 4.95 แม้จะตั้งซื้อไว้ว่า 5.10 ก็ตาม

การตั้งซื้อไว้ราคา 5.10 ไม่ทำให้คุณได้หุ้นแพงขึ้นหากราคาปิดคือ 4.95 คุณก็จะได้หุ้นที่ราคา 4.95

แต่การตั้งราคาซื้อ 5.10 ไว้แทนการซื้อด้วย ATC ก็จะช่วยกันการเกิดกรณีเดียวกับข้างบนคือ เกิดราคาปิดเกิดเหตุพิสดาร โดดไปปิดราคา celling หรือปิด 6.00 บาท ถ้าคุณสั่งซื้อแบบ ATC ก็จะได้หุ้นมาราคา 6.00 บาทซึ่งแพงกว่า 5.00 ก่อนปิดไปเยอะมาก และมีโอกาสขาดทุนสูงหากวันต่อไปมันกลับมาที่ 5.00 บาทเหมือนเดิม แต่ถ้าตั้ง 5.10 ไว้แล้วราคาปิดเป็น 6.00 หุ้นคุณจะไม่ match และรอดพ้นความเสียหายจากการที่ราคาหุ้นกระโดดแบบผิดธรรมชาติ

ความเสี่ยงเหล่านี้ ป้องกันได้ อย่าโทษตัวเองว่าตั้ง ATC แล้วไอ้บ้าที่ไหน มันถอนไม่ทันทำให้ชั้นโดนร่างแห ได้ราคาซื้อแพงติด celling หรือขายได้ ราคา floor แทนที่จะได้ราคาปกติ ไปด้วย

เทคนิดนี้ผมใช้ประจำเวลา จะเก็บหุ้น ราคาก่อนปิด เช่นเห็นหุ้นวิ่งก่อนปิด 5.00 และผมรู้สึกว่าราคานี้เหมาะสมอยากซื้อ 1000 หุ้น ผมก็ตั้ง 1000 หุ้น 5.10 บาท หากราคาปิดสรุปออกมาเป็น 4.90 ผมก็ใช้เงินแค่ 4.90*1000 ในการซื้อ 1000 หุ้นนี้ แม้จะตั้งซ์้อไว้ 5.10 บาทก็ตาม

การตั้ง 5.10 เพื่อระบุว่าผมยอมรับการดีดขึ้นของราคาหุ้น ณ ราคาปิดได้แค่ 5.10 บาท ถ้ามากกว่านี้ เช่นปิดที่ 5.5 6.0 ผมก็จะไม่ได้หุ้นไปโดยอัตโนมัติ
ผิดกับการซื้อแบบวัดดวงกับการติ้ก ATC ไม่ว่ามันจะปิดเท่าไหร่เช่น ถ้ามันปิด 5.5 6.0 คุณก็จะได้ราคานั้นไปโดยปริยาย

หวังว่าคงมีประโยชน์ครับ การลงทุนมีความเสี่ยงอยู่แล้ว แต่เรื่องบางเรื่องความรู้ความเข้าใจสามารถลดความเสี่ยงได้ อย่าปล่อยให้ทุกอย่างขึ้นกับดวง ทั้งๆที่คุณกำหนดมันได้
Cr.เทิร์นอะราวเต่าหมุน

สร้างเนื้อสร้างตัว ผ่านหลายๆทาง

สร้างเนื้อสร้างตัว ผ่านหลายๆทาง

ผมเห็นหลายๆคน มีเป้าหมายชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอิสระ ทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จก้าวหน้าของชีวิต หรือครอบครัวที่สมบูรณ์ อย่างนึงที่หลายๆคนไม่ได้พูดถึง คือ จะไปให้ถึงตรงนั้นอย่างไร

อย่างนึงที่หลายๆคนไม่ได้พูดถึง คือ จะไปให้ถึงตรงนั้นอย่างไร
ผมอยากแนะนำหัวข้อที่คนในเว๊ปนี้สนใจ

ว่าจะไปให้ถึงอิสระทางการเงิน ได้อย่างไร

วันนี้ขอเสนอหัวข้อ สร้างเนื้อสร้างตัว ผ่านหลายๆทาง

ต้องแต่เราเรียนจบมา จากคนบ้านๆ ไม่ได้คาบช้อนเงินช้อนทอง คนส่วนใหญ่ก็เพิ่งได้รับรายได้จริงๆ จากการเป็นลูกจ้างเป็นหลักแต่ การเป็นลูกจ้าง
และการเป็นพนักงานนี่แหละ มีน้อยคนมาก ที่จะประสบความสำเร็จในระดับที่เรียกว่ารวยได้ ต้องเป็นระดับ ผู้จัดการขึ้นไป ถึงจะเรียกได้ว่ามีอยู่มีกินในระดับที่ดี และน้อยยิ่งกว่าน้อยที่จะไปถึงระดับบริหาร ซึงน่าจะเรียกได้ว่า มีอันจะกิน
ลองคิดดูว่าเดี๋ยวนี้บ้านหลังละ 5 ล้านบาท ดูจะเป็นเรืองธรรมดาๆ
แต่คนเงินเดือนซัก 6 หมืนบาทนี่ซื้อไม่ได้นะ
คนเงินเดือน 6 หมืนบาทนี่ ผมว่า ถ้าไม่ได้ทำงานบริษัทฝรั่ง ระดับสุงๆหน่อย ก็น่าจะหายากพอดู ดังนั้นอาจจะเป็นอะไรที่ลำบากพอควรก่อนที่จะไปถึงระดับนั้น

แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่เป็นลูกจ้างเลยนะ
เพราะลูกจ้างเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในชีวิต ไม่เคยเป็นลูกจ้างเลย เราก็ไม่รู้ว่าพนักงานคนอื่นๆคิดอย่างไร

จะเห็นได้ว่าจากภาพด้านบน คนส่วนใหญ่คงเป็นลูกจ้างอย่างเดียวไม่พอทีจะสามารถมีอิสรภาพทางการเงินได้

ดังนั้น เราต้อง สร้างเนื้อสร้างตัวผ่านหลายๆทาง
นอกจากเป็นลูกจ้างแล้ว เราคงต้องหารายได้อย่างอื่นๆ เข้ามาไม่งั้นเป้าหมายของเราคงไปถึงได้ยาก
ทางเลือกมีมากมายหลายแบบ
1. ทำงานอิสระ เป็น freelance
2. มีกิจการเป็นของตัวเอง
3. ลงทุนในหุ้น
4. ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
5. อย่างอื่นที่ผมไม่ได้คิดถึง

ผมไม่ได้ใสการลงทุนใน bond เพราะผมคิดว่า bond ไม่ได้ทำให้รวยแต่ทำให้เรารักษาเงินต้นไม่ได้ เงินเฟ้อมันทำลายมูลค่าของเงินที่มีอยู่เท่านั้น ไม่ได้เพิ่มค่าเงินของเราอย่างมีนัยยะสำคัญ

รายได้ทางเดียวไม่พอ เพราะอยู่มันอาจหายไป แล้ว เราจะไม่สามารถกลับตัวได้ เช่นบริษัท lay off พนักงาน
เมื่อวานพี่คนหนึ่งมา interview กับผม ทำงานมาแล้ว 3 ปี เป็น super visor แต่ก็โดน lay off เพราะบริษัทขาดทุน ทั้งที่ตัวเองเป็นคนที่ดูแลงานเยอะมากในบริษัท แต่เมือแผนกโดนปิด ก็โดนทั้งแผนก

ดังนั้นเราต้องรู้ว่าเราเหมาะกับอะไร โดยดูตัวเองเป็นหลักว่าเหมาะกับอะไร แต่อย่าพยายามจำกัดตัวเองให้อยู่แค่ สิ่งที่เห็นเฉพาะหน้า รายได้ที่ได้รับอยุ่ แต่คงต้องมองด้วยว่า ตอนนี้ เราคงต้องบริหารความเสี่ยง โดยที่หารายได้หลายๆทาง

ที่มา จาก Thai Value Investor(http://www.taradfreelance.com/index.php?option=com_content&view=article&id=62&Itemid=84)

วิธีการสร้างเนื้อสร้างตัวให้รวยแบบคนจีน

วิธีการสร้างเนื้อสร้างตัวให้รวยแบบคนจีน

ที่จริงก็ไม่มีอะไรมาก เป็นสูตรสำเร็จที่ใครๆก็รู้ ว่าถ้าทำได้ดังนี้รวยทุกคน เล่าให้ฟัง(อ่าน)ใหม่
ฝรั่งชาวยุโรปกล่าวคำเปรียบเทียบชาวจีนต่างแดนไว้อย่างหน้าฟังว่า “ชาวยุโรปนั้นเป็นดังคนเลี้ยงโค แต่พ่อค้าชาวจีนโพ้นทะเลเหมือนคนรีดนมโค” ซึ่งเป็นคำเปรียบเทียบที่เหมาะกับชาวจีนมากที่สุด
ฝรั่งชาวยุโรปคิดทำสินค้าต่างๆ ออกมา แล้วชาวจีนก็เป็นผู้นำไปจำหน่าย การทำการค้าก็มิได้ว่าจะทำกันได้สำเร็จทุกคน
แต่สำหรับชาวจีนโพ้นทะเลที่พากันมาจากบ้านเกิดเมืองนอนด้วยมือเปล่าทั้งสองข้าง เริ่มต้นก่อร่างสร้างตัวจนมีหลักมีฐานที่มั่นคงและร่ำรวยขึ้นมา
ในสมัยโบราณ มีคำพังเพยของไทยกล่าวไว้ว่า “มีผัวจีนได้กินหมูเห็ดเป็ดไก่ มีผัวไทยได้กินเล็กกินน้อย”
ชาวจีนโพ้นทะเลได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในประเทศไทยส่วนมากประสบความสำเร็จทางการค้าเป็นส่วนใหญ่
บางรายร่ำรวยเป็นเจ้าสัวบางรายได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา พระ ขุน หลวง บางคนรับราชการเป็นเทศาภิบาลมณฑล
อันความสำเร็จของชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานมาจากความขยันขันแข็งประหยัดมัธยัสถ์ บางคนอดทนต่อความลำบากยากเย็นร้อยแปดพันประการจากสิ่งแวดล้อม กล้าทำในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้าทำ
ซึ่งเราปฎิเสธไม่ได้เลยว่า อันความเก้าหน้าของประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่ได้อาศัยชาวจีนโพ้นทะเลเป็นผู้บุกเบิกพัฒนา
ชาวจีนโพ้นทะเลมีสายตาทางการค้าที่ยาวไกล กล้าลงทุนก่อสร้างร้านค้าที่สูงใหญ่และทันสมัย
คนไทยส่วนมากมีที่ดินของตนเอง แต่ไม่กล้าลงทุนก่อสร้างอาคารร้านค้า ยอมให้ชาวจีนลงทุนทำซึ่งชาวจีนทำจนเสร็จแล้วก็เรียกคนมาเช่าเซ้ง ได้กำไลไปอย่างน่าดู
เตี่ยของผู้เขียนก็เป็นชาวจีนโพ้นทะเลคนหนึ่ง ที่เดินทางมาจากประทศจีน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้บุกประเทศจีน เตี่ยลงเรือสำเภาหลบภัยจากสงคราม ด้วยความมุ้งมั่นที่จะมาตั้งตัวในประเทศไทย
เมื่อแรกเดินทางมาถึง ได้มาขอพักกับชาวจีนรุ่นก่อนที่ร่ำรวยอยู่แล้ว โดยยินดีรับทำงานและรับใช้ทุกอย่าง เท่าที่เจ้าสัวนั้นจะใช้ เพื่อแลกกับอาหารและที่หลับนอน
ในสมัยแรกๆก็หางานทำเป็นกรรมกรได้เงินวันละเล็กวันละน้อยก็อดทนพยายามเก็บเงินอย่างกระเหม็ดกระเหม่ ต่อมาก็มีเงินพอซื้อรถจักรยานเก่าๆ มาคันหนึ่ง ตื่นแต่เช้ามืดเพื่อไปรับขนมปังจากโรงงานทำขนมปังมาส่งร้านกาแฟของชาวจีนที่มีอยู่ก่อน
ตอนกลางวัน พอมีเวลาหน่อยก็เดินตลาดหาซื้อของจากร้านยี่ปั๊วมาขายร้านขายปลีก จนกระทั่งเก็บเงินได้ ก็แยกออกมาอยู่ห้องแถวเล็กๆทำการค้าแป้งที่ใช้ทำขนมปังและขนมหวาน
พยายามเก็บเงินอยู่เป็นเวลานับสิบปีจึงได้งานใหม่ คือ ค้า เมล็ดลูกบัวโดยไปรับเอาลูกบัวทั้งเปลือกมาส่งคนไทยที่มีฐานะยากจนกะเทาะ แล้วจึงรับลูกบัวที่กะเทาะเปลือกเสร็จมาคัดเลือกเอาแต่ลูกบัวที่ดีๆ ใส่กระสอบส่งชาวจีนที่เป็นพ่อค้าแถวตลาดเก่าเยาราช
ท่านทำการค้าจนเก็บเงินได้ก้อนใหญ่ ก็มาทำธุรกิจด้านโรงแรม การค้าท่านขยายตัวจนมีหุ้นในโรงแรมหลายแห่ง พอมีฐานะร่ำรวยขึ้นมาจึงสร้างโรงแรมนานากับเพื่อนๆชาวจีน จนโรงแรมเจริญใหญ่โต
ท่านทำหน้าที่เป็นสมุห์บัญชีของโรงแรม จนกระทั่งท่านเสียชีวิตไป
เตี่ยของผู้เขียนท่านเล่าให้ฟังถึงการตั้งตัวของท่านว่า ต้องอาศัยความประหยัด เขียม ในตอนที่กำลังสร้างตัว อย่าใช้จ่ายเกินตัว
ท่านเล่าให้ฟังเป็นตัวอย่างของชาวจีนโพ้นทะเลสองคน ซึ่งเมื่อเดินทางมาถึงเมืองไทยแล้วก็ได้เช่าห้องเล็กๆ ห้องหนึ่งใช้เป็นที่ซุกหัวนอนด้วยกัน แล้วพัดกันทำกับข้าว คนละสัปดาห์ คนหนึ่งเป็นคนเขียมเมื่อทำอาหารกิน แต่ละมื้อก็ซื้อแต่ผักกาดดองและเต้าหู้ยี้มากินตลอดสัปดาห์
พอถึงคราวอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีนิสัยตามใจปาก และใช้เงินซื้อหมูเห็ดเป็ดไก่ มาทำอาหาร
คนที่เขียมก็เตือนเพื่อนว่า ลื้ออยู่กินอย่างนี้จะไม่สามารถตั้งตัวได้ อั๊วขอแยกทางกับลื้อ อั๊วจะไปเช่าห้องอยู่เอง
ตกลงคนที่เขียมก็ทำงานต่างๆเจริญก้าวหน้าขึ้นเลื่อยๆจนกลายเป็นเศรษฐี เวลาผ่านไปยี่สิบปี เจ้าสัวก็บังเอิญมาพบเพื่อนเก่าที่ชอบกินเป็ดกินไก่ในขณะที่ยังจนอยู่
พบว่าเพื่อทำงานหาบกระจาดขายเป็ดขายไก่ที่สุขแล้วโดยเร่ขายไปตามถนนหนทาง
เจ้าเพื่อนเก่าดีใจมากที่พบเพื่อนเจ้าสัว ก็ขอความช่วยเหลือจาดเศรษฐีจีนจึงเรียกเพื่อนมาสั่งสอนว่า ความประหยัดและอดทนจึงจะตั้งตัวได้ ถ้าเพื่อนยังไม่รู้จักเขียม อั๊วก็ช่วยอะไรลื้อไม่ได้ แต่ถ้าลื้อรู้จักเขียมอั๊วก็จะช่วยลื้อ
เจ้าคนขายเป็ดขายไก่ก็ร้องไห้ บอกอั๊วเข็ดแล้ว จะทำงานอย่างเจ้าสัวก็ไม่มีทุน
ตกลงท่านเศรษฐีจนให้เพื่อนยืมเงินเพื่อไปเป็นทุน เพื่อนคนนั้นภายหลังรู้จักประหยัดจึงตั้งตัวได้ แต่ความที่เป็นคนตามใจปาก ก็อดไม่ได้จึงตั้งภัตคารขึ้น
ในไม่ช้าเค้าก็ตั้งตัวได้ และกลายเป็นเจ้าสัวไปอีกคนหนึ่ง นี่แหละครับศิลปะการตั้งตัวแบบคนจีน
หวังว่าคงป็นประโยช์แก่ผู้อ่านที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัวอยู่ และขอเป็นกำลังใจให้ประสบความสำเร็จในวันข้างหน้า และสุดท้ายเมื่อท่านประหยัดและอดทนได้อย่างนี้แล้ววันหนึ่งท่านจะพบว่าท่านรวยแล้วแบบไม่รู้ตัวเลยก็ได้ครับ(รู้ตัวอีกที่ก็รวยซะแล้ว อิอิ)

8 สิ่งที่ควรรู้ในตลาดหุ้น

8 สิ่งที่ควรรู้ในตลาดหุ้น
บริหารพอร์ต หุ้นให้กำไร แนว Guru Trading profit BY YO NON
หลักการเล่นหุ้นอย่างแรกนะคับ….. อย่าให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผลคับ ไม่ว่า
จะอารมณ์โลภ อารมณ์กลัว อารมณ์เสียดาย อารมณ์เสียใจ ตลาดหุ้นมักสร้างสรรค์
อารมณ์ให้นักลงทุนได้สารพัดหละและเป็นอุปสรรคหลักที่ทำให้แพ้เกมส์นี้นะคับขอบอก …….. ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ เวลาหุ้นลงมาราคาถูกๆคนมักไม่อยากซือ้ (กลัวรวย) ตลาดเลยวายซะงั้น แต่พอหุ้นราคาแพงๆ นักลงทุนหน้าใหม่มักเข้าตลาดกันคึกคัก แล้วก็ติดหุ้นราคาสูงกันเป็นประจำ …… ว่าแล้วเรามารู้ในสิ่งที่ควรรู้ในตลาดหุ้นกันดีกว่า
1. ตลาดหุ้นเป็นสิ่งที่ทุกคนคิดไม่ใช่เราคิดคนเดียว เป็นจิตวิทยามวลชน …. รู้เขา รู้เรา เป็นกลยุทธที่ใช้ได้เสมอ การอ่านบทวิเคราะห์ให้มากๆทั้งของโบรกเกอร์ไทยและโบรกเกอร์ต่างประเทศ(ซึ่งหาอ่านได้ยาก) รวมถึงติดตามข่าวสารทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด จะช่วยเปิดมุมมองของเรา ให้Vision (วิสัยทัศน์) กว้างขึ้นค่ะ …. ยิ่งยุคนี้เป็นยุค Globalization ข้อมูลเปลี่ยนแปลงเร็ว(มาก) ต้องตามกระแสให้ทันนะคับ …. การเล่นหุ้นที่ดี ต้องเริ่มจากการหาข้อมูล ให้มากๆแล้วมาวิเคราะห์ประมวลผล ไม่ใช่เริ่มจากคิดเองมีธงในใจ ถ้าไม่เก่งจริงอย่างหลังนี่โอกาสแพ้สูง …..
2.การซือ้หุ้นเป็นการซื้ออนาคต ไม่ใช่ซื้อปัจจุบัน …… หลักการคือ ให้มองไปข้างหน้าเสมอ มองว่าหุ้นตัวนั้นมีอนาคตที่ดี(มาก)รออยู่หรือไม่ ถ้ามองแล้วไม่เห็นอะไรที่ดีขึ้น ซือ้หุ้นตัวนั้นไปก็ไม่ขึ้นหรอกคับ….. การศึกษาอดีตที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่ดีทำให้เรารู้ประวัติ แต่อย่ายึดติดกับการวิเคราะห์อดีต หลงทางได้ง่ายๆคับ ……
3.การเลือกตัวหุ้นต้องเทียบความน่าสนใจกับราคาที่จะซื้อเสมอ ….. หุ้นตัวเดียวกัน วันนี้ดี พรุ่งนี้อาจไม่ดีก็เป็นได้คับ ถ้าราคาแพงเกินไป ….. แล้วจะรู้อย่างไรว่าตัวไหนแพงไป ตัวไหนถูกไป …… ก็อ่านบทวิเคราะห์แหละคับ serchใน net ก็ได้ อ่านเหตุผลนะคับ ไม่ใช่อ่านแค่ชื่อหุ้นแล้วบอกตัวเองแค่ว่าค่ายนั้นเชียร์ตัวนี้ ค่ายนี้เชียร์ตัวนั้น นั่นเป็นวิธีโบ(ราณ)สุดฤทธิ์ เลยคับ …. การดูราคาเป้าหมายที่ให้ไว้ประกอบเหตุผล(ที่ส่วนใหญ่ราคาไม่ค่อยไปถึงเป้าหรอกคับ ) เป็นสิ่งที่ควรทำนะคับถ้าราคาห่างจากปัจจุบันมากมาย อย่างนี้เค้าเรียก upside gain สูงอย่างนี้ก็น่าสนนะคับ …..อีกอย่างก็คือควรดูประวัติ ฝีไม้ลายมือของของโบรกเกอร์ที่วิเคราะห์ด้วยว่าเคยวิเคราะห์แล้วแม่นยำมามากน้อยแค่ไหนด้วยนะคับ…. อย่าลืมนะคับ ย้ำ สิ่งที่สำคัญที่สุดในบทวิเคราะห์หุ้นคือเหตุผลคับ ….. เราอ่านเหตุผลแล้วก็มาประมวลเองว่าเห็นจริงด้วยหรือไม่อีกครั้งคับ…. การเช็คราคาในอดีตก็สำคัญ กดกราฟที่ห้องค้าดู หรือเข้าwebบางwebเค้าก็มีกราฟหุ้นรายตัวให้ดู ถ้าราคาเพิ่งเริ่มขึ้นขณะที่เป้าหมายสูงน่าสนใจคับ แต่ถ้าราคาขึ้นมามากแล้วความเสี่ยงก็จะสูงตามนะคับ…..
4. ราคาหุ้นไม่ได้ขึ้นเพราะหุ้นพื้นฐานดี กำไรดี อนาคตดี …. หุ้นขึ้นเพราะมีคนซื้อต่างหากคับ เมื่อแรงซือ้มากกว่าแรงขาย แย่งกันซือ้ราคาก็ขึ้น ….. เพราะฉะนั้น ก็ต้องกลับมาที่รู้เขารู้เราอีกครั้งแล้ว หุ้นบางตัวมีจ้าว(เจ้าของดูแล) ….. บางตัวเป็นหุ้นพิมพ์นิยมสุดฮิตผู้เล่นมากไปหมดไม่รู้ใครเป็นใคร ….. ถ้าเรารู้ได้ว่าใครซือ้ใครขายอยู่ก็จะได้เปรียบคับ
5. หุ้นที่ได้รับความนิยมจะเปลี่ยนไปตามกระแสและสถานการณ์เสมอ …… ต้องจับจังหวะให้ถูกนะคับ บางช่วงหุ้น Big Cap (หุ้นใหญ่) … บางช่วงเป็นหุ้นComodities(โภคภัณฑ์) … บางช่วงเป็นหุ้นDomestic plays (กลุ่มอิงกำลังซือ้ภายในประเทศ) …. บางช่วงเป็นหุ้น Small Cap ที่ turnaround (หุ้นเล็กที่ฟื้นตัว)….. ซึ่งบางครั้งก็ตามเทรนด์ตลาดโลก บางครั้งก็ไม่ตามอะคับ ……. แต่จะตามหรือไม่ตามสิ่งที่ซ่อนอยู่ในความนิยมคือสตอรี่ในการเล่นมักจะโดดเด่น มองเห็นภาพของอนาคตที่ดีรออยู่ั
6.ภาวะตลาดรวมไม่มีสูตรตายตัวเช่นกัน……… SET บางครั้งก็ดูเหมือนจะอิงตลาดต่างประเทศ แต่บางครั้งก็ไม่ใช่ มีเหมือนกันที่SET เป็นตัวของตัวเอง แดงทั่วภูมิภาค SET เขียวสวนซะงั้น แต่ทั้งนี้ต้องมีที่มาและที่ไปนะคะ ทุกอย่างต้องมีเหตุผลเสมอค่ะ Macro Economics น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดคับ …. และสมัยนี้ต้องดูตลาดตปท.ล่วงหน้าประกอบด้วย ถ้าราคาหุ้นรับรู้จากคลาดล่วงหน้าไปแล้ว พอเกิดจริงอาจไม่มีผลอีกคับ……. อีกอย่างหนึ่งคือfundflow หรือ ยอดฝรั่ง-กองทุน ซื้อขาย ซึ่งเดี๋ยวนี้มีบางค่ายเช็คคร่าวๆระหว่างการเทรดด้วยนะคับ สมัยก่อนกองทุนต่างประเทศมีอิทธิพลสูงมากในตลาดไทย ซื้อเป็นขึ้น ขายเป็นลง และไม่ค่อยแตกแถวคือหลายๆโบรกเกอร์ฝรั่งมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ……. แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปนะคับ สัดส่วนกองทุนต่างประเทศบางช่วงซือ้ขายน้อยเมื่อเทียบปริมาณการซือ้ขายรวม หรือบางครั้งแต่ละโบรกเกอร์คิดแตกต่างกันก็มี……….เพราะฉะนั้นการดูเทรนด์ตลาดต่างประเทศและ fundflow อาจเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาได้แต่ไม่เสมอไปนะคับ
7. ผลประกอบการบริษัทต่างๆในตลาดหลักทรัพย์ เป็นภาพสะท้อนของเศรษฐกิจมหภาคฝั่งเอกชน อันหมายถึง ถ้าผลประกอบการของบริษัทต่างๆดี แนวโน้มยังแข็งแกร่งต่อเนื่อง ก็จะเป็นตัวสะท้อนการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศได้คร่าวๆนั่นเองค่ะ ….หรือในทางตรงกันข้ามถ้าอัตราการเจริญเติบโตประเทศหรือจีดีพีสูงย่อมสะท้อนภาพรวมของเอกชนหรือผลการดำเนินการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดที่ดีนั่นเองคับ……
8 การปรับตัวลงของตลาดหุ้นหากเกิดจากปัจจัยทางการเมือง เมื่อจบลงตลาดจะสามารถตีกลับได้ในลักษณะV shape ขณะที่หากการปรับตัวลงเกิดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ การฟื้นตัวต้องใช้เวลา…… อันนี้confirmเลยคับ ไม่ว่าจะตั้งแต่การยุบสภา สมัยรสช. ปฏิวัติทุกยุคทุกสมัย ม๊อบเล็ก ม๊อบใหญ่ เผากันกลางเมืองเมื่อจบ ตลาดจะตอบสนองเสมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น ก็จะว่ากันตามปัจจัยเศรษฐกิจที่เป็นอยู่…. เพราะฉะนั้นหากหุ้นตกแรงจากปัจจัยการเมือง เพื่อนๆเตรียมพร้อมช้อนซือ้ได้เลย

หุ้นอสังหาวิเคราะห์ยังไง โดย พี่ IH – Invisible Hand

หุ้นอสังหาวิเคราะห์ยังไง
โดย พี่ IH – Invisible Hand

ธุรกิจอสังหาฯ ที่เป็น developer หรือสร้างบ้านขาย เป็นหุ้นที่ไม่ค่อยน่าจะถือลงทุนระยะยาวเท่าไหร่ เพราะว่าเป็นธุรกิจที่ยอดขายแต่ละปีต้องเริ่มจาก 0 เมื่อต้นปี ดังนั้นหากบริษัทอสังหาฯ ใดๆ ขายโครงการเดิมหมดและไม่เปิดโครงการใหม่ ก็จะไม่มีรายได้ในปีต่อไป ดังนั้นจึงเป็นธุรกิจที่เจ้าของกิจการค่อนข้างเหนื่อยในการที่สร้างโครงการ ใหม่ๆ มาทดแทนโครงการเดิมตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม หุ้นอสังหาฯ ก็เป็นหุ้นที่เป็นวัฎจักรธุรกิจค่อนข้างสูง ในแง่การลงทุนหากเราซื้อถูกบริษัท ถูกเวลา ก็ให้ผลตอบแทนในการลงทุนค่อนข้างสูง แต่จะต้องเป็นการลงทุนแบบ hit and run คือ กำไรระดับหนึ่งแล้วต้องขาย ระยะเวลาการลงทุนอาจจะเป็น 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี ขึ้นอยู่กับว่าเราซื้อช่วงไหนของ cycle ถ้าซื้อเร็วไปอาจจะต้องรอนานหน่อย แต่ถ้าซื้อช่วงกำลังขึ้นพอดีอาจจะไม่ต้องรอนาน

เนื่องจากธุรกิจอสังหาฯ เป็นธุรกิจที่อิงปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้สูง เช่น การเมือง ราคาน้ำมัน ฯลฯ ดังนั้นในแง่การลงทุนจึงมีความเสี่ยงสูง ผมเองคิดว่าก็ไม่ควรให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่ขึ้นกับปัจจัยภายนอกสูงมาก เกินไปในพอร์ตครับ สำหรับหุ้นที่ผมคิดว่าน่าสนใจคงจะไม่ได้เป็นตัวใดตัวหนึ่ง แต่ผมคิดว่ามีหุ้นอสังหาฯ ประเภทสร้างที่อยู่อาศัย ประมาณ 3-4 ตัว ที่มีศักยภาพสูงและน่าสนใจครับ ผมคงขออนุญาตไม่บอกเป็นรายตัวเนื่องจากหุ้นอสังหาฯ มีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้สูง ดังนั้นผู้ที่ซื้อจะต้องศึกษาค่อนข้างละเอียดและรับความเสี่ยงได้ ดังนั้นด้วยความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูงขนาดนี้จึงไม่เหมาะที่ผมจะแนะนำเป็นราย ตัวครับ

ผมคงให้หลักการกรองหุ้นอสังหาฯ ไว้ดังนี้ครับ ถ้านำไปใช้ก็น่าจะได้หุ้นที่น่าสนใจเช่นเดียวกันครับ

1) หุ้นตัวนั้นๆ ผู้บริหารควรจะถือหุ้นมากพอสมควร เช่น เกิน 50%

เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการบริหาร สร้างการเติบโต ควบคุมต้นทุนต่างๆ กำกับดูแลไม่ให้เกิดการรั่วไหลในองค์กรเนื่องจากธุรกิจนี้มีการการจัดซื้อ จำนวนมาก เช่น ที่ดิน วัสดุก่อสร้างและตกแต่ง การจ้างผู้รับเหมา ดังนั้นในความคิดผม ถ้าผมจะซื้อหุ้นอสังหาฯ ผมอยากให้ผู้บริหารถือหุ้นมากๆ ครับ หุ้นอสังหาฯ บางบริษัทที่เคยใช้มืออาชีพมาบริหารแล้วไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรครับ ซึ่งมีความแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ ครับ

2) หุ้นตัวนั้นๆ ควรจะมี net profit margin ( กำไรสุทธิ / รายได้ ) สูงกว่า 10%

เนื่องจากธุรกิจอสังหาฯ เป็นธุรกิจที่มีการหมุนเวียนของสินทรัพย์ค่อนข้างช้า กล่าวคือ ตั้งแต่ซื้อที่ดิน ถมที่ สร้างบ้าน จนถึงการโอนให้ลูกค้าจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือนถึง 2.5 ปี ( ในกรณีของบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ จะใช้เวลาน้อยหน่อย แต่คอนโดฯ ถ้าเป็นจำนวนชั้นน้อยๆ หรือ low rise จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี แต่ถ้าคอนโดฯ สูงๆ จะใช้เวลา 2-2.5 ปี ) ดังนั้นการขายแต่ละครั้งจะต้องมีกำไรที่มากพอที่จะคุ้มค่ากับผลตอบแทนในการ ลงทุน ยกตัวอย่างเช่น การสร้างบ้าน 1 หลัง ใช้เวลา 1 ปี หากมี net margin 10% ก็เท่ากับว่าบริษัทนั้นๆ ได้ผลตอบแทนจากการลงทุน 10% ต่อปี หรือเปรียบเทียบง่ายๆ คือเทียบเท่ากับบริษัทนั้นๆ นำเงินไปฝากธนาคารหรือเล่นหุ้นแล้วได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี นั่นเอง

อีกตัวอย่าง หาก บริษัท A ทำโครงการคอนโดฯ ใช้เวลาสร้าง 2 ปี และมี net margin 12% ก็เท่ากับว่าผลตอบแทนของโครงการนี้คือปีละ 6% ครับ

ดังนั้น เราควรพิจารณาหุ้นอสังหาฯ ที่มี net profit margin สูงกว่า 10% เพราะถ้าบริษัทไหนทำได้ต่ำกว่านั้นมากๆ ก็จะทำให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นหรือผลตอบแทนการลงทุน ที่วัดในรูปแบบ ROCE ROE ต่ำมาก และหากบริษัทไหนทำได้ต่ำมากๆ เช่น 5% ก็ไม่น่าสนใจเพราะว่าการหมุนสินค้าคงเหลือ ( ในที่นี้คืองานระหว่างการก่อสร้าง ) ต้องใช้เวลา 1 ปี ถ้าได้ margin ระดับ 5% ก็จะเท่ากับ margin ของธุรกิจค้าปลีกแต่ค้าปลีกมีการหมุนสินค้าคงคลังปีละ 4-6 รอบครับ ดังนั้นธุรกิจค้าปลีกจะมี ROA ROCE สูงกว่า

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า หาก 2 บริษัทที่มีการใช้หนี้สินต่อทุนเท่ากัน และมี net margin เท่ากัน บริษัทที่สร้างทาวเฮาส์หรือบ้านเดี่ยวซึ่งจะใช้เวลาสร้างเร็วกว่า จะน่าสนใจกว่าบริษัทที่ทำคอนโดฯ ที่ใช้เวลาสร้างนานกว่า เพราะว่าระยะเวลาการหมุนเวียนสินทรัพย์ของบริษัทสร้างบ้านจะต่ำกว่าครับ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า นอกจาก net margin แล้ว อีกตัวที่สำคัญมากสำหรับธุรกิจอสังหาฯ คือ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มซื้อที่ดินถึงการส่งมอบสินค้าและรับเงินจากลูกค้า กล่าวคือ ถ้าระยะเวลายิ่งน้อยที่สุดก็ยิ่งดีครับ จึงทำให้ต้องพิจารณาข้อ 3 ต่อไปครับ

3) ความเร็วในการหมุนของสินทรัพย์ หรือ Revenue / Total asset

ต่อเนื่องจากที่อธิบายในข้อ 2 ครับ บริษัทไหนที่มี รายได้ / สินทรัพย์รวมต่ำ แสดงว่าบริษัทนั้นมีระยะเวลาตั้งแต่ซื้อที่ดินถึงการโอนนาน มีสินทรัพย์มากแต่ยอดขายน้อย เรียกภาษาชาวบ้านว่า เงินจม ครับ ซึ่งอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้ครับ

3.1 บริษัทนั้นๆ อาจจะมีอัตราการขายในบางโครงการช้ามาก เช่น โครงการพัฒนาบ้าน 200 หลัง อาจจะขายได้ปีละ 20 หลัง ซึ่งก็ทำให้มีสินค้าคงเหลือซึ่งได้แก่ค่าพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ และงานระหว่างก่อสร้างสูง ในขณะที่รายได้เข้ามาน้อยแต่สินค้าคงเหลือมีมาก บริษัทพวกนี้ต้องระวังด้วยครับเพราะดอกเบี้ยธนาคารที่กู้มาพัฒนาโครงการหาก โครงการนั้นยังขายไม่ได้จะถูกบันทึกเป็นต้นทุนโครงการ ซึ่งไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในงวดนั้นๆ ดังนั้นโครงการที่ขายไม่ได้นานๆ จะมีต้นทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ จากอัตราดอกเบี้ยที่บันทึกต้นทุน เมื่อขายได้เมื่อไหร่โครงการนั้นๆ จะมี margin ที่ต่ำมากครับ

3.2 บริษัทนั้นๆ อาจจะมีปัญหาในการก่อสร้าง คือมีความล้าช้า ทำให้ระยะเวลาตั้งแต่ลูกค้าจองซื้อถึงส่งมอบงานกินเวลานาน นอกจากนี้ บริษัทอาจจะมีปัญหาในคุณภาพของงานที่ส่งมอบ เช่น คุณภาพบ้านไม่ดีทำให้ลูกค้าไม่ยอมรับโอนบ้านทำให้ต้องมีการแก้ไขจนกว่า ลูกค้าจะพอใจ บริษัทที่สร้างบ้านเสร็จก่อนขายอย่าง LH QH มักจะไม่ค่อยมีปัญหาดังกล่าวเพราะลูกค้าตัดสินใจซื้อจากบ้านที่เสร็จแล้วและ พอใจคุณภาพจึงซื้อจึงไม่ค่อยมีการแก้งาน แต่บริษัทที่เป็นแบบสั่งสร้างมักจะมีปัญหาดังกล่าวพอสมควร โดยเฉพาะบริษัทที่ทำบ้านระดับบนราคาแพงซึ่งนอกจากลูกค้าจะแก้เรื่องคุณภาพ งานแล้วยังมักจะชอบเปลี่ยน spec วัสดุต่างๆ ทำให้งานก่อสร้างช้าลงได้

3.3 บริษัทเหล่านั้นอาจจะมีรสนิยมชอบสะสมที่ดิน บางบริษัทชอบสะสมที่ดิน หรือ landbank สำหรับการพัฒนาในอีกหลายๆ ปีข้างหน้า ก็จะทำให้มีสินทรัพย์ในบัญชีสูง การสะสมที่ดินมากเกินไปก็เป็นการเพิ่มสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้ กับบริษัท บริษัทอสังหาฯ สมัยก่อนนิยมซื้อที่ดินเก็บไว้มากๆ และมักจะใช้เงินกู้มาซื้อด้วยเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจึงเข้า rehab กันเป็นแถว แต่เหตุผลที่ทำอย่างนั้นเพราะสมัยก่อนเกณฑ์การเข้าตลาดหุ้นของหุ้นอสังหาฯ คือจะต้องมี landbank รองรับการพัฒนาเป็นระยะเวลา 3 หรือ 5 ปี ( ผมจำแน่นอนไม่ได้ ) ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้ว นอกจากนี้ ราคาที่ดินสมัยก่อนเพิ่มขึ้นเร็วทำให้หลายบริษัทเห็นว่าการซื้อที่ดินช่วงขา ขึ้นทำให้บริษัทได้กำไรจากราคาที่ดินที่ขึ้นและได้เปรียบบริษัทที่ซื้อ ที่ดินทีหลัง ดังนั้นในยุคปัจจุบัน หลายๆ บริษัทจึงไม่นิยมสะสม landbank มากเกินไป แต่จะใช้การซื้อล่วงหน้าเพียง 6 เดือน 1 ปีเท่านั้น เนื่องจากราคาที่ดินในปัจจุบันก็ไม่ได้เป็นฟองสบู่เหมือนสมัยก่อนแล้ว ดังนั้น ในกรณีนี้เราอาจจะเห็นบางบริษัทที่มีสินทรัพย์เยอะๆ เนื่องจากภายใน book จะมีที่ดินประเภทสะสมไว้ตั้งแต่ก่อนวิกฤติแต่อาจจะยังไม่นำมาพัฒนาโครงการ ด้วยเหตุผลต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น MK PF เป็นต้น

ดังนั้นเราควรเลือกหุ้นที่มี revenue / total asset สูงครับ แต่ ratio ดังกล่าวสูงอย่างเดียวไม่พอครับต้องมี net margin สูงกว่า 10% ด้วย เพราะไม่เช่นนั้นเราก็ได้หุ้นที่มีแต่ยอดขายแต่ไม่มีกำไรก็เท่ากับว่าบริษัท นั้นทำงานเหนื่อยฟรี เป็นบริษัททำงานเพื่อการกุศลไปครับ

4) ควรจะพิจารณาแนวโน้มของ market share ของบริษัทนั้นๆ ด้วยครับ

บริษัทที่มี market share ต่ำ แต่แนวโน้มมี market share เพิ่มขึ้น จะน่าสนใจกว่าบริษัทที่มี market share สูงแต่แนวโน้มคงที่หรือลดลงครับ เพราะบริษัทที่มี market share คงที่จะต้องโตตามภาวะตลาดเท่านั้น แต่บริษัทที่มี market share เพิ่มขึ้นจะสามารถโตได้มากกว่าตลาดในกรณีตลาดดี และโตได้ระดับหนึ่งช่วงตลาดไม่ดี ดังนั้นคงจะต้องติดตามกิจกรรมทางการตลาดของแต่ละบริษัทด้วยครับว่าช่วงนี้ แต่ละ brand เป็นขาขึ้นหรือขาลง

5) ควรจะหาโอกาสเยี่ยมชมโครงการเพื่อพิจารณาคุณภาพของสินค้าด้วยครับ

หลายบริษัทอาจจะมีโฆษณาที่ดี ทำเลที่ตั้งโครงการดี แต่คุณภาพบ้านอาจจะไม่ดี เช่น วัสดุไม่ดี งานก่อสร้างแย่ หรือการออกแบบไม่ practical เช่น ดูสวยแต่อยู่จริงไม่ไหว โครงการเหล่านี้อาจจะขายดีในช่วงสั้นๆ แต่ในระยะยาวๆ บริษัทเหล่านี้จะมีความนิยมของ brand ที่ลดลงครับ ดังนั้นหากเราจะลงทุนในบริษัทไหนเราควรหาโอกาสไปเยี่ยมโครงการโดยทำทีที่จะ ซื้อบ้านในโครงการนั้นๆ ซึ่งเราจะมีโอกาสที่จะได้ชมคุณภาพของบ้าน และคุณภาพพนักงานขายด้วยครับ บางบริษัทบ้านน่าอยู่ สร้างดี แต่พนักงานหน้าไม่รับแขกทำเหมือนบริษัทเค้ากำลังแจกบ้านฟรีอยู่ก็มีครับ หากเป็นบริษัทที่น่าสนใจในการลงทุนบริษัทนั้นๆ ควรจะมีบ้านที่เราเห็นแล้วก็รู้สึกอยากซื้อ อยากอยู่เอง และรู้สึกว่าอยู่ได้จริงๆ เพราะหากเราดูแล้วรู้สึกว่าบ้านคุณภาพไม่ดีเราเองยังไม่อยากซื้อก็ต้องกลับ มาคิดอีกทีครับว่าบริษัทนั้นๆ น่าสนใจจริงหรือไม่ แต่ก็คงต้องใช้วิจารณญาณด้วยครับ เช่น บางคนไปดูโครงการที่ขาย 8 แสนบาทแล้วติโน่นตินี่ รู้สึกว่าคุณภาพไม่ดี ทำไมไม่มีอ่างอาบน้ำ ชั้นบนทำไมไม่เป็นไม้ปาร์เก้ ( ยกตัวอย่างให้เวอร์ๆ หน่อยครับ ) บางทีอาจจะต้องเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างราคากับสิ่งที่ได้รับด้วยครับ ดังนั้นการไปดูหลายๆ โครงการทั้งโครงการที่เราสนใจและคู่แข่งในราคาและทำเลใกล้ๆ กัน ก็ช่วยได้มากครับ

ไม่ต้องกลัวครับว่าเค้าจะคิดว่าเราไม่ได้ไปซื้อบ้านจริงๆ เพราะบางทีคนที่คิดซื้อบ้านจริงๆ กับคนดูเพื่อสำรวจตลาด คำถามไม่เหมือนกันพนักงานขายก็พอดูออกครับ แต่พนักงานขายของบริษัทที่ดีจะถูก train มาให้ต้อนรับและดูแลลูกค้าเท่าเทียมกันหมดไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่มาซื้อจริงๆ กับลูกค้าที่มีสำรวจตลาด เพราะพนักงานขายอาจจะตัดสินใจด้วยสายตาไม่ได้ถูกทุกครั้งก็ได้ หลายครั้งลูกค้าที่พนักงานขายรู้สึกว่ามาดูจริงๆ อาจจะมาสำรวจก็ได้ แต่ลูกค้าที่พนักงานขายรู้สึกว่ามาสำรวจอาจจะเป็นลูกค้าจริงๆ ก็ได้ หรือลูกค้าที่พนักงานขายรู้สึกว่าไม่น่ามีเงินมาซื้อบ้านโครงการนี้ ( เช่น แต่งตัวธรรมดา ) อาจจะมีเป็นเศรษฐีประเภทผ้าขี้ริ้วห่อทองก็ได้ ดังนั้นบริษัทที่ดีควรจะสอนให้พนักงานขายไม่ตั้งศาลเตี้ยตัดสินลูกค้าด้วย ตัวเองครับ

6) ดู p/e ด้วย

ผมคิดว่าหากเป็นหุ้นอสังหาฯ ที่มี market share เพิ่มไม่มากแล้ว ก็ไม่ควรมี p/e สูงเกิน 12 เท่า ( บวกลบ ) เพราะว่าอสังหาฯ เป็นธุรกิจที่ยอดขายแต่ละปีเริ่มจาก 0 ตอนต้นปี กำไรปีนี้ไม่ได้มีผลอะไรกับกำไรปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป ดังนั้นหากช่วงที่ p/e สูงมากๆ เช่น 15 เท่า 20 เท่า แล้วเราไปซื้อหุ้นช่วงนั้นก็เท่ากับว่าเราสมมุติว่าหุ้นตัวนั้นต้องทำกำไร แบบเดิมให้ได้อีก 15 ปีเราจะคืนทุน ซึ่งเป็นไปได้ยากเครับเพราะธุรกิจอสังหาฯ มีช่วงที่ดีและแย่สลับกัน การทำกำไรแบบเดิมทุกปีคงทำได้ยาก ช่วงที่เราควรซื้อหุ้นอสังหาฯ ที่ p/e สูงๆ ได้จะต้องเป็นช่วงที่เริ่มฟื้นตัวจากความตกต่ำสุดๆ แล้วจริงๆ เช่น หุ้น LH ตอนปี 2545 ราคาตอนนั้น 2-3 บาท มี p/e สูง แต่ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด และมี market share เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเป็นเจ้าแรกที่สร้างบ้านก่อนขาย ทำให้เมื่อมองย้อนกลับจะเห็นว่าราคาตรงนั้นน่าซื้อแม้ p/e จะสูงก็ตามครับ

ลองกรองหุ้นอสังหาฯ ตามตะแกรงดังกล่าวดูนะครับ คิดว่าน่าจะพอมีหุ้นที่น่าสนใจในราคาปัจจุบันอยู่บ้างเหมือนกันครับ

“วิธีการลงทุนและเทคนิคการปรับพอร์ตของ” : พี่โจ ลูกอีสาน

“วิธีการลงทุนและเทคนิคการปรับพอร์ตของ” : พี่โจ ลูกอีสาน
(บทความดีๆที่พี่ๆเพื่อนๆนักลงทุนไม่ควรพลาดครับ^^)
วิธีการเรียบง่ายที่ผมใช้ทำมาหากินแทบทุกครั้ง จะเป็นอย่างนี้ครับ..
1. หา P/E ที่เหมาะสมของแต่ละบริษัท บริษัทไหนที่คาดการง่ายหน่อย กำไรโตเรื่อยๆ ปันผลดี พวกนี้จะ P/E สูงเหมือนพวกค้าปลีก โรงพยาบาล เป็นต้น ส่วนพวกที่ด้อยกว่า เช่น พวกรับเหมา ก็ให้ P/E ต่ำๆ
2. หา P/E ในอนาคต(อันใกล้)ของบริษัทที่เราสนใจ นี่หมายความว่าเราต้องประมาณกำไรของกิจการได้ เราจะทำได้ต้องหาข้อมูลเพื่อประเมินกำไรให้ผิดพลาดน้อยที่สุด
3. หาส่วนต่างของ P/E ที่เหมาะสม และ P/E ที่จะเกิดขึ้นจริง เช่น เราประเมินว่าบริษัทนี้ควรมี P/E 15 เท่า แต่เราประเมินแล้วราคาตลาดวันนี้หรือในอนาคตใกล้ๆนี้ P/E แค่ 7 เท่า นั่นแสดงว่า ราคาตลาดต่ำกว่าที่ควรจะเป็นถึง 50% (มี margin of safety 50%) อย่างนี้น่าสนใจครับ ปกติต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นซัก 30% ผมก็สนใจแล้ว
ผมมีความเชื่ออย่างนี้นะ..
*ระยะยาว หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดเสมอ
*ตลาดเหมือนฤดูกาลที่มีทั้งรุ่งเรืองตกต่ำ หน้าหนาว-หน้าร้อน ขอให้เราเข้าใจและหาประโยชน์จากความจริงข้อนี้
*นักลงทุนเอกของโลกทุกคน เคยผ่านวิกฤติมาแล้วหลายครั้ง หนักหนากว่านี้ก็มี ถ้าหยุดลงทุนก็คงไม่มีวันนี้ แม้แต่ ดร.นิเวศน์ ท่านเริ่มลงทุน 10 ปีที่แล้ว ตอนที่ดัชนีประมาณ 800 จุด ท่านได้ผลตอบแทน 30 เท่า ทั้งที่วันนี้ดัชนีตลาดต่ำกว่า 10 ปีที่แล้ว
*ผมพูดเสมอๆว่า ตรรกะของการทำกำไรจากหุ้นคือ ซื้อถูกขายแพง คำถามต่อไป แล้วเราจะขายได้แพงตอนตลาดเป็นแบบไหน และหากเราจะซื้อของให้ได้ราคาถูก เราจะซื้อได้ตอนที่ตลาดเป็นอย่างไร
*การขายหุ้นและเลิกลงทุนตอนตลาดตกต่ำ เป็นการละเมิดศีลที่สำคัญที่สุดของนักลงทุน vi เพราะนั่นหมายความว่า เราจะไม่มีโอกาสได้กำไรกลับคืนตอนตลาดกลับไปรุ่งเรืองเลย
*มองไปวันพรุ่งนี้ สัปดาห์หน้า เดือนหน้า ปีหน้า 5 ปี 10 ปีข้างหน้า แล้วทุกอย่างในวันนี้มันจะผ่านไป
*อย่าให้อารมณ์ของตลาด มาหยุดความมุ่งมั่นในการลงทุนของเรา อย่าทำให้เราหมดกำลังใจที่จะทำการบ้าน ศึกษาหาความรู้
*เราลงทุนวันนี้ ไม่ใช่เพื่อให้รวยพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ แต่เพื่อ 10 ปี 20 ปีข้างหน้า
*เราจะรู้ว่าใครแก้ผ้า ก็ตอนน้ำลด
ผมแนะนำครับ..
1. หามูลค่าที่เหมาะสมเสียก่อน พิจารณาจากปัจจัยต่างๆ
2. ดูราคาในตลาด ว่าสูงหรือต่ำกว่ามูลค่าที่เราคำนวณได้
3. ตัดสินใจ ซื้อหรือขาย
ผมมองว่าที่หลักการลงทุน vi เติบโตเด่นได้รับความนิยมขึ้นมา ไม่ใช่เพียงเพราะมีตัวอย่างคนที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่เป็นเพราะความเป็นเหตุเป็นผลของมัน คือหุ้นจะขึ้นจะลงเพราะมีเหตุผลทางธุรกิจ ไม่ใช่หุ้นจะขึ้นเพราะหลายคนบอกว่าจะขึ้น และมันจะลงเพราะหลายคนบอกว่ามันจะลง
คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลอย่างเดียว เพราะเป็นคนก็ต้องมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ผมก็ยังเป็น แต่ถ้าเราจะเป็น vi ที่ประสบความสำเร็จ เราต้องพิจาณาด้วยเหตุผลธุรกิจเป็นหลักครับ
ส่วนเรื่องการ ซื้อเพิ่ม, cut loss ผมไม่กล้าแนะนำ แต่ผมจำที่ใครคนหนึ่งเคยพูดทำนองว่า ลืมต้นทุนที่ซื้อมา คิดเสียว่าพอร์ตตอนนี้เป็นเท่าไหร่ หุ้นในตลาดตัวไหนน่าซื้อที่สุด ขายไปซื้อตัวนั้น ถ้าเป็นตัวเดิมก็ไม่ต้องทำอะไร
ผมเชื่อว่า มี 2 แรงที่ผลักดันราคาหุ้น
1. กำไร >> เราเรียกรวมว่า พื้นฐาน
2. ปัจจัยด้านจิตวิทยา – อารมณ์ของตลาด
ประเด็นแรก เป็นสิ่งที่นักลงทุนแนว vi ต้องวิเคราะห์อยู่แล้ว แต่ถ้าเข้าใจประเด็นที่สองด้วย ก็จะเพิ่มผลตอบแทนได้อีกครับ ผมตอบไม่ได้ชัดเจนว่า เราจะดูอารมณ์จิตวิทยาของตลาดได้อย่างไร(ยังไม่รู้จริง) แต่ประมาณว่า ถ้าเราเข้าใจอารมณ์ตลาด เรามักจะได้ซื้อหุ้นที่ดี ที่ราคาไม่แพง
เหมือนที่ Graham เปรียบเปรยเป็นนิทาน Mr. Market ครับ นอกจากนั้น เราอาจพิจารณาจิตวิทยาของนักลงทุนในตลาดว่า เค้านิยมหุ้นพิมพ์แบบไหน ในอุตสาหกรรมใดที่กำลังจะฮอต หุ้นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ราคาต่ำหรือราคาสูง เหล่านี้เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆที่ช่วยเพิ่มผลตอบแทนได้ครับ เราลงทุนแนว vi แต่พิจารณาไว้บ้างก็ไม่เสียอะไร
*******ผมปรับพอร์ตบ่อยๆครับ เหตุผลมักเป็นอย่างนี้*******
1. เจอหุ้นตัวที่ดีกว่า แต่ไม่มีเงินก็ต้องขายตัวที่ด้อยที่สุดไป
2. ตัวที่ถือพื้นฐานเปลี่ยน อันนี้แน่นอนก็ต้องขายออก
3. หุ้นขึ้นจนราคาสมเหตุสมผล ผมก็อาจจะขายไปเพิ่มตัวที่ยังต่ำกว่ามูลค่า
4. หุ้นลงผมก็ปรับพอร์ต ขายตัวที่ลงน้อยไปซื้อตัวที่มีอัพไซด์มาก
ผมก็ปรับไปเรื่อยครับ ตามข้อมูลที่ได้รับมา ไม่มีเกณฑ์ตายตัวว่าบ่อยแค่ไหน หรือกี่เปอร์เซนต์ของพอร์ต ตั้งแต่ซื้อหุ้นมายังถือไม่เกิน 3 ปีเลยครับ เฉลี่ยเกือบๆปีประมาณนั้น แต่เห็นด้วยครับว่า ตลาดผันผวน เราสามารถใช้การปรับพอร์ตหาประโยชน์จากความผันผวนนั้นได้
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เราลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ และหุ้น ถ้าตลาดซบเซาหนักๆเราก็ควรย้ายเงินจากกองทุนมาลงหุ้นให้มากขึ้น หรือเปลี่ยนไปถือหุ้นตัวทีมีอัพไซด์สูงกว่า หากตลาดเป็นขาขึ้น หาหุ้นลงทุนได้ยาก อาจจะต้องเปลี่ยนไปถือตัวที่ defensive มีปันผลเยอะหน่อยๆ ประมาณนี้ครับ
ระยะเวลาที่ถือหุ้น สั้นที่สุดนี่จำได้ว่าประมาณ 1 อาทิตย์ครับ ซื้อแล้วขึ้นไปประมาณ 30% ผมก็ขายซิครับ เพราะผมหวังผลตอบแทนแค่นั้น ส่วนยาวนี่ไม่แน่ใจครับ ประมาณ 2 ปี ที่จริง ประเด็นเรื่องเวลาการถือครองหุ้นไม่น่าจะเป็นประเด็นสำคัญ คำถามที่สำคัญกว่าคือ ราคาเหมาะสมกับพื้นฐานหรือยัง และการถือหุ้นนานๆก็มีผลเสียนะครับ เช่น เราจะเฉื่อยชา ผูกผัน เกิดความลำเอียง รักหุ้นตัวเอง
และถ้ามองในแง่ผลตอบแทน ดูตัวเลขนี้ครับ
*หุ้นตัวแรก เราซื้อผ่านไป 1 ปี ขายที่ราคาเป้าหมายได้กำไร 60% ทั้งปีได้กำไร 60%
*หุ้นตัวที่ 2 เราซื้อผ่านไป 6 เดือนได้กำไร 40% ตามเป้าหมาย ขายออกไปซื้อหุ้นตัวที่ 3 ผ่านไป 6 เดือนได้กำไร 40% ตามเป้าหมายอีก รวมทั้งปีได้ผลตอบแทน 96%
หุ้นตัวแรกให้ผลตอบแทนมากที่สุด แต่ถ้าให้เลือกผมขอซื้อหุ้นตัวที่ 2-3 ดีกว่า นี่คงคล้ายกับ turnover rate ในงบดุลครับ ยิ่งหมุนมากกำไรก็ยิ่งมาก(เรายังไม่พูดถึงความเสี่ยงนะ)
ผมติดตามพื้นฐานของหุ้นที่อยู่ใน watch list เสมอๆ
ผมมีหุ้นที่ติดตามผลกำไรทุกไตรมาส ประมาณ 80 ตัว และหุ้นที่ติดตามแบบห่างๆอีกประมาณ 120 ตัว รวมๆก็ครึ่งนึงของตลาดพอดี
ผมเชื่อว่า ยิ่งติดตามมาก เราก็ยิ่งรู้พื้นฐานมากขึ้น ขอบข่ายความรู้มากขึ้น ยิ่งติดตามมาก โอกาสที่จะเจอช้างเผือกก็สูง เวลามีข่าวสารเข้ามาเราก็รู้ทันทีว่า เป็นข่าวดีหรือไม่ดี ซื้อหรือไม่ซื้อ ไม่ต้องเสียเวลาไปหาข้อมูลอีก
ผมอ่านหนังสือพิมพ์หุ้นเกือบทุกฉบับ ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ อ่านงานวิจัยของโบรคเกอร์ อีไฟแนนซ์ ข่าวตลาด และ tvi ประมาณนี้ครับ อ่านแบบสแกน ถ้าเจอหุ้นที่น่าสนใจจะอ่านแบบละเอียด ไม่อย่างนั้นต้องใช้เวลาเยอะ
คือถ้าเราติดตามข่าวสารบ่อยๆเราจะรู้ว่าแหล่งข่าวไหนที่เราควรจะอ่านครับ
ที่จริงใช้เวลาวันละ 2 ชม. ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการลงทุนแบบมุ่งเน้น(ผลตอบแทน) หรือวันละ 1 ชม. สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนหุ้นแบบการออม
ผมเคยทำงานประจำมาก่อน ยอมรับว่ามีข้อจำกัดเยอะกว่าคนที่ลงทุนเต็มเวลา และไม่สนับสนุนให้ทุกคนลาออกเพียงเพื่อจะได้มีเวลาหาข้อมูล แต่เราก็ควรให้เวลากับการลงทุนตามสมควร
เพราะการใช้เวลาวันละเล็กละน้อยหลังเลิกงาน หาข้อมูล อาจจะเปลี่ยนสถานะภาพทางด้านการเงิน เปลี่ยนชีวิตคนๆนึงได้เลย ในขณะที่ถ้าทำงานประจำอย่างเดียวมีโอกาสน้อยกว่ามาก
ผมยังจำได้ดร.นิเวศน์เคยเขียนบทความทำนองว่า เราใช้เวลาส่วนใหญ่วันๆไปกับเรื่องที่ไม่สำคัญ และให้เวลาน้อยเกินไปกับเรื่องทีสำคัญที่สุด
Credit : thaivi.org, puktiwit stock