Posts from the ‘WARRANT’ Category

Warrant หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ที่จะซื้่อหุ้นสามัญ

พอดี ตอบหลังไมค์น้องใน Thai VI ท่านนึง เรื่องนี้ค่อนข้างยาว

คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆมือใหม่ ให้รู้จัก กับ W กันคร่าวๆ

แต่ย้ำอีกครั้งครับ ว่า W เป็นอะไรที่มันเสี่ยงสูง Very High Risk และบ่อยครั้งที่มัน No Return สูญกลายเป็นกระดาษ

และการเล่น W ค่อนข้างซับซ้อน และ ไม่ตรงไปตรงมา เสี่ยงสูง ต้องดูหลายๆอย่าง ถ้า คิดแค่ ราคาตามทฤษฏี

อย่างเดียว อาจจะไม่พอ บางทีต้องดูพฤติกรรม เจ้ามือที่คุมด้วย

ดังนั้นศึกษามันให้ดี ให้ลึกซึ้งก่อนลงทุน ถ้าไม่แน่ใจถอยห่าง

ถอยมาแล้วอย่าไปดู ก็ดี ดูแล้วบางทีเกิดกิเลส โดดลงเหวไปง่ายๆ หนักกว่าติดดอย
===========================
Warrant หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ที่จะซื้่อหุ้นสามัญ

แต่มันเป็นเครื่องมือทางการเงินอันนึง คล้ายๆกับ ใบจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในอนาคต ของบริษัท ซึ่งในการออกนั้น อาจจะเป็นการขายให้แบบคิดเงิน หรือ แถมฟรีให้กับัผู้ถือหุ้น หรือ พวกเจ้าหนี้ต่างๆ ก็ได้

โดย จะมีการกำหนดราคา ใช้สิทธิ์ และ สัดส่วนการใช้สิทธิ์ ไว้ตายตัว และ มีอายุกำหนดในการแปลงไว้แน่นอน มีระยะเวลา และ มักกำหนดให้แปลง (ได้เป็นระยะๆ) เช่น ทุก ไตรมาศ หรือ ทุกปี และ ครั้งสุดท้ายก่อนวันหมดอายุ

แต่ถ้าในระหว่างนั้น บริษัทมีการออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ หรือ ออก W ใหม่ออกมา W นั้นก็จะได้รับการปรับสิทธิ์ตามด้วยเพื่อให้ไม่เสียสิทธิ์ของตัวเอง

W บางตัว ออกมาก็มีคนใช้สิทธิ์ แปลงเป็นหุ้น

แต่หลายตัว ที่ ไม่มีการแปลงปล่อยหมดอายุกลายเป็นเศษกระดาษไป

การ ที่จะมีคนจะแปลงหรือไม่ ก็ขึ้นกับ ราคาตัว W เทียบกับ ราคาใช้สิทธิ์ และราคา ของ ตัวแม่เป็นหลักว่าคุ้มกับการแปลงหรือไม่

ทีนี้มาทำความรู้จักกับ พฤติกรรมและราคามันกัน

เอาง่ายๆก่อน คือเอาพวกสัดส่วน 1:1 (สัดส่วนนี้ ตามปกติ ตัวเลขตัวหน้า หมายถึง จำนวน W ที่ใช้แปลง ตัวหลัง คือ จำนวนแม่ที่แปลงได้)

สมมุติ หุ้นแม่ราคา 10 บาท ราคาใช้สิทธิ์ 6 บาท สัดส่วน 1:1 อย่างนี้ ราคาตามมูลต่าที่แท้จริงของมัน(Intrinsic Value) ของ W ก็จะ = 4 บาท เพราะว่า ถ้า 1W เอาไปแปลง เพิ่มเงิน อีก 6 บาท ก็จะได้หุ้นแม่ 1 หุ้น ราคา 10 บาท

แต่ถ้าสมมุติ ราคาใช้สิทธิ์ 6 บาทเท่าเดิม แต่สัดส่วนเป็น 1:2 ( 1W แปลงได้ 2 หุ้นแม่ ราคาต่อหุ้นแม่หุ้นล่ะ 6 บาท)

อย่างนี้ Intrinsic Value ของ Wก็จะเป็น 8 บาท เพราะว่า ถ้าเอา W 1 ตัว ทุน 8 บาท แปลงเป็นแม่ ได้ 2 ตัว จ่ายอีก 6X2 ก็จะได้หุ้นแม่ 2 หุ้น ราคา 10X2 เท่าต้นทุนพอดี

มาดูอีกแบบ ถ้า ราคาใช้สิทธิ์ 6 บาทเท่าเดิม แต่สัดส่วนมันน้อย เช่น 2:1( หมายถึงต้องใช้ 2 W แปลงได้หุ้นแม่ 1 หุ้น ราคาหุ้นล่ะ 6 บาท ปล.พวกนี้ ถ้าเป็นทางการจริง เค้าจะเขียนว่า สัดส่วน 1:0.5 คือ 1 W แปลงแม่ได้แค่ ครึ่งตัว )

อย่างนี้ อย่างนี้ Intrinsic Value ของ W ก็จะเป็น 2 บาท เพราะว่า ถ้าเอา W 2 ตัว ทุน 4 บาท แปลงเป็นแม่ได้ 1 ตัว จ่ายอีก 6 ก็จะได้หุ้นแม่ 1 หุ้น ราคา 10 เท่าต้นทุนพอดี

สูตรการคำนวน Intrinsic Value ก็คือ (ราคาแม่ – ราคาแปลง(หรือราคาการใช้สิทธิ)) X สัดส่วนการแปลง (เช่นถ้า 1:3 ก็ ใช้ X ด้วย 3)

แต่ ราคา Intrinsic Value นี่มันเป็นแค่ราคาตามทฤษฏี แต่ราคา W จริงๆ ในตลาด อาจจะสูงกว่า ราคานี้ก็ได้ (เรียกว่า เทรดกันที่ราคามีพรีเมี่ยม) ซึ่ง W ส่วนใหญ่เป็นเช่นนี้

สาเหตุที่คนยอมซื้อ W แพงกว่า ราคาจริงของงมัน ก็เพราะว่า หลายคนมองว่า การลงทุนใน W มันจ่ายเงินตอน ที่ลงทุนไปน้อยกว่า ซื้อหุ้นแม่ เหมือนเป็นแค่เงินจอง ถ้าเกิดต่อไปบริษ้ทล้ม ไป หรือ หุ้นตกมากจนเป็นศูนย์ คนเล่น W ก็จะเสียแค่เงินจองเท่านั้น โดยเฉพาะพวกที่อายุยังเหลือยาวๆ หรือ ว่า ราคาตัวแม่ ในตลาดมาราคา สูงห่างกับ ตัว W มากๆ เป็นหลายๆเท่า(เีรียกว่า มี Gearing Ratioสูง) ก็ ยิ่งมักทำให้ W พวกนี้เทรดกันที่ พรีเมี่ยมสูงๆตามไปด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าแม่ ราคา 20 บาท ราคาใช้ สิทธิ์ 19 บาท สัดส่วน 1:1 Intrinsic Value ของ W ก็คือ 1 บาท และสมมุติ อายุยังเหลืออีก 3 ปี

ลองนึกภาพ ถ้าซื้อแม่ไว้ 20 บาท ถ้าแม่ ราคาลงมาเหลือ 10 บาท จะขาดทุนทันที 10 บาท
แต่ถ้าซื้อ Wในราคา Intrinsic Value 1 บาทได้ เรามีทางเลือก ไม่แปลงทิ้งมันไปเฉยๆ ก็ขาดทุนแค่บาทเดียว

แต่ถ้าแม่ เกิดขึ้นไปเท่าตัว เป็น 40 บาท คนถือหุ้นแม่ ก็กำไรเพิ่มไป 20 บาท แต่คนถือ W ราคา 1 บาท ก็มีสิทธิ์จ่ายค่าแปลงเพิ่มอีก 19 บาท รวมเป็น 20 บาทเท่ากันได้หุ้นแม่ราคา 40 บาท มาเหมือนกัน ไม่ได้เสียเปรียบไรเลย

ดังนั้นถ้ามีกรณีอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้ที่ราคา จะซื้อขายกัน ที่ Intrinsic Value ราคา W จึงต้องซื้อขายกันที่ ราคา บวกเพิ่ม มาจนถึงจุดสมดุล เช่นอาจจะเป็น 5 บาท 6 บาท หรือ 7บาท ไรประมาณนี้ก็ได้ ซึ่งการประเมินราคาตรงนี้ ค่อนข้างยากมันขึ้นกับความต้องการตลาด และ พฤติกรรมหุ้นตัวนั้น

แต่ตรงกันข้าม W บางตัวอาจจะเทรดกันที่ ราคา ต่ำกว่า Intrinsic Value หรือเรียกว่า เทรดกันแบบมี Discount พวกนี้มักพบใน W ที่ ใกล้หมดอายุ หรือ พวก ที่สภาพคล่องต่ำ หรือ แกว่งตัวแรง บางทีเจ้าลากแม่ไปเร็ว ตัว W ราคาไปตามไม่ทัน

บางคนอาจจะเกิดคำถามว่า ถ้างั้น อย่างนี้ เราซื้อ W ที่มี discount แทนซื้อแม่ดีมั้ย

ต้องบอกว่า ต้องดูให้ดี เรื่องสภาพคล่อง และการแปลงนั้น มันมีกำหนดเวลา บางทีช่วงยังไม่ถึงตอนแปลง ราคา แม่วิ่งเร็ว แต่ลูกยังไม่ขึ้นมาก กะซื้อไว้แปลงเอากำไร แต่พอใกล้ถึงเวลาแปลง แม่ตกลงมา กลายเป็นแปลงไม่คุ้ม หรือ หนักกว่านั้น ก็คือ ตอนแปลงแล้ว รอได้หุ้นสองสัปดาห์แม่ราคาดิ่งเหว กลายเป็นขาดทุนได้ ดังนั้นต้องดูดีๆ

ยกตัวอย่างเช่น W ตัวนั้น เหลืออายุ การแปลงครั้งสุดท้าย 1 เดือน ถ้าแม่ ราคา 20 บาท ราคาใช้ สิทธิ์ 5 บาท สัดส่วน 1:1 และ W ราคาในตลาด อยู่ที่ 14 บาท (เมื่อคิดรวมค่าแปลงแล้ว = 19 บาท ต่ำกว่าตัวแม่) แต่ว่าเมื่อถึงเวลา แปลง ไปแล้ว ระหว่างรอได้หุ้นมาเทรด แม่มันดิ่งลงมา เหลือ 18 บาท ก็จะกลายเป็นขาดทุนไป

ดังนั้น การเล่น W แม้จะรู้ ทฤษฏีต่างๆ แล้ว ประสพการณ์ ก็สำคัญ ดังนั้น ถ้าคนไม่คุ้นเคย เสี่ยงสูง ถอยห่างก็ได้

ข้อมูลต่างๆ ของ W รวมทั้งค่าต่างๆ ต้องหาดูตามเว็บต่างๆ รวมทั้งโปรแกรมต่าง ๆอย่าง บิสนิว

สำหรับคำถามที่ว่า เราจะรู้ได้ไง ว่า W นั่นมันจะทำกำไร หรือ ขาดทุนในอนาคต คงไม่มีใครบอกได้แน่นอน แต่ว่า ที่แน่ๆ ราคามันก็อิงกับแม่นั่นแหละ

แนวโน้มราคา W จะเคลื่อนไหวตามแม่ไปเป็นส่วนใหญ่ แม่ขึ้นมันก็ขึ้น แม่ลงมันก็ลง

ส่วนจุดจบตอนหมดอายุมันจะเป็นอย่างไรนั้น ปกติ ก็มี 2 อย่าง คือ

1 ราคาแม่คุ้มการแปลง(หรือสูงกว่า ราคาแปลงมากพอสมควร) ก็จะเกิดการแปลง

2 ราคาแม่ไม่คุ้มการแปลง(ต่ำกว่าค่าแปลง หรือ สูงกว่าราคาแปลงไม่มากพอที่จะจูงใจให้แปลง) ก็กลายเป็นเศษกระดาษหมด

โดยราคา W วันสุดท้ายมันจะสะท้อนราคาตามแม่ ในตอนนั้นเสมอ

ยกตัวอย่าง อีกครั้ง บริษัท A ณ วันนี้มีหุ้นในตลาดราคา 10 บาท ออก W แจกผู้ถือหุ้นฟรี ราคา ใช้สิทธิ์ 11 บาท สัดส่วน 1:1 อายุ 5 ปี

ถ้าเป็นประมาณนี้ เมื่อ W ได้เข้าเทรด แม้ว่า Intrinsic Value มันจะยัง = -1 บาท แต่บอกได้ด้วยประสพการณ์เลยว่า ถ้าหุ้นนี้ไม่ได้เลวร้ายมาก มันเข้าตลาด ต้องมีราคาเกิน 1 บาท แน่นอน อาจะเ็ป็น 3-4 บาท ก็ได้ด้วยซ้ำ

สมมุติ ว่าผ่านไป 1 ปี บริษัทนี้เติบโต มูลค่าหุ้นกลายเป็น 15 บาท Intrinsic Value ของ W = 4 บาท แต่ราคาซื้อขายจริงในตลาด อาจจะเป็น 5 บาท 6 บาท หรือ 7 บาท ก็ได้

ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นบริษัทที่มีการเติบโตดี W มักมีพรีเมี่ยม คนมักจะไม่แปลงกัน เพราะว่าถ้าแปลง ไม่คุ้ม

เช่น ตัวอย่างข้างบน ถ้าสมมุติ W อยู่ที่ 7 บาท ถ้าเอาไปแปลง ต้องจ่ายอีก 11 บาท รวมเป็น 18 บาท ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น ขายลูก 7 บาท แล้ว เพิ่มเงิน 8 บาท ได้หุ้นแม่ หนึ่งหุ้นทันที ดีกว่า หรือไม่ก็ถือ W ไ้ว้ต่อไป

แต่ถ้าเป็นกรณีที่เกิดมี Discount (อย่างที่บอกมักพบในหุ้นสภาพคล่องน้อยๆ ) เช่นถ้าตัวอย่างหุ้นข้างบน W เกิดมีราคาแค่ 3 บาท ตอนใกล้แปลง ก็อาจจะมีคน เอา W นั้นแปลงเพิ่มเงิน 11 บาท รวมทุน 14 บาทแปลงได้แม่ออกมา ก็ได้ได้กำไรส่วนต่าง 1 บาท (แต่อย่างที่บอกไปแล้วมันมีความเสี่ยง ระหว่างตอนแปลงแล้วรอ 2 สัปดาห์ หุ้นแม่อาจจะตกลงมาก็ได้) ดังนั้น แม้จะมี Discount ตอนใกล้รอบการแปลง แต่ถ้าไม่มากนัก หลายคน ก็ยังเลือกที่จะถือไปต่อแทนที่จะแปลง

แต่ในที่สุด เมื่อตอนใกล้หมดอายุ Wไม่ว่า บริษัทนั้นจะเติบโตไปอย่างไร และมูลค่า W ที่เคยมีพรีเมี่ยมกันมากๆ ก็จะค่อยๆลดลงมาหา Intrinsic Value และ สุดท้ายก่อนหมดอายุจริงๆ มัก จะซื้อขายกันที่ราคา มี Discount ให้เป็นส่วนลด กับคน ที่เสี่ยงถือไว้แปลงในที่สุด

เช่นสมมุติ ตอนครบ 5 ปี ก่อน W นั่นหมดอายุ ตัวแม่ เติบโตมาเรื่อยๆ จนในที่สุด ตอนนั้นราคา 30 บาท คำนวนได้ Intrinsic Value ของ W = 19 บาท บางคนที่ถือไว้อาจจะเก็บไว้แปลง แต่ บางคน ไม่อยากแปลงก็จะขายออก ก็จะมีคนมารับซื้อต่อ ในราคาที่รวมแปลงแล้ว น่าจะต้องถูกกว่าตัวแม่ หรือมีดีสเค้านต์ตามที่บอก ดังนั้น ราคาซื้อขายจริง อาจจะเป็น 18,17 บาท ไรก็ได้ตามแต่ตลาดจะตอบรับ

ซึ่งแน่นอน W พวกนี้ คนถือไว้ย่อมเอาไปแปลงแน่นอน เพราะว่า ถ้าถือไว้ไม่แปลงมันกลายเป็นเศษกระดาษไร้ค่า

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ สมมุติวันสุดท้าย ที่ W ตัวนี้ ขึ้น SP งดการซื้อขาย มีคนซื้อไว้17 บาท แม้หลังจาก นั้น ในระหว่างก่อนวันแปลง ราคาหุ้นแม่ จะตกลงมาเหลือแค่ 25 บาท ซึ่งถ้าดูแล้ว คนที่ซื้อไว้ 17 บาท เมื่อแปลงแล้วทุนรวมแปลง จะเป็น 28 หรือ ขาดทุน 3 บาท แต่ก็ยังคงต้องแปลง เพราะว่าถ้าไม่แปลง นี่ขาดทุนไป 17 บาทเลย เสียหายมากกว่า

แต่ถ้าเกิดสมมุติ หุ้นแม่ลงไปจนเหลือ 10 บาท ก่อนถึงวันจ่ายเงิน อย่างนี้แน่นอน คนถือ W ย่อมยอมขาดทุน 17 บาท ทิ้ง W เป็นเศษกระดาษ ดีกว่า ไปแปลง จ่าย อีก 11 บาท เพราะว่า ถ้าอยากได้หุ้นแม่ ก็ซื้อได้เลย ในราคา 10 บาทในกระดาน ไม่ต้องรอ

ตัวอย่างจุดจบข้างบน นั่น (ยกเว้นวรรคล่างสุด ) เป็นด้านดี สำหรับ W

แต่ถ้าทางด้านลบ ก็มี และ มีบ่อยด้วย ก็คือ

ถ้าก่อนหมดอายุราคาแม่มันตกต่ำลง โดยเฉพาะ ตกลงมากว่า ราคาใช้สิทธิ์มาก เช่นสมมุติ แม่ตกลงมาเหลือ 5 บาท ตอนที่อายุยังเหลือ 2-3 ปี W อาจจะตกจาก 1-2 บาท มาเหลือ สี่สิบห้าสิบตังค์ (ที่ยังมีราคาพอสมควร เำพราะว่า คนยังหวังว่า แม่มันยังมีเวลาดีดกลับได้

แต่เมื่อยิ่งใกล้หมดอายุ มากๆขึ้น และราคาแม่ยังตกตำกว่า ราคาใช้สิทธิ์มากๆ คนจะประเมินแล้ว ว่า แม่คงจะขึ้นไปเหนือราคาใช้สิทธิ์ยาก พวกนี้ W ก็จะรูดไหลต่ำลง เรื่อยๆตามเวลาที่เหลืออยู่ จนในที่สุดก็เหลือ แค่ 0.01 สตางค์ ในวันหมดอายุ และอาจจะมีแต่คนตั้งขายไม่มีคนซื้อก็ได้

จะสังเกตุได้ว่า ในการจะแปลง ครั้งสุดท้ายนั้น จะมีการแปลง หรือ ไม่ มันขึ้นกับ ราคาแม่สูงกว่า ราคาแปลงมากพอหรือ ป่าว ไม่เกี่ยวกับ ต้นทุน W ที่คนนั้นๆถืือมาก่อน เพราะ่ว่าต่อให้ถือ มาต้นทุนสูงๆ รวมค่าแปลงแล้วแพงกว่า ตัว แม่

เช่นเคยซื้อ W ไว้ 20 บาท ตอนแม่ราคาแพง แต่ว่าเมื่อถึงวันแแปลงครั้งสุดท้าย ถ้าราคาแม่อยู่ที่ 15 บาท ราคาใช้สิทธิ์ 11 บาท

ถ้าแปลงมา ใช้เงิน อีก 11 บาท ได้หุ้นแม่ ราคา 15 บาท ก็ยังถอนทุนคืนมาได้ 4 บาท เหลือขาดทุน 16 บาท

แต่ถ้าไม่แปลง ก็เสียไปหมดทั้ง 20 บาท
แก้ไขข้อความเมื่อ 3 ชั่วโมงที่แล้ว

37 35
-=Jfk=-

เล่นกับวอแรนต์

เล่นกับวอแรนต์
โดย ดร.นิเวศน์

Value Investor กับ วอแรนต์นั้นดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยถูกกัน เพราะวอแรนต์อาจจะกลายเป็นหุ้นซึ่งจะเข้าไปเฉลี่ยกำไรกับผู้ถือหุ้นเดิมโดยเฉพาะในยามที่บริษัทมีกำไรดีและราคาหุ้นเดิมขึ้นไปสูง เพราะฉะนั้นบริษัทที่มีวอแรนต์มาก ๆ จะโตช้าลงซึ่ง Value Investor ไม่ชอบ

Value Investor ไม่ชอบลงทุนในวอแรนต์ เพราะวอแรนต์นั้นมักมีอายุสั้น และถ้าถึงวันที่มันหมดอายุแล้วราคาแปลงสภาพยังสูงกว่าราคาหุ้นแม่ วอแรนต์ก็จะหมดค่าลง ราคากลายเป็นศูนย์ คนถือวอแรนต์ขาดทุน 100% เพราะฉะนั้น Value Investor ไม่ชอบถือวอแรนต์

แต่บริษัทจดทะเบียนในเมืองไทยนั้นมีการออกวอแรนต์กันมากมหาศาล โดยเฉพาะในช่วงหนึ่งซึ่งการออกวอแรนต์นั้นเหมือนการพิมพ์แบงค์ใช้เองได้ ซึ่งได้ล่อให้บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งบริษัทที่มีคุณภาพดีเยี่ยมซึ่งไม่ควรออกวอแรนต์ก็ยังหันมาออกวอแรนต์กันเป็นว่าเล่น ดังนั้นเราจึงควรรู้จักวอแรนต์สักหน่อยและดูว่าจะมีโอกาสหาประโยชน์จากวอแรนต์ได้อย่างไร

โดยธรรมชาตินั้น ราคาวอแรนต์จะวิ่งขึ้นลงตามราคาหุ้นแม่ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน เช่น ถ้าหุ้นแม่ขึ้นไปหนึ่งบาท วอแรนต์ก็ขึ้นไปประมาณหนึ่งบาทเหมือนกัน และถ้าหุ้นแม่ตกลงมา 1 บาท ราคาวอแรนต์ก็มักจะตกลงมาประมาณ 1 บาท ด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ ราคาวอแรนต์มักจะต่ำกว่าหุ้นแม่มาก ส่วนใหญ่มักมีราคาไม่เกิน 30-40% ของหุ้นแม่ และวอแรนต์บางตัวมีราคาเพียง 10% ของหุ้นแม่ เช่น หุ้นแม่ราคา 20 บาท แต่วอแรนต์มีราคาเพียง 2 บาท เป็นต้น

ดังนั้น ด้วยเม็ดเงินจำนวนเท่ากัน เราสามารถซื้อวอแรนต์ได้มากกว่าหุ้นตัวแม่ บางทีหลายเท่า เช่น ถ้าหุ้นแม่เท่ากับ 20 บาท วอแรนต์เท่ากับ 2 บาท แปลว่าเราสามารถซื้อวอแรนต์ได้เป็น 10 เท่าของหุ้นแม่ อัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นแม่กับวอแรนต์นี้ เรียกว่า Gearing Ratio ซึ่งอธิบายเป็นภาษาไทยง่าย ๆ ก็คือ อัตราส่วนขยายผล

หุ้นแม่ราคา 20 บาท ถ้ามีราคาเพิ่มขึ้น 1 บาท คนที่ถือหุ้นแม่ก็กำไรเพียง 5% แต่ถ้าคุณถือวอแรนต์ซึ่งมีราคาเพียง 2 บาท และราคาวอแรนต์ขึ้นไป 1 บาทตามหุ้นแม่คุณก็มีกำไรถึง 50% หรือมีกำไรเป็น 10 เท่าเมื่อเทียบกับการถือหุ้นแม่ และนี่คือผลของ Gearing ซึ่งขยายผลการลงทุนของคุณขึ้นไป 10 เท่า จากกำไร 5% เป็นกำไร 50%

นั่นก็พูดในแง่ที่ดี แต่ถ้าการณ์กลับเป็นตรงกันข้าม หุ้นแม่กลับลดลง 1 บาท ซึ่งเป็นการลดลงมาเพียง 5% และราคาวอแรนต์ตกลงมา 1 บาทเช่นเดียวกัน คุณก็ขาดทุนไป 50% หรือขาดทุนมากเป็น 10 เท่าของตัวแม่ และที่อาจเลวร้ายไปกว่านั้นก็คือ การขาดทุนของคุณอาจจะเกิดขึ้นในช่วงที่วอแรนต์จะหมดอายุซึ่งทำให้คุณต้องขาดทุนจริง ๆ ในขณะที่การขาดทุน 5% ของหุ้นแม่นั้น คุณสามารถที่จะถือต่อ และถ้าพื้นฐานของหุ้นดีจริง ในที่สุดราคาหุ้นก็จะกลับมา และคุณอาจจะไม่เดือดร้อนอะไรเลย

พูดโดยสรุปก็คือ การเล่นวอแรนต์นั้นมีโอกาสได้เสียสูงกว่าการเล่นหุ้นแม่ และจะมากน้อยขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับอัตราการขยายผลหรือ Gearing Ratio ของวอแรนต์ การเล่นหุ้นแม่นั้น คุณไม่ค่อยต้องห่วงเรื่องเวลา เพราะคุณสามารถถือหุ้นรอไปได้เรื่อย ๆ ถ้าคุณเห็นว่าพื้นฐานของบริษัทดี เวลาเป็นเพื่อนของคุณ แต่การเล่นวอแรนต์นั้น คุณต้องแข่งกับเวลา เวลาที่ผ่านไปแต่ละวันหมายความว่ามูลค่าของวอแรนต์จะค่อย ๆ ถดถอยลง และถ้าคุณโชคร้าย การถือวอแรนต์อาจทำให้คุณหมดตัวได้

คำถามสำคัญก็คือ ในฐานะ Value Investor เราควรซื้อวอแรนต์ไหม และเมื่อไร?

เงื่อนไขในการซื้อวอแรนต์สำหรับ Value Investor นั้น ผมคิดว่า ประการแรกก็คือ เราต้องพอใจและอยากที่จะลงทุนในหุ้นแม่เสียก่อน นั่นคือ เราต้องวิเคราะห์หุ้นแม่ในทุกด้านเหมือนกิจการปกติ รวมทั้งได้คำนึงถึงผลกระทบของวอแรนต์ที่จะมาลดกำไรต่อหุ้นของบริษัทในอนาคตด้วยแล้ว เมื่อเห็นว่าบริษัทน่าลงทุน เราจึงมาดูต่อว่าเราควรจะซื้อหุ้นแม่หรือซื้อวอแรนต์ที่บางทีเรียกว่าหุ้นลูก

การที่เราอาจจะซื้อหุ้นลูกแทนหุ้นแม่ก็เพราะว่า ถ้าเราคำนวณโดยการเอาราคาวอแรนต์บวกกับราคาใช้สิทธิแล้วมีราคาไม่ต่างจากการซื้อหุ้นแม่โดยตรง การซื้อวอแรนต์อาจจะดีกว่าในแง่ที่ว่า การซื้อวอแรนต์เราใช้เงินน้อยกว่าในการที่จะได้ควบคุมหุ้นจำนวนมากกว่า และเรายังมีโอกาสดูผลงานของบริษัทต่อไปจนถึงวันที่วอแรนต์หมดอายุ ถ้าในระหว่างนั้นเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันทำให้บริษัทเสียหายหนักหรือพื้นฐานเปลี่ยนไป เรายังมีสิทธิที่จะไม่ใช้สิทธิซื้อหุ้นตัวนั้นได้ และการขาดทุนของเราก็จะจำกัดอยู่แต่มูลค่าวอแรนต์ที่เราถืออยู่ แต่ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่คาด เราก็ใช้สิทธิซื้อหุ้นแม่ซึ่งมีต้นทุนเมื่อรวมกับราคาวอแรนต์ไม่ต่างจากที่เราจะซื้อหุ้นแม่ตั้งแต่ทีแรก

การเล่นกับวอแรนต์อีกแบบหนึ่งก็คือสิ่งที่เราเรียกว่า Arbitrage หรือการ ทำกำไรโดยไม่มีความเสี่ยง นี่คือกรณีที่เราถือหุ้นแม่เพื่อการลงทุนระยะยาวอยู่แล้วแต่พบว่าในบางช่วงราคาของวอแรนต์ตกต่ำกว่าความเป็นจริง นั่นคือ เมื่อเอาราคาวอแรนต์บวกกับราคาใช้สิทธิแล้วยังต่ำกว่าราคาหุ้นแม่ ถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้ สิ่งที่เราควรทำก็คือ ให้ซื้อวอแรนต์แล้วขายหุ้นแม่พร้อมกันในจำนวนหุ้นที่เท่ากัน เสร็จแล้วก็เอาวอแรนต์นั้นไปใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้น ผลลัพธ์ก็คือ เราจะมีหุ้นเท่าเดิมและมีเงินเหลือจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่ขายกับราคาวอแรนต์บวกราคาใช้สิทธิ

การทำ Arbitrage หุ้นกับวอแรนต์นี้ ส่วนต่างกำไรมักจะไม่มากและคุณยังต้องคำนวณเผื่อค่าคอมมิชชั่นการซื้อขายทั้งหมดด้วย อย่างไรก็ตาม นี่เป็นของฟรีที่ควรทำนอกเหนือจาก 2 เรื่องดังกล่าวแล้ว ผมเองไม่แนะนำให้เล่นวอแรนต์ เพราะการซื้อขายวอแรนต์นั้น มีองค์ประกอบของการเก็งกำไรสูงมากและการคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของวอแรนต์อย่างที่ออกในตลาดหุ้นไทยนั้นก็ยังไม่มีใครทำได้ดีหรือมีทฤษฎีสนับสนุนเพียงพอ

โดย ดร.นิเวศน์ จากเว็บไทยวีไอ

เล่นกับวอแรนต์

เล่นกับวอแรนต์

Value Investor กับ วอแรนต์นั้นดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยถูกกัน เพราะวอแรนต์อาจจะกลายเป็นหุ้นซึ่งจะเข้าไปเฉลี่ยกำไรกับผู้ถือหุ้นเดิมโดยเฉพาะในยามที่บริษัทมีกำไรดีและราคาหุ้นเดิมขึ้นไปสูง เพราะฉะนั้นบริษัทที่มีวอแรนต์มาก ๆ จะโตช้าลงซึ่ง Value Investor ไม่ชอบ
Value Investor ไม่ชอบลงทุนในวอแรนต์ เพราะวอแรนต์นั้นมักมีอายุสั้น และถ้าถึงวันที่มันหมดอายุแล้วราคาแปลงสภาพยังสูงกว่าราคาหุ้นแม่ วอแรนต์ก็จะหมดค่าลง ราคากลายเป็นศูนย์ คนถือวอแรนต์ขาดทุน 100% เพราะฉะนั้น Value Investor ไม่ชอบถือวอแรนต์
แต่บริษัทจดทะเบียนในเมืองไทยนั้นมีการออกวอแรนต์กันมากมหาศาล โดยเฉพาะในช่วงหนึ่งซึ่งการออกวอแรนต์นั้นเหมือนการพิมพ์แบงค์ใช้เองได้ ซึ่งได้ล่อให้บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งบริษัทที่มีคุณภาพดีเยี่ยมซึ่งไม่ควรออกวอแรนต์ก็ยังหันมาออกวอแรนต์กันเป็นว่าเล่น ดังนั้นเราจึงควรรู้จักวอแรนต์สักหน่อยและดูว่าจะมีโอกาสหาประโยชน์จากวอแรนต์ได้อย่างไร
โดยธรรมชาตินั้น ราคาวอแรนต์จะวิ่งขึ้นลงตามราคาหุ้นแม่ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน เช่น ถ้าหุ้นแม่ขึ้นไปหนึ่งบาท วอแรนต์ก็ขึ้นไปประมาณหนึ่งบาทเหมือนกัน และถ้าหุ้นแม่ตกลงมา 1 บาท ราคาวอแรนต์ก็มักจะตกลงมาประมาณ 1 บาท ด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ ราคาวอแรนต์มักจะต่ำกว่าหุ้นแม่มาก ส่วนใหญ่มักมีราคาไม่เกิน 30-40% ของหุ้นแม่ และวอแรนต์บางตัวมีราคาเพียง 10% ของหุ้นแม่ เช่น หุ้นแม่ราคา 20 บาท แต่วอแรนต์มีราคาเพียง 2 บาท เป็นต้น
ดังนั้น ด้วยเม็ดเงินจำนวนเท่ากัน เราสามารถซื้อวอแรนต์ได้มากกว่าหุ้นตัวแม่ บางทีหลายเท่า เช่น ถ้าหุ้นแม่เท่ากับ 20 บาท วอแรนต์เท่ากับ 2 บาท แปลว่าเราสามารถซื้อวอแรนต์ได้เป็น 10 เท่าของหุ้นแม่ อัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นแม่กับวอแรนต์นี้ เรียกว่า Gearing Ratio ซึ่งอธิบายเป็นภาษาไทยง่าย ๆ ก็คือ อัตราส่วนขยายผล
หุ้นแม่ราคา 20 บาท ถ้ามีราคาเพิ่มขึ้น 1 บาท คนที่ถือหุ้นแม่ก็กำไรเพียง 5% แต่ถ้าคุณถือวอแรนต์ซึ่งมีราคาเพียง 2 บาท และราคาวอแรนต์ขึ้นไป 1 บาทตามหุ้นแม่คุณก็มีกำไรถึง 50% หรือมีกำไรเป็น 10 เท่าเมื่อเทียบกับการถือหุ้นแม่ และนี่คือผลของ Gearing ซึ่งขยายผลการลงทุนของคุณขึ้นไป 10 เท่า จากกำไร 5% เป็นกำไร 50%
นั่นก็พูดในแง่ที่ดี แต่ถ้าการณ์กลับเป็นตรงกันข้าม หุ้นแม่กลับลดลง 1 บาท ซึ่งเป็นการลดลงมาเพียง 5% และราคาวอแรนต์ตกลงมา 1 บาทเช่นเดียวกัน คุณก็ขาดทุนไป 50% หรือขาดทุนมากเป็น 10 เท่าของตัวแม่ และที่อาจเลวร้ายไปกว่านั้นก็คือ การขาดทุนของคุณอาจจะเกิดขึ้นในช่วงที่วอแรนต์จะหมดอายุซึ่งทำให้คุณต้องขาดทุนจริง ๆ ในขณะที่การขาดทุน 5% ของหุ้นแม่นั้น คุณสามารถที่จะถือต่อ และถ้าพื้นฐานของหุ้นดีจริง ในที่สุดราคาหุ้นก็จะกลับมา และคุณอาจจะไม่เดือดร้อนอะไรเลย
พูดโดยสรุปก็คือ การเล่นวอแรนต์นั้นมีโอกาสได้เสียสูงกว่าการเล่นหุ้นแม่ และจะมากน้อยขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับอัตราการขยายผลหรือ Gearing Ratio ของวอแรนต์ การเล่นหุ้นแม่นั้น คุณไม่ค่อยต้องห่วงเรื่องเวลา เพราะคุณสามารถถือหุ้นรอไปได้เรื่อย ๆ ถ้าคุณเห็นว่าพื้นฐานของบริษัทดี เวลาเป็นเพื่อนของคุณ แต่การเล่นวอแรนต์นั้น คุณต้องแข่งกับเวลา เวลาที่ผ่านไปแต่ละวันหมายความว่ามูลค่าของวอแรนต์จะค่อย ๆ ถดถอยลง และถ้าคุณโชคร้าย การถือวอแรนต์อาจทำให้คุณหมดตัวได้
คำถามสำคัญก็คือ ในฐานะ Value Investor เราควรซื้อวอแรนต์ไหม และเมื่อไร?
เงื่อนไขในการซื้อวอแรนต์สำหรับ Value Investor นั้น ผมคิดว่า ประการแรกก็คือ เราต้องพอใจและอยากที่จะลงทุนในหุ้นแม่เสียก่อน นั่นคือ เราต้องวิเคราะห์หุ้นแม่ในทุกด้านเหมือนกิจการปกติ รวมทั้งได้คำนึงถึงผลกระทบของวอแรนต์ที่จะมาลดกำไรต่อหุ้นของบริษัทในอนาคตด้วยแล้ว เมื่อเห็นว่าบริษัทน่าลงทุน เราจึงมาดูต่อว่าเราควรจะซื้อหุ้นแม่หรือซื้อวอแรนต์ที่บางทีเรียกว่าหุ้นลูก
การที่เราอาจจะซื้อหุ้นลูกแทนหุ้นแม่ก็เพราะว่า ถ้าเราคำนวณโดยการเอาราคาวอแรนต์บวกกับราคาใช้สิทธิแล้วมีราคาไม่ต่างจากการซื้อหุ้นแม่โดยตรง การซื้อวอแรนต์อาจจะดีกว่าในแง่ที่ว่า การซื้อวอแรนต์เราใช้เงินน้อยกว่าในการที่จะได้ควบคุมหุ้นจำนวนมากกว่า และเรายังมีโอกาสดูผลงานของบริษัทต่อไปจนถึงวันที่วอแรนต์หมดอายุ ถ้าในระหว่างนั้นเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันทำให้บริษัทเสียหายหนักหรือพื้นฐานเปลี่ยนไป เรายังมีสิทธิที่จะไม่ใช้สิทธิซื้อหุ้นตัวนั้นได้ และการขาดทุนของเราก็จะจำกัดอยู่แต่มูลค่าวอแรนต์ที่เราถืออยู่ แต่ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่คาด เราก็ใช้สิทธิซื้อหุ้นแม่ซึ่งมีต้นทุนเมื่อรวมกับราคาวอแรนต์ไม่ต่างจากที่เราจะซื้อหุ้นแม่ตั้งแต่ทีแรก
การเล่นกับวอแรนต์อีกแบบหนึ่งก็คือสิ่งที่เราเรียกว่า Arbitrage หรือการ “ทำกำไรโดยไม่มีความเสี่ยง” นี่คือกรณีที่เราถือหุ้นแม่เพื่อการลงทุนระยะยาวอยู่แล้วแต่พบว่าในบางช่วงราคาของวอแรนต์ตกต่ำกว่าความเป็นจริง นั่นคือ เมื่อเอาราคาวอแรนต์บวกกับราคาใช้สิทธิแล้วยังต่ำกว่าราคาหุ้นแม่ ถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้ สิ่งที่เราควรทำก็คือ ให้ซื้อวอแรนต์แล้วขายหุ้นแม่พร้อมกันในจำนวนหุ้นที่เท่ากัน เสร็จแล้วก็เอาวอแรนต์นั้นไปใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้น ผลลัพธ์ก็คือ เราจะมีหุ้นเท่าเดิมและมีเงินเหลือจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่ขายกับราคาวอแรนต์บวกราคาใช้สิทธิ
การทำ Arbitrage หุ้นกับวอแรนต์นี้ ส่วนต่างกำไรมักจะไม่มากและคุณยังต้องคำนวณเผื่อค่าคอมมิชชั่นการซื้อขายทั้งหมดด้วย อย่างไรก็ตาม นี่เป็นของฟรีที่ควรทำนอกเหนือจาก 2 เรื่องดังกล่าวแล้ว ผมเองไม่แนะนำให้เล่นวอแรนต์ เพราะการซื้อขายวอแรนต์นั้น มีองค์ประกอบของการเก็งกำไรสูงมากและการคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของวอแรนต์อย่างที่ออกในตลาดหุ้นไทยนั้นก็ยังไม่มีใครทำได้ดีหรือมีทฤษฎีสนับสนุนเพียงพอ

WARRANT คืออะไร?

WARRANT คืออะไร?

warrant คือ ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ในการจะซื้อหุ้นสามัญ ( ส่วนมากเรียกว่าหุ้นลูก )สามารถดูรายละเอียดการใช้สิทธ์และวันหมดอายุได้ในset.or.th หลังจากหมดอายุ ถ้าไม่ใช้สิทธิ์ก็จะกลายเป็นกระดาษไม่มีค่าไปในที่สุด

“ตัวอย่างMint กับ Mint-w4″

เหตุผลที่ออกเพราะบริษัทต้องการเงินทุน, ส่วนมากบริษัทจะแจกฟรีให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในวันที่กำหนด(XW)

วิธีการคิดว่าหุ้นลูกถูก/แพง ต้องเอาราคาหุ้นแม่เทียบกับ(ราคาหุ้นลูก+ราคาใช้สิทธ์)

ตัวอย่างเช่นหุ้นBrook ราคา2บาทและตัวลูกBrook-w4 ราคา1บาท ราคาใช้สิทธ์1.05บาท
ถ้าเราซื้อbrook-w4วันนี้แล้วจะเอาไปใช้สิทธ์ ต้นทุนเราจะเท่ากับ 1+1.05=2.05 ซึ่งแพงกว่าหุ้นแม่.05บาท ถือว่าไม่คุ้ม “OVERVALUE”

ควรซื้อเมื่อ “ราคาหุ้นแม่ > ราคา warrant + ราคาใช้สิทธ์”

นักลงทุนระยะยาวไม่ชอบหุ้นทีออกwarrantเพราะจะทำให้มูลค่าหุ้นลดลง เนื่องจากจำนวนหุน้จะเพิ่มขึ้นและลดEPS
เช่นหุ้นA มี100ล้านหุ้น ออกwarrantมา30ล้านหุ้น พอถึงวันหมดอายุมีคนมาใช้แปลงสิทธ์ จะกลายเป็นหุ้นแม่มี130ล้านหุ้น ทำให้EPSลดลง