Posts from the ‘Fundamental Analysis’ Category

วิธีวิเคราะห์ว่าบริษัทจะเจ้งหรือไม่

เพิ่มความรู้วันหยุดอีกวัน จะรู้ได้อย่างไรบริษัทว่าจะไม่เจ๊งก่อน turnaround

วิธีวิเคราะห์ว่าบริษัทจะเจ้งหรือไม่
ลงทุนหุ้น turnaround ให้รวยขั้นแรกต้องมั่นใจก่อนว่าบริษัทที่จะลงทุนต้องไม่เจ้งไปซะก่อน เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งคือเรื่องหนี้สินไม่ว่าธุรกิจคุณจะเป็นเช่นไรยังไงก็ต้องจ่ายหนี้ การใช้อัตราส่วนการวิเคราะห์ความอยู่รอด Solvency Ratio (Leverage Ratio) เป็นอัตราส่วนที่จะตอบคำถามว่าบริษัทว่ามีภาระหนี้มากน้อยเพียงใด และธุรกิจมีปัญหาจ่ายหรือไม่ อยากรู้รายละเอียดเชิญอ่านบทควาามเรื่องนี้จาก อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล[1] โดยพลัน

Financial leverage: ความเสี่ยงทางการเงิน
อัตราส่วนการวิเคราะห์ความอยู่รอด Solvency Ratio (Leverage Ratio) อัตราส่วนกลุ่มนี้เป็นเครื่องชี้ถึงความสามารถในการชำระภาระหนี้สินของกิจการในระยะยาว ซึ่งสำคัญอย่างมากต่อผู้ที่เน้นการลงทุนระยะยาวจริงๆ (ไม่ใช่นักลงทุนประเภท Trading ที่อาจเก็งแต่ผลประกอบการรายไตรมาส ซื้อหุ้นโดยหวังผลเรื่องการเติบกำไรแจะเป็นแรงขับดันราคาหุ้น) แต่สำหรับคนที่จะลงทุนระยะยาวโดยไม่ได้กังวลกับความผันผวนราคาฃรายวัน รายเดือน นอกจากอัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity) ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ประสิทธิภาพ (Efficiency: พวก Turnover ต่างๆ) แล้ว ตัวที่ละเลยไม่ได้เลยคือ อัตราส่วนความอยู่รอด (Solvency) ที่มีอยู่หลายค่า ตามแต่ที่จะใช้กัน เช่น

Debt to Equity Ratio (D/E Ratio) = Total Debt / Total Equity
Debt to Asset Ratio = Total Debt / Total Assets
Short-term Debt to Total Debt = S-T Debt / Total Debt
Interest Coverage Ratio or Times interest Earned = EBIT/ Interest Expense
Modified Interest Coverage Ratio = CFO before interest and tax / Cash of interest payment
Modified Debt Principal Payback Period (Debt Coverage Ratio)= Long-term Liabilities / CFOOr Implied Debt Coverage Ratio = Debt / EBITDA

บางอัตราส่วนก็ไม่ได้ตีความต่างกันนัก เช่น Debt to Equity Ratio (D/E Ratio) กับ Debt to Asset Ratio แต่ที่นิยมก็คือ D/E จะใช้ตัวใดก็ได้ เพียงแต่ตีความให้เป็นเท่านั้น เพราะทั้งสองค่านี้ตีความเหมือนกัน เช่นบริษัทหนึ่งมี D/E เท่ากับ 0.4 ถ้าหาเป็น D/A = 0.29 เพราะ A = D + E เมื่อ D/E = 0.4 แสดงว่า ถ้ามี หนี้สิน Debt อยู่ 4 จะมี Equity อยู่ 10 นั่นคือจะมี Asset เท่ากับ 14 การตีความ D/E หมายถึงโครงสร้างแหล่งทุนบริษัทดังกล่าวมีโครงสร้างการจดห่แหล่งเงินทุน ใช้หนี้สินรวม 40% เทียบกับใช้จากส่วนทุน 100% ค่านี้จะดีหรือไม่ขึ้นกับว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมเป็นอย่างไรนั่นคือประเด็นหนึ่ง เพราะหากบริษัทเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมแล้วส่วนใหญ่อยู่ที่ 0.6 แสดงว่า มีโครงสร้างทุนที่เสี่ยงน้อยกว่าแต่ในด้านหนึ่ง ROE อาจต่ำกว่าอุตสาหกรรม แต่นั่นไม่ใช่ข้อสรุปว่าหุ้นนี้ไม่ดี เพราะการมี ROE ที่ต่ำกว่าในขณะที่ความเสี่ยงต่ำกว่านั้น เท่ากับความเสี่ยงกิจการได้ลดลง ทำให้ Expected return ของ Market ที่มีต่อหุ้นลดลงด้วย (High risk High return) ซึ่งได้เคยพุดถึงเรื่องทฤฌฎีโครงสร้างทุนเกี่ยวเรื่องนี้ ไว้บ้างแล้ง ซึ่งค่าความสัมพันธ์
ในทฤษฎีการเงินเรื่อง capital structure ต้นทุนหุ้นทุนจะผันแปรโดยตรงกับ D/E เมื่อ
rk = ผลตอบแทนหุ้นทุนที่ มี Leverage ที่ D/E
r0 = ผลตอบแทนหุ้นทุนที่ ไม่มี Leverage หรือที่ D/E = 0
rd = ผลตอบแทนหุ้นกู้หรือต้นทุนเงินกู้
rk = r0 + (D/E) * (r0 – rd)
เราสามาสรุปแบบคร่าวๆคือ Expected return ของหุ้นที่มี D/E ต่างกัน จะต่างกันราว (D/E1 – D/E2)*r0 แต่ตัวปัญหาก็คือ r0 นี่แหละจะเท่าไรดี ซึ่งควรอยู่ระหว่าง rf (risk free rate) กับ rm (Market return rate)

แต่เอาละนั่นคือภาคทฤษฎี เราไม่ต้องพยายามหาตัวเลขเป๊ะๆหรอก เอาแค่รู้ว่าเมื่อ D/E ของหุ้นสองตัวไม่เท่ากัน หุ้นที่มี D/E สูงกว่าย่อมต้องการ Required of return สูงกว่า ถ้าโยงไปถึง P/E = b / (k-g) แม้จะมีอัตราการจ่ายปันผลเท่ากันและมี growth เท่ากัน แต่ P/E ก็ไม่เท่ากัน เพราะ k หรือ rk จะต่างกันเอาเท่านี้ก็คงพอนึกออกแล้วนะครับว่าทำไมหุ้นมันถึงขึ้นลงมากน้อย (ผันผวน) ต่างกัน ทำไมบางตัว P/E ถึงได้ต่ำแล้วต่ำอีก อุตส่าห์เลือกตัว P/E ต่ำกว่าอุตสาหกรรมยังติดดอยอีก

ส่วนการคีความ D/A คือ ให้อ่านความหมายว่าในการจัดหาสิทรัพย์นั้นใช้หนี้เท่าไร ใช้เงินส่วนของเจ้าของเท่าไร จากตัวอย่างเดิม D/E 0.4 มี D/A = 0.29 (หรือราว 0.3) แสดงว่าสินทรัพย์ 100 บาท กู้มา 30 เจ้าของลงทุน 70 ในการจัดหามา เหมือนกันจะดูว่าดีหรือไม่ก็ต้องเทียบกับอุตสาหกรรม แต่ตัวนี้ลูกเล่นในทางการเงินตรงๆ มีน้อยไม่เท่า D/E ดังที่กล่าวมา นักการเงินเลยไม่นิยมนักเพราะถ้าจะใช้ก็ต้องแปลงเป็น D/E

ส่วนข้อ 3 Short-term Debt to Total Debt ขึ้นกับแต่ละอุตสาหกรรม เพราะแต่ละอุตสาหกรรมมี โครงสร้างสินทรัพย์หมุนนเวียน และไม่หมุนเวียนต่างกันไปตามลักษณะอุตสาหกรรม เช่นหุ้นอุตสาหกรรมผลิต (หุ้นโรงงาน) กับ โรงพยาบาล หรือ ค้าปลีก พาณิชย์ รับเหมาก่อสร้าง จะมีโครงสร้างตาม Common size แตกต่างกันไป หุ้นโรงงาน จะมี ส/ท ไม่หมุนเวียนราว 60% ของสินทรัพย์รวม จะเป็น ส/ท หมุนเวียน 40% ครึ่งหนึ่งส่วนนี้มักจะเป็นสินค้าคงเหลือ หากสินค้าควรได้เครดิตในการซื้อเกือบทั้งหมด แสดงว่าที่เหลือของ ส/ท หมุนเวียน ถ้าใช้เงินกู้ระยะสั้น ก็ควรใช้ราว 20% เพราะหนี้สินส่วนที่เหลือควรใช้หนี้ระยะยาวเพราะสินทรัพย์ที่เหลือคือ ส/ท ไม่หมุนเวียน และถ้า Current ratio ควรมากกว่า 1 แล้ว หนี้ระยะสั้นก็ควรยิ่งต้องน้อยลงอีก จึงควรที่จะไม่เกิน 30-40% ถ้ามากกว่านี้จะสันนิษฐานว่า มีการใช้เงินกู้ระยะสั้นผิดวัตถุประสงค์ (Unmatched) ไว้เรื่องโครงสร้างของอุตสาหกรรมและการวิเคราะห์นี้จะเขียนภายหลัง เพราะคือส่วนหนึ่งของ Common size analysis ที่ดูพื้นๆ แต่คนที่อ่านงบแบบวิเคราะห์ไม่ใช่อ่านแบบบัญชีจะได้ประญชน์ ยิ่งใช้กับ Trend Analysis แล้วอาจแทบไม่ต้องทำ Ratio analysis เลยด้วยซ้ำ

ยังมีการวัดความเสี่ยงทางการเงินอีกแบบหนึ่ง เป็นการวัดความสัมพันธ์ของต้นทุนคงที่ทางการเงิน (ส่วนใหญ่คือดอกเบี้ย) ของทุน ซึ่งหมายถึงเฉพาะหนี้สิน
Leverage หมายถึงสิ่งที่สร้างความเสี่ยงให้กับธุรกิจ โดยทั่วไปความเสี่ยงของธุรกิจคือความผันผวนของกำไรหรือกระแสเงินสด ส่วน Leverage ในสูตรที่จะกล่าวถึงนี้จะหมายถึงรายการที่เป็นภาระที่ธุรกิจต้องจ่ายไม่ว่ารายได้จากการดำเนินงานจะเปลี่ยนไปอย่างไร การวัดภาระความเสี่ยงสามารถวัดได้ สองด้านคือ ระดับภาระความเสี่ยงทางการเงิน และระดับภาระความเสี่ยงในการดำเนินงาน

เมื่อจะวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีผลต่อกำไรโดยรวม (DTL) จะช่วยให้เข้าใจธุรกิจได้มากนึ้น บางครั้งการเพิ่มทุน หรือจัดตั้งกองทุนอสังหา REIT หรือ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเอาเงินมาลดหนี้สินลง โดยหวังลดดอกเบี้ยก็อาจไม่ได้ให้ประโยชน์เต็มที่เพราะความเสี่ยงโดยรวมที่กระทบต่อกำไร (DTL) อาจไม่ได้มาจาก DFL (ความเสี่ยงจากต้นทุนการเงิน) อย่างเดียว แต่อาจมาจาก DOL (ความเสี่ยงจากต้นทุนคงที่ในการดำเนินงาน)
โดยการวิเคราห์องค์ประกอบความเสี่ยงโดยรวมนี้ (DTL) มีดังนี้

1. The degree of financial leverage (DFL)
= % chg in net income / % chg in net operating income
= EBIT / EBIT – I

2. The degree of operating leverage (DOL)
= % chg in net operating income / % chg in sales
= Contribution margin (income) / Contribution income – Fixed cost

3. The degree of total leverage (DTL)
= % chg in net income / % chg in sales
= Contribution margin / EBIT –I
= DFL * DOL

-ค่าที่ยิ่งสูงของแต่ละตัวบ่งชี้ถึงภาระที่กิจการต้องแบกรับไว้มาก ยิ่งมากแสดงว่าความเสี่ยงยิ่งสูง สะท้อนถึงจุดคุ้มทุนที่ต้องสูงตามไปด้วย
-Operating Brake-even Point = Fixed Cost / Contribution Margin per Unit ค่า DOL แสดงถึงระดับการเปรียบเทียบอัตรากำไรส่วนเกิน (รายได้หักต้นทุนผันแปร) กับกำไรส่วนเกินส่วนที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixes Cost) ซึ่งหมายถึงกำไรจากการดำเนินงาน (ไม่รวมค่าใช้จ่ายทางการเงินหรือดอกเบี้ย) ค่าที่ยิ่งสูงแสดงว่ากำไรหลังหักค่าใช้จ่ายคงที่จากการดำเนินงาน ก็คือกำไรจากการดำเนินงาน (Contribution Income – Fixed Cost = operating Income) เหลือเพียงเล็กน้อย — > 1- 1/DOL = FC/CM = ค่าใช้จ่ายคงที่ต่ออัตรากำไรส่วนเกิน
-Financial Break-even Point = EBIT = I, ความสัมพันธ์ ICR กับ DFL คือ 1/ICR = 1-1/DFL
-การวิเคราะห์เปรียบเทียบงวดต่องวด จะช่วยบ่งชี้ให้ผู้บริหารเห็นแนวโน้มภาระจากต้นทุนคงที่ทั้งด้านการดำเนินงานและต้นทุนทางการเงินว่าบริษัทรับภาระมากขึ้นน้อยลงอย่างไร จะช่วยสะท้อนจุดแข็งละจุดอ่อนอีกมุมหนึ่งทางด้านการเงินได้ แต่อัตราส่วนนี้วิเคราะห์จากงบบริษัทอื่นได้ยากเพราะเราไม่สามารถแยกต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรของบริษัทอื่นได้
-การวิเคราะห์ DOL นี้ อาจทำได้โดยการหา DFL และ DTL จากนั้นหาย้อนกลับจากสูตร DTL = DFL * DOL บริษัทที่มี DOL สูง การหาเงินทุนมาลดหนี้ย่อมไม่ช่วยอะไรได้มาก

เเครดิต pattaratorn shovichit

วิเคราะห์งบการเงินและอัตราส่วนการเงินของหุ้นอสังหาริมทรัพย์จะดูอะไรบ้าง

วิเคราะห์งบการเงินและอัตราส่วนการเงินของหุ้นอสังหาริมทรัพย์จะดูอะไรบ้าง

June 3, 2014 at 7:42am
มีคำถามว่าถ้าจะดูหุ้นอสังหาริมทรัพย์จะดูอะไรบ้าง ในที่นี้จะเริ่มจากงบการเงิน แล้วค่อยเชื่อมโยงกับปัจจัยภายนอก เป็นการวิเคราะห์ในแนวทาง Bottom up ซึ่งหากใครจะมองแบบ Top down ก็เพียงกลับทิศทางกันเท่านั้น บางครั้งTop down บ่งชี้ว่ายังไม่ใช้จังหวะเราก็อาจรอดูทั้งกลุ่ม เพียงแต่เมื่อทิศทางมาทั้งกลุ่ม เราก็ค่อยเลือกลงทุนในตัวที่วิเคราะห์แล้วดูเข้าตาก็ได้ Bottom up นั้นเมื่อเจอตัวหุ้นที่ดีก็ ดูมูลค่าที่ต่ำพอที่ลงทุนได้ ก็ทยอยซื้อเก็บลงทุนไป

เมื่อพูดถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เมื่อก่อนจะรวมกลุ่มรับเหมาก่อสร้างไว้ด้วย แม้จะดึงออกมาไม่รวมแล้ว แต่ในกลุ่มอสังหาฯ ก็ยังมีความหลากหลาย มีทั้งสร้างที่อยู่อาศัย (บ้านและคอนโด) ขาย สร้างอาคารพาณิชย์ให้เช่า พัฒนาพื้นที่ทำนิคมอุตสาหกรรม สร้างคลังสินค้าขายหรือให้เช่า เป็นต้น ดังนั้น การเปรีบยเทียบและวิเคราะห็ต้องระมัดระวังอย้างมากในการวิเคราะห์และนำมาเปรียบเทียบ ในที่นี้ขอมุ่งเน้นที่สร้างที่อยู่อาศัย (บ้านและคอนโด) ขาย เป็นหลัก

โครงสร้างหรือรายการในงบการเงินที่สำคัญ
v รายการในงบดุลให้สังเกตรายการงาน สินค้าคงเหลือ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย
v เงินมัดจำค่าซื้อที่ดิน
v เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า/วัสดุก่อสร้าง
v ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (และสิทธิการเช่า)
v หนี้สิน-เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินกู้ระยะยาว หุ้นกู้
v รายได้ —- > รายได้ อสังหาฯ รับรู้เมื่อโอนฯ
v ต้นทุน
v ดอกเบี้ยจ่าย

1. ในโครงสร้างงบการเงินนี้คือรายการสาระสำคัญที่ทำให้เราสามารถมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ชัดเจน (หากตีความได้เป็นและถูกต้องตามกิจกรรมของธุรกิจ) รายการที่มีสาระสำคํญที่สุด มีจำนวนที่มาก คิดแล้วมีมูลค่ากว่า 90% ของสินทรัพย์ทั้งหมด คือ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ในการวิเคราะห์ที่ถูกต้องนั้น ต้องมองว่ารายการนี้คือ สินค้าคงเหลือของธุรกิจนี้ แต่เป็นสินค้าที่ต้องถือรอบนาน เพราะกว่าจะก่อสร้างเสร็จและขายได้ต่างจากการผลิตสินค้าเพื่อขายทั่วไป

2. ลูกหนี้ในธุรกิจนี้แทบจะไม่มีเลยเพราะ เมื่อสร้างเสร็จ หากลูกค้าที่ซื้อบ้านหรือคอนโด รับโอนก็จะจ่ายเงินทันที โดยส่วนมากเกือบทั้งหมด (>90-95%) จะขอสินเชื่อธนาคาร ดังนั้นธนาคารจะเป็นผู้ชำระค่าบ้านให้ทันที จึงไม่มียอดลูกหนี้

3. เนื่องจากธุรกิจนี้พึ่งพิงกับสถาบันการเงินสูง ส่วนมากแทบทุกโครงการจะมีสถาบันการเงินเป็นผู้ให้เงินกู้เพื่อขึ้นโครงการ เมื่อคนซื้อบ้านต้องการซื้อบ้าน ทางโครงการหรือบริษัทมักแนะนำธนาคารเพื่อขอสินเชื่อให้ (ซึ่งมักจะง่ายกว่าที่ผู้ซื้อบ้านไปขอที่ธนาคารอื่นเอง) บริษัทก็จะเอาเงินที่โอนขายบ้านได้จากธนาคารคืนเงินกู้ธนาคารไป ที่เหลือก็คือกำไร ถ้าคนซื้อไม่ผ่านอนุมัติเงินกู้สินเชื่อ ก็จะเกิดปัญหาแน่นอน เพราะขานบ้านไม่ได้ รายได้ไม่เกิด เงินกู้ธนาคารก็คืนไม่ได้ ตรงนี้แหละครับคือประเด็นที่เกี่ยวพันกับภาวะเศรษฐกิจ ตามปกติธนาคารจะกำหนดเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อโดยรวมตามภาวะเศรษฐกิจ โดยทั่วไปมักจะมียอดขยายสินเชื่อราวๆ 1.5-2.5 เท่าของ GDP และกระจายตามกลุ่มธุรกิจเพื่อป้องกันหรือเป็นการบริหารความเสี่ยงวิธีหนึ่งของธนาคาร ถ้าเศรษฐกิจดี พอร์ตสินเชื่อบ้านก็จะเพิ่มมากตามไปด้วย บริษัทอสังหาก็ขายง่ายขึ้น ถ้าเศรษฐกิจหดตัวก็ขายยากขึ้น เพราะลูกค้าบ้านได้รับการอนุมัติยากขึ้น โอนขายยากก็รับรู้รายได้น้อยลง

4. ภาวะดอกเบี้ยเป็นปัจจัยที่สอง คือเมื่อในช่วงดอกเบี้ยกำลังเริ่มขึ้นใหม่ (มักเกิดในตอนกำลังโตขึ้น) มักเป็นผลดีเพราะกำลังซื้อคนยังสูง การตัดสินใจคนซื้อจะง่ายขึ้น ยอดขายจึงโตเร็ว ส่วนในภาวะเศรษฐกิจถ้าโตมาระดับหนึ่งแล้วและดอกเบี้ยยังคงขึ้นต่อเนื่องตามวงจรเศรษฐกิจ ช่วงนี้จะเริ่มเป็นแรงกดดันการตัดสินใจซื้อ จะส่งผลให้การเติบโตยอดขายของอสังหาฯไม่สูงดังที่เกิดขึ้น ซึ่งหากอำนาจซื้อโดยทั่วไปเริ่มลดลงเพราะแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อด้วยแล้ว ยิ่งมีผลสูง

5. จากที่กล่าวในข้อแรกว่ารายการหลักในงบการเงินคือ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ดังนั้นหากวิแคราะห์อัตราส่วน current ratio จะไม่ได้ความหมายอะไร ช่วงดีก็เกิน 1 ใกล้ล้มละลายก็เกิน 1 ขาดสภาพคล่องก็เกิน 1 แล้วจะดู Liquidity อย่างไร เพราะธุรกิจนี้หากใครสภาพคล่องดี สายป่านดี ถือเป็นจุดแข็งที่ได้เปรียบข้อหนึ่งของธุรกิจ (Strength) กิจการที่สภาพคล่องไม่ดีจะพึ่งเงินกู้ระยะสั้นสูง จะมีต้นทุนการเงิน (ดอกเบี้ยจ่าย) สูงเป็นเงาตามตัว อ้ตราส่วนสภาพคล่องควรใช้ Modified Current Ratio = CFO/Current Liabbility แทน โดย CFO คือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (หักการจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงินสดแล้ว) หารด้วย หนี้สินหมุนเวียนเฉลี่ย ค่าที่ได้ควรสูงกว่า 1 จึงจะถือว่าสถาพคล่องดี ถ้า CFO ต่ำหรือติดลบ แสดงว่าธุรกิจปัจจุบันดำเนินไปประจำวันด้วยเงินกูล้วนๆ แบบนี้ช่วงเศรษฐกิจดีก็ไม่น่าห่วง แต่ช่วงไม่ดีน่าห่วง เพราะล้มง่ายเกิดปัญหาง่าย

6. ต่อมาคือวัดรอบการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือคือต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายนั่นเอง (ถ้ามีรายการสินค้าคงเหลืออีกบรรทัดให้เอามารวมกัน) ใช้สูตรเดียวกับ Inventory Turnover คือ ต้นทุนขายหารสินค้าคงเหลือเฉลี่ย แน่นอนรอบจะต่ำมาก บางบริษัมได้ 0.6 รอบต่อปี หาเป็นวันได้ 600 วัน หมายความว่า โดยเฉลี่ยโครงการหนึ่งนับแต่เริ่มขึ้นเสาเข็มจนสร้างเร็จแล้วโอนขายได้ ใช้เวลา ราว 1 ปี 8 เดือน เราสามารถนำค่านี้ไปพิจารณาความเหมาะสมได้ แต่ต้องระวังด้วยเพราะโครงการของแต่ละบริษัทอาจแตกต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมาย เช่นบางบรษัมเน่นลูกค้าระดับกล่างถึงกลางสูง กับบางบริษัทเน้นกลุ่มระดับสูงระยะเวลาอาจต่างกัน ซึ่งเราต้องอาศัยประสบการณ์และการสังเกต การพูดคุยหาข้อมูลเพื่อให้มั่นใจ แต่ถ้าจะพิจารณาให้เเร็วด้วยการเปรียบเทียบ บรฺษัทที่มีกลุ่มหรือภาพรวมโครงการคล้ายกัน ก็น่าจะใกล้เคียงกัน

7. เนื่องจากธุรกิจนี้ก่อหนี้สูงโดยสภาพธุรกิจ การพิจารณาเพียง D/E อาจจไม่พอที่จะได้ภาพชัดเจน จึงควรวิเคราะห์ควาสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยด้วย ปกติใช้ ICR (Interest Coverage Ratio = EBIT/I) แต่เนื่องจากธุรกิจนี้ จะมีการบันทึกต้นทุนการกู้ยืมบางส่วนเข้าในต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Interest Capitalization) ดอกเบี้ยจ่ายที่เห็นในงบกำไรขาดทุนจึงแสดงดอกเบี้ยจ่ายจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น เพื่อหาความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยที่แท้จรงจึงควรใช้ MICR (Modified Interest Coverage Ratio = (CFO+I)/I ) โดยการเอา CFO (ซึ่งหักดอกเบี้ยจ่ายเงินสดแล้ว) บวกกลับด้วยดอกเบี้ยจ่ายเงินสด หารด้วยดอกเบี้ยจ่ายเงินสด ทั้งหมดหาตัวเลขได้จากงบกระแสเงินสด ค่าที่ได้ควรมากกว่า 1 หากน้อยกว่าหรือติดลบ แสดงถึงสภาวะที่ไม่ดีของธุรกิจ ยิ่งหากเกิดในช่วงเศรษฐกิจชลอตัวยิ่งต้องระวัง

8. อัตราส่วนที่ใช้พิจารณาอีกตัวเกี่ยวกับหนี้สินคือ Modified Payback Period = ภาระหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยทั้งหมด / CFO อัตราส่วนนี้บอกว่า ในภาระหนี้ที่ต้องจ่ายดอเกบี้ยทั้งหมดถ้าจ่ายด้วยกระแสเงินสดที่ได้รับ (หลังหักดอกเบี้ยจ่ายแล้ว) เงินต้นทั้งหมดจะหมดในกี่ปี ยิ่งสั้นยิ่งดี แต่ติดลบไม่ดีแปลว่าไม่มีเงินจ่ายเงินต้น ค่าที่พอรับได้ น่าจะอยู่ไม่เกิน 5 ปี เพราะปกติการกู้ยืมสถาบันการเงินจะได้ term ราว 3-5 ปี ถ้ายาวกว่านั้น แสดงว่าต้องมีการ refinance แน่นอน กิจการอยู่ได้โบการหมุนเงินกู้วันไหนแบงค์ล้มบริษัทล้มแน่นอน (เหมือนปี 40 ที่มีอสังหาจำนวนมากล้มตามสถาบันการเงิน ทุกที่ล้วนมีอัตราส่วนตัวนี้ยาวทั้งสิ้น) อีกแง่หนึ่งอาจบอกได้ว่า แนวโน้มเพิ่มทุนสูง ยิ่งค่าติดลบ บรษัทจะมี D/E สูงกว่าอัตสาหกรรม และโอกาสต้องเพิ่มทุนยิ่งสูง

9. GM (Gross Margin) และ NM (Net Margin) พิจารณาเชิงแนวโน้มจะได้ภาพที่ชัดเจน หากแนวโน้มคงที่รักษาระดีบได้ดี แสดงถึงการรักษาความได้เปรียบการแข่งขัน (Sustainable Competitive Advantage) อย่าดูเพียงค่าสูงหรือต่ำอย่างเดียว เพราะแต่ละบริษัทมีกลุ่มลูกค้าต่างกัน กลุ่ม High-end ย่อมมี GM สูงกว่าผู้จับตลาดกลุ่ม Middle-end เพราะเมื่อดู NM แล้วอาจใกล้เคียงกัน กลุ่ม High-end มักมีค่าใช้จ่ายขายและบริหารสูงกว่า การวิเคราะห์หาหุ้นดีในกลุ่มนี้จึงควรดู GM และ NM แบบแนวโน้มประกอบจึงชัดเจนกว่า

10. สุดท้ายก็คงเป็นค่ามาตราฐานที่ใช้ดูหลักๆในทุกกลุ่มคือ ROA และ ROE บริษัทที่มากกว่า และสูงกว่าย่อมดีกว่า แต่บางครั้ง ทำมาทุกข้อ 1-9 บางตัวสูงบางตัวต่ำเราก็เลือกสุดท้ายที่ค่านี้เพื่อเอาตัวที่เข้า win

เขียนมา 10 ข้อคงพอควรระดับหนึ่งที่ครอบคลุมพอควร ปลีกย่อยมีอีกบ้างแต่ที่เขียนมาคือหลักใหญ่ครับ

เทคนิคบางประการในการดูงบการเงิน …

… เทคนิคบางประการในการดูงบการเงิน …

ในเรื่องของการอ่านงบการเงิน เพื่อหาความผิดปกติหรือสัญญาณว่า จะมีการตกแต่งงบการเงินหรือไม่ ในส่วนของ งบดุลและงบกระแสเงินสด ซึ่งในส่วนของงบดุลนั้น จะสามารถให้ข้อมูลได้ทั้งในกรณีการตกแต่งผลกำไรและการใช้จ่ายเงินที่ไม่เหมาะสม
ในกรณีของการตกแต่งกำไรนั้นจะเป็นผลมาจาก การสร้างรายได้เกินจริงหรือการชะลอค่าใช้จ่าย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะมีผลต่องบดุลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราก็สามารถหาความผิดปกติได้ดังนี้

• การสร้างรายได้เกินจริง
จะสังเกตได้จากยอดลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ เช่น ในอดีตลูกหนี้การค้าอยู่ที่ประมาณ 10% ของยอดขายแต่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30% เป็นต้น โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นแทบจะทั้งหมดเพิ่มมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น สาเหตุเป็นเพราะยอดขายที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่มีการชำระราคากันจริง

• การชะลอค่าใช้จ่าย
จะสังเกตได้จากหลายรายการในงบดุล เริ่มต้นจาก รายการค่าใช่จ่ายล่วงหน้า รายการสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน หากรายการเหล่านี้ เพิ่มขึ้นอย่างมากก็ควรจะพิจารณาดูว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับรายการเหล่านี้อาจต้องตัดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่บริษัทได้ชะลอการตัดเป็นค่าใช้จ่ายจึงตั้งเป็นทรัพย์สินไว้ก่อน อีกรายการหนึ่งที่ควรดูก็คือ สินค้าคงคลัง เพราะมีกรณีที่สินค้าของบริษัทล้าสมัย หรือมีข้อบกพร่องจนไม่สามารถขายได้ แต่บริษัทอาจไม่ยอมตัดเป็นค่าใช้จ่าย และอีกกรณีหนึ่งคือ การตั้งสำรองหนี้สูญที่ต่ำเกินไป อาจต้องดูนโยบายและสถิติในอดีตประกอบกันไป

สำหรับกรณีของการใช้จ่ายเงิน ที่ไม่เหมาะสมนั้นงบดุลก็สามารถให้ข้อมูลความผิดปกติได้เช่นกัน โดยทั่วไปการใช้จ่ายเงินที่ไม่เหมาะสมจะเกิดจากการที่ผู้บริหารพยายามที่จะโยกย้ายทรัพย์สินออกจากบริษัท ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปเงินสดหรือทรัพย์สินถาวรก็ได้ สิ่งที่อาจพบได้ในงบสำหรับกรณีของการโยกย้ายเงินสดได้แก่ รายการให้กู้ยืมแก่ผู้บริหารหรือกรรมการ หรืออาจอยู่ในรูปของการซื้อทรัพย์สินถาวร จากผู้บริหารและกรรมการในราคาสูงกว่าราคาตลาดมาก และในบางกรณีอาจถึงขั้นที่มีการจ่ายเงินค่าทรัพย์สินแต่ไม่ได้รับโอนทรัพย์สินเหล่านั้นมาให้บริษัทอย่างถูกต้อง ส่วนของการโยกย้ายทรัพย์สิน ก็อาจอยู่ในรูปของการขายทรัพย์สินถาวรของบริษัทให้กับผู้บริหารหรือกรรมการในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก สำหรับผู้อ่านหากเห็นทรัพย์สินถาวรของบริษัท เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมาก ขอแนะนำให้อ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากหมายเหตุประกอบงบว่า ทรัพย์สินถาวรเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงเพราะเหตุใด และเป็นประโยชน์จริงต่อการทำธุรกิจหรือไม่

งบสุดท้ายที่จะแนะนำให้พิจารณาเพื่อหาสัญญาณความผิดปกติก็คือ งบกระแสเงินสด หากบริษัทแสดงผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมากแต่กระแสเงินสดจากการปฏิบัติงานกลับติดลบ ก็เริ่มเป็นสัญญาณที่ไม่ดี ต้องดูในรายละเอียดต่อว่า กระแสเงินสดที่ติดลบนั้นมาจากอะไร เช่นอาจเป็นเพราะลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก หรือในส่วนของกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนก็จะบอกให้ผู้อ่านงบทราบได้ว่า ในรอบบัญชีที่ผ่านมาบริษัทมีการซื้อหรือจำหน่ายทรัพย์สินถาวรหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน จากลักษณะของข้อมูลที่ได้จากงบกระแสเงินสดจึงทำให้ผู้อ่านบางท่านเริ่มการพิจารณางบการเงินจากงบกระแสเงินสดก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงเข้าไปดูรายละเอียดต่อในงบดุลและงบกำไรขาดทุน ทั้งนี้ การจะเริ่มจากงบฉบับใดก่อนนั้น ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละท่าน ไม่มีลำดับก่อนหลังตายตัว

โดย ญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์
http://forums.naiwaen.com/thread-1490.html

งบการเงิน

งบการเงิน(ตอนที่1)
POSTED BY ENERGY_EAK ⋅ JULY 30, 2011 ⋅ LEAVE A COMMENT
ความจริงของโลกใบนี้ ได้พิสุจน์ว่า….เราไม่จำเป็นต้องร่ำเรียนมาทางด้านบัญชีการเงิน ก็สามารถประสบความสำเร็จในการเล่นหุ้นได้ ..บางท่านที่ประสบความสำเร็จในการเล่นหุ้นก็เป็น คุณหมอ, วิศวกร, หรืออาชีพอื่นๆ เป็นเจ้านายตัวเอง รึ อยู่บ้านเฉยๆ…ก็สามารถประสบความสำเร็จในการเล่นหุ้นได้ เราจะเห็นว่าความสำเร็จได้เปิดประตูต้อนรับคนทุกอาชีพ…แต่ลองสังเกตุดูสิครับ ..คนเก่งๆทั้งในระดับประเทศ, ระดับโลก แม้แต่คนเก่งในวงเพื่อนๆของเรา ส่วนมากจะ พิจารณางบการเงินเป็นทั้งสิ้น

ผมเองก็ไม่ได้เรียนจบทางด้านบัญชีมาครับ…แต่อยากประสบความสำเร็จอย่างคนอื่นๆเขา ..ก็เลยคิดง่ายๆว่า อะไรที่คนสำเร็จๆเขาทำกันได้ เราน่าจะฝึกหัดเอาไว้ไม่เสียหาย …และผมก็พบว่าการอ่านงบการเงินได้บ้าง มีประโยชน์อย่างมาก ..ถ้าจะเปรียบเทียบกับการสร้างบ้านที่ต้องมีรากฐาน, วางเสา, วางคาน…การเสริมความรู้ด้านพฐ.บัญชีในการลงทุนบ้าง..ก็ถือเป็นการเพิ่มความมั่นคงในการลงทุน.. จำกัดความเสี่ยงให้น้อยลงนั่นแหละครับ

เพื่อให้มีความสนุกในการติดตาม ในรายละเอียดผมพูดเกี่ยวกับ มุมมองของการดูงบการเงินแบบGrowth ในแบบของผม และ บางตอนจะยกตัวอย่างจริงประกอบบ้าง

อย่างไรก็ดี..ทั้งหมดจะพูดถึง 3หัวเรื่องหลักๆ..
1)งบดุล
2)กำไรขาดทุน
และ 3)งบกระแสเงินสด
ทั้ง3งบนี้ …มีความสัมพันธ์กัน… โดยหากเราเปรียบเที่ยบว่าหุ้นตัวนึง คือคนๆนึง งบดุลก็เหมือนกับสุขภาพทางการเงินโดยรวมของคนๆนั้น, งบกำไรขาดทุนก็เหมือนงานการที่คนๆนั้นทำความสามารถในการหาเงิน, งบกระแสเงินสดก็คือนิสัยการจับจ่ายใช้สอยของคนๆนั้นอะแหละครับ…เห็นถึงความสัมพันธ์บ้างไหมครับ?…เช่น ถ้าจับจ่ายใช้สอย(งบเงินสด) มากกว่า ที่หามาได้(งบกำไร)ตลอดเวลา ..สุดท้ายสุขภาพทางการเงิน(งบดุล)ก็จะแย่ …ถ้าเป็นคนก็เรียกว่า”จน” ….เป็นบริษัท จะเรียกว่าอะไรดี!! ^_^”

ผมเขียนจบครบทั้ง3งบการเงิน….มีวัตถุประสงค์เพื่อ ที่จะจุดประกายให้เพื่อนๆที่ยังไม่สนใจเรื่องการดูงบการเงิน …ให้ลองหันมา อ่านงบการเงินดูบ้าง…ตามประสางูๆปลาๆนี่แหละครับ ผมเองก็ยังไม่เก่ง แต่ก็พยายามเต็มที่ เพราะเชื่อว่าหากเพื่อนๆเข้าใจแล้ว..จะเห็นว่ามันมีประโยชน์จริงๆครับ

งบการเงิน(ตอนที่2)งบดุล
POSTED BY ENERGY_EAK ⋅ JULY 23, 2011 ⋅ LEAVE A COMMENT
วันนี้จะขอพูดถึงการดูพื้นฐานบ้างครับ.. ดังคำๆนี้ครับ

“หอสูงเก้าชั้นยังเริ่มต้นด้วยกองดิน ..เดินทางพันลี้ยังเริ่มต้นด้วยฝ่าเท้า
ไม่มีชั้นแรกที่จะต่อด้วยชั้นสาม ..ดังนั้นควรวางรากฐานอย่างมั่นคงไว้ ”

อย่างที่เคยเล่ามาก่อนหน้านี้ว่า..ความเรียบง่าย คือ หัวใจการลงทุนของผม …หลักของความเรียบง่าย …ไม่ใช่ว่าไม่ต้องหาความรู้นะครับ(ตอนนี้ผมเองก็เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา)..แต่หลักของความเรียบง่ายอยู่ที่ความเข้าใจ ครับ

งบดุล เป็นงบการเงินที่บอกถึงภาพรวมๆได้ดีที่สุดครับ บอกถึงสุขภาพของบริษัท …เหมือนคนที่ไปตรวจสุขภาพประจำปีแล้วมีใบรายงานผลนั่นแหละครับ

การอ่านงบของธุรกิจ..ผมเน้นความเข้าใจเป็นหลัก …เอาง่ายๆว่าไม่จำเป็นต้องรู้เยอะ, ไม่ต้องรู้จักตัวชี้วัดหลายๆตัว ถ้าเราไม่เข้าใจ …มุ่งเอาสักตัวสองตัวแต่เข้าใจดีกว่าครับ ..เพราะในการดูพฐ.ของบริษัทมีค่า Ratio มากมายให้เราหยิบมาใช้(ถ้าไม่ถนัดคำนวนก็หาค่าจากเว็บได้ ไม่จำเป็นต้องคำนวนเองเป็นก็ได้ครับ)…แต่สิ่งสำคัญคือ เราจะหยิบค่าอะไรมาพิจารณา ต้องเข้าใจและอย่าลืมว่าค่าต่างๆนี้ จะมีมิติอื่นๆซ่อนอยู่ด้วยเสมอ!! ฉนั้นการอ่านพฐ.ย่อมอยู่ที่มุมมองของแต่ละคน เช่น..ค่าวัดความเสี่ยงที่นิยมใช้กันค่านึง….

D/E Ratio หรือ สัดส่วนหนี้สินต่อทุน ที่หลายท่านพอเห็นสัดส่วนหนี้สินของบริษัทสูงๆแล้ว ก็ขยาดซะแล้ว!!(ผมเชื่อว่าคิดแบบนี้กันเยอะเลย)..แต่การทำธุรกิจมีมันมีหลายมิติ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผบห.ครับ ..ดังนั้นในความคิดผมไม่ควรมองD/Eเพียงมิติเดียวแล้วหวาดกลัว ..ควรมองรายละเอียดอื่นๆประกอบด้วย เช่น รายละเอียดของหนี้สิน และ ศักยภาพการทำกำไรของบริษัท ผมขอยกตัวอย่าง….

A ลงทุนใน สินทรัพย์100 = หนี้สิน90 + ทุน10
B ลงทุนใน สินทรัพย์100 = หนี้สิน10 + ทุน90
(สินทรัพย์= หนี้สิน + ทุน) ———————————(งบดุล)

จะเห็นว่า A ไม่ค่อยจะเจียมตัวเน้นกู้เงินมาลงทุนซะส่วนใหญ่, แต่ B เน้นการใช้เงินของตัวเองในการลงทุน ..มองๆแล้วBก็น่าจะดีถูกไหมครับ…แต่ลองพิจารณาในกรณีที่เศรษฐกิจเติบโตดี นะครับ
…ถ้าอีก1ปีข้างหน้า สินทรัพย์ที่ไปลงทุนเหมือนๆกันของAและBเพิ่มขึ้นสัก 20%ครับ และทั้ง2เกิดตัดสินใจขายสินทรัพย์นี้ไป(เพื่อให้เข้าใจง่ายผมไม่คิดรายละเอียดพวกภาระเงินกู้ ภาษี ฯลฯ)จะเกิดอะไรขึ้นครับ
Aขายได้ตังมา120 – คืนเงินกู้ไป90 = เหลือ30 คิดเป็นGrowth 200%ของเงินที่ลงไปตอนแรก(10)
Bขายได้ตังมา120 – คืนเงินกู้ไป10 = เหลือ110 คิดเป็นGrowth 22%ของเงินที่ลงไปตอนแรก(90)
***ถ้าเราจะเอาเงินไปร่วมไปลงทุนในบริษัทสักบริษัทนึง..เราจะชอบการเติบโตของเงินที่เราลงทุนแบบไหนครับ?^_^ แบบนี้แหละครับที่เขาเรียกว่า High Risk High Return ..ไม่ใช่ไปเล่นหุ้นHigh Risk เช่น หุ้นปั่นเจ้าลากแล้วจะ High Return นะครับ

จากตัวอย่างง่ายๆข้างต้น จะเห็นว่า หากเรารู้จัก งบดุลบ้าง และ เข้าใจRatioเพิ่มสักหน่อย…รู้ว่าบริษัทที่เราไปลงทุน มีโอกาสเติบโตตามทิศทางเศรษฐกิจสักนิด …เราจะเห็นมีโอกาสอะไรๆอีกมากมายเลยทีเดียวครับ!!
ปล.ตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ดังนั้นในการลงทุนจริงๆควรพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆเพิ่มเติมด้วย เพราะ ระดับหนี้สินในอีกมิตินึง คือความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของบริษัทครับ

งบการเงิน(ตอนที่3)งบกำไร-ขาดทุน
POSTED BY ENERGY_EAK ⋅ JULY 26, 2011 ⋅ 2 COMMENTS
ถ้าพูดถึงงบการเงินที่มีคนชอบดูกันมากที่สุด ผมมั่นใจเลยว่า ..งบกำไรขาดทุน ..เป็นคำตอบที่ทุกคนต้องการจะเห็น….ให้ไปในทางที่ดีมากที่สุด …และ ใครเชียวชาญการวิเคราะห์งบการเงิน..แค่งบนี้งบเดียวก็ถือซะว่า แทบจะบินได้แล้วครับ ..ลองติดตามต่อนะครับ ว่ามันสำคัญยังไง!!

โครงสร้างของกำไรขาดทุนคร่าวๆประกอบด้วย
รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไรสุทธิ(ขาดทุนสุทธิ) <————(งบกำไรขาดทุน)

ดูสิครับโครงสร้างมันง่ายมาก และยั่วยวน ในการที่จะให้เราเปิดดู…เพราะ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการลงทุนคงหนีไม้พ้นความสามารถในการทำกำไรของบริษัท รึ มีใครจะบอกว่าชอบที่จะลงทุนไปแล้ว..ธุรกิจขาดทุนมั่งอะครับ(คงไม่มี)

ปีเตอร์ ลินซ์ บอกว่า..
กำไรจะเพิ่มได้ ประกอบด้วยกฎ5ข้อ(ดูเป็นพฐ.ได้เลยครับ)
1)ขายของได้มากขึ้นในตลาดเก่า
2)ขยายเข้าสู่ตลาดใหม่
3)ลดต้นทุนสำเร็จ
4)ขึ้นราคาสินค้า
5)ตัดส่วนที่ขาดทุนทิ้งไปได้(เช่นบริษัทย่อยที่ผลประกอบการแย่ๆ)

…ดังนั้นหากบริษัทไม่มีความสามารถในการทำให้กำไรเพิ่ม ..แทบที่ไม่ต้องจะมาคุยกันประเด็นอื่นกันต่อเลยครับ …แต่อย่างไรก็ดีอย่าลืมว่า งบการเงินบอกเราได้แค่ในอดีตไปทำอะไรมา คำว่าทำกำไรเพิ่มขึ้นจะต้องประเมินทางธุรกิจประกอบไปด้วยครับ
…ยิ่งหากเรามองเพียงมิติเดียว งบกำไรขาดทุน จะบอกเราได้แค่ Gross(กำไรขั้นต้น), NPM(กำไรสุทธิ), รายได้, ต้นทุน และ อื่นๆ …ถ้าต้องการแค่นี้…หาอ่านเอาตามบทวิเคราะห์หรือเอกสารสรุปเอาก็ได้ครับ ไม่ต้องเสียเวลามาโหลดงบเปิดดูครับ

…แต่หากเราสนใจในตัวบริษัทไหนมากๆ ผมแนะนำว่าลองมองมิติให้มากกว่านั้นดูครับ เช่น ดูงบกำไรขาดทุนกับทิศทางเศรษฐกิจควบคู่กันไป เช่น

A รายได้ 100 – ต้นทุน 90 = กำไร 10
B รายได้ 100 – ต้นทุน 50 = กำไร 50

สมมุติให้A และ Bทำอะไรเหมือนๆกันจะเห็นว่า..
(กำไรก่อนภาษี)
Aท ำกำไรก่อนภาษีได้เพียง 10%
และ B ทำกำไรถึง 50%

ดูแล้วศักยภาพในการทำกำไรของ Bจะดีกว่า Aมากๆ…โดยปกติราคาในตลาดของก็จะรองรับศักยภาพตรงจุดนี้ของBแน่นอน(มองมิติเดียว)

…แต่ลองดูกันนะครับถ้าในกรณีที่ทิศทางเศรษฐกิจเติบโต สัก20%(บริษัทเติบโต) และต้นทุนเพิ่มขึ้นสัก10%(ปกติก็มาพร้อมๆกันอยู่แล้ว)..จะเกิดอะไรขึ้น!!

A รายได้ 120 – ต้นทุน 99 = กำไร 21
B รายได้ 120 – ต้นทุน 55 = กำไร 65
เห็นไหม!!… A เติบโต 110% ..แต่B เติบโตเพียง30%
เป็นไงล่ะครับ!! แม้งบกำไรขาดทุนจะบอกแค่อดีต..แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะประเมินอนาคตไม่ออกจากการ ดูงบกำไรขาดทุน..ซะทีเดียวนะครับ…เพียงแค่เราเข้าใจมิติของมันให้มากขึ้นเท่านั้น!! ^__^

….กรณีที่ผมยกไป…อาจจะเป็นเสน่ห์อย่างอย่างนึงของบริษัทขนาดเล็ก …ยิ่งหากบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันซ่อนอยู่(เล็กพริกขี้หนู)..หรือ.สามารถแย่งพื้นที่ในตลาดมาครองได้มากขึ้นบ้าง..การเติบโตก็จะยิ่งมากขึ้นกว่าทิศทางเศรษฐกิจโดยปกติ(มีเยอะแยะครับ…ที่มันไปพรวดๆนั่นแหละไม่ต้องสงสัย!!^^) ..อะไรแบบนี้แหละครับ..จะแตกต่างจากบริษัทใหญ่ๆที่ครองMarket Share สูงๆ..บางทีมันโตยากครับ(ที่บางคนอาจเคยมีความรู้สึกว่า ซื้อบริษัทใหญ่ๆบางบริษัทแล้วราคามันไม่ค่อยไป..หรือโตสู้ตัวเล็กๆไม่ได้ก็เพราะแบบนี้แหละครับ…คงไม่ใช่เพราะหุ้นตัวเล็กๆราคาถูก..แล้วคนชอบเก็งซะทีเดียวหรอกครับ)

***งบกำไรขาดทุนเป็นส่วนที่สำคัญ ควรดื่มเกินวันละสองขวด ไม่ต้องสังเกตุคำเตือนใดๆทั้งสิ้น!! ^___^

งบการเงิน(ตอนที่4ตอนสุดท้าย)งบกระแสเงินสด
POSTED BY ENERGY_EAK ⋅ JULY 30, 2011 ⋅ LEAVE A COMMENT
“มีหลายคนคิดว่ากำไรคือกระแสเงินสด..ซึ่งความจริงแล้วคงไม่ใช่“
มีหลายครั้งที่งบกำไรขาดทุนได้ทำการบันทึก..แต่เงินสดไม่ได้เข้าบริษัทในขณะนั้น ….ปัจจุบันผมใช้งบ กระแสเงินสด ช่วยในการมองพฤติกรรมของบริษัท …หลายครั้งพบเจอว่าบริษัทกำลังทำอะไรที่จะส่งผลต่ออนาคต อันใกล้….ลองดูโครงสร้างของงบกระแสเงินสดกันครับ ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงในเงินสด = กระแสเงินสดจากกำไร + เงินสดจากแหล่งอื่น – การใช้เงินสดในรอบนั้นๆ ——(งบกระแสเงินสด)

อาจจะบอกได้ว่า กระแสเงินสด แปรผันตาม
1)การดำเนินงาน
2)การซื้อขายสินทรัพย์ซึ่งหมายถึงกิจกรรมการลงทุน
3)การเปลี่ยนแปลงหนี้สิน หรือ หุ้น หรือ กิจกรรมทางการเงินอื่นๆ

ลองคิดดูสิครับ..ถ้าบริษัทที่เราลงทุน จะขยายงาน รึไปทำอะไรที่มีโอกาสจะเติบโต บริษัทต้องใช้เงินสดๆเป็นตัวขับเคลื่อนสภาพคล่องในการลงทุน….เอาง่ายๆเหมือนเรามีตังในกระเป๋าอยู่แค่100บาท..แต่มีโอกาสจะได้เงินมาอีกใน2-3วัน จะไปนัดแฟนทานข้าววันนี้หรืออีก3วันอะครับ? วันนี้คงเอาแค่ใช้จ่ายประคองตัวเองไปก่อนถูกไหมครับ …ความพร้อมอะไรแบบนี้แหละ….งบกระแสเงินสดจะบอกเรา หรือ แม้แต่เช่น…

(ตัวอย่างจริง)
กรณีที่อยุ่ดีๆบริษัทเก็บเงินลูกค้าไม่ได้ มีงานแล้วเสร็จแต่ยังไม่ได้เก็บเงิน โผล่ขึ้นมา…การที่มองจากงบดุล จะเห็นไม่ชัด…เพราะงบดุลรวมทุกอย่างและแสดงถึงผลการเติบโตของกรณี้นี้ไม่ชัดเจน ….พอสอบถามไปทางบริษัทพบว่า บริษัทกำลัง ลงทุนร่วมกับลูกค้ารายใหญ่ในอนาคต แต่ต้องออกตังตัวเองไปก่อน(อ้าว!!..แบบนี้ก็ มีเรื่องสอบถามต่อมากมายเลย)…อย่างในกรณีตัวอย่างนี้ มองภาพออกมาทั้ง บวกและลบ …

เนื่องจากงานที่ทำในปัจจุบัน(ที่ยังเก็บตังไม่ได้)..ได้บันทึกลงในงบกำไรขาดทุนเรียบร้อยแล้ว(แสดงไปแล้ว) …การที่เป็นแบบนี้แสดงว่า เมื่อมีการเริ่มทำงานร่วมกันจริงๆ รายได้บางส่วนจะหายไปและจะทดแทนด้วยงานที่ทำร่วมกันแทน…ทำให้สามารถประเมินได้ว่าในอนาคต แม้บริษัทจะเติบโตเพราะการลงทุนใหม่ร่วมกัน แต่มีโอกาสเกิดคอขวดของรายได้สูง(รู้ก่อนได้เปรียบ)

งบกระแสเงินสดยังบอกอะไรอีกหลายอย่าง เพราะหลายบริษัทใช้งบกระแสเงินสด ในการตั้งงบประมาณของปีถัดไป

งบกระแสเงินสดบอกถึงความสามารถในการแปลงลูกหนี้เป็นเงิน และ บอกถึงความสามารถในการชำระหนี้สินได้

ตอนนี้สั้นไปนิดนึง…แต่อย่างไรอ่านมาถึงขนาดนี้แล้วเชื่อว่าเพื่อนๆที่เพิ่งลองอ่านจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย…ลองฝึกดูงบการเงินเล่นๆกันดูนะครับ ^_^…ผมเองก็ยังไม่เก่ง(จับฉ่าย)..เจอกันก็ทักทายแลกเปลี่ยนความรู้กันได้นะครับ.

PE Ratioบันไดของการลงทุน

← PE Ratioบันไดของการลงทุน (ภาค 1) →
กระบี่ที่ใจ
Posted on February 5, 2010 by TVI MOD
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วคุณวิบูลย์ชวนออกนอกเรื่องหนักๆ คราวนี้มาคุยกันเรื่องสบายๆกันสักพักเพื่อพักสมองกันหน่อย แล้วค่อยกลับไปลุยเรื่องหนักๆ กันต่อ ผู้อ่านท่านใดกำลังติดตามอย่างเมามันอยู่ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ
ในวงสนทนาต่างๆ มักจะเปรียบเทียบรูปแบบการลงทุนทั้งแบบเทคนิคเคิลและแบบพื้นฐานตามสำนวน กำลังภายใน แบบเทคนิคเคิลมักจะต้องว่องไวเปรียบได้กับฝ่ายกระบี่ ส่วนแบบพื้นฐานและแบบเน้นมูลค่านั้นเปรียบได้กับลมปราณซึ่งไปแบบสุขุมนุ่ม ลึก

จอมยุทธ์ทั้งสองสำนักที่ประสบความสำเร็จได้นั้นต่างก็จะต้องมีกระบี่อยู่ที่ ใจทั้งสิ้น จอมยุทธ์ระดับเริ่มต้นอาจจะยังมีไม่เต็มที่ หรือบางท่านไม่มีเอาเสียเลย
กระบี่ที่ใจที่ผมว่านี้คือความฉลาดทางอารมณ์หรือ Emotional Quotient ก็ EQนั่นเองครับ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าเรื่องความฉลาดทางวิชาการหรือ Intelligent Quotient, IQ เสียด้วยซ้ำ เพราะถ้าIQสูงก็ไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป คนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควรต้องเห็นด้วยกับผมแน่ แต่คนที่EQสูงมักจะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จมากกว่า ทั้งในปัจจุบันและในอดีต
ในอดีตผู้ที่เป็นใหญ่ เป็นกษัตริย์ เป็นแม่ทัพ เป็นผู้ที่กุมใจไพร่พลและประชาชนทั้งปวงนั้นคือผู้ที่มี EQ สูงทั้งสิ้น ส่วนผู้ที่ IQสูงนั้นมักเป็นแค่กุนซือ ที่ปรึกษา ลองนึกถึง เล่าปี่ลูกคนทอเสื่อขาย กับจอมปราชญ์จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) เป็นตัวอย่าง
เมื่อไม่นานมานี้นักวิชาการชื่อ Daniel Goleman ได้ติพิมพ์หนังสือเรื่อง Emotional Intelligent โดยให้คำจำกัดความของEQไว้ว่าคือ “ความสามารถในการมีความรู้สึกและอารมณ์ร่วมกับผู้อื่น มีความสามารถในการรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง สามารถอดกลั้น อดทน มีวินัย และมีความสามารถในการคบหากับคนอื่นหรือ Human Skill ซึ่งหากแยกเป็นข้อๆ จะต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้
1. รู้จักและตระหนักได้ถึงอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองหรือมีความสามารถในการรับรู้และระมัดระวังตนเอง
2. จัดการกับอารมณ์ความรู้สึกของตนเองได้
3. รู้จักจูงใจตนเอง กล่าวคือ รู้จักที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนเองโดยชักจูงให้ตนเองทำในสิ่งที่ถูก ที่ควรได้
4. รู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น
5. มีศิลปะในการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น กล่าวคือ รู้และเข้าใจที่จะปฏิบัติต่อใคร อย่างไร ได้อย่างถูกกาลเทศะ
คนที่รู้และเข้าใจความรู้สึกของตนเองนั้นจะมีความสามารถในการนำชีวิตของตน เองให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น มีการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล และหากจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ดีแล้ว จะเป็นผู้เครียดและท้อแท้สิ้นหวังน้อยกว่าผู้อื่น เพราะรู้จักวิธีที่จะหลุดพ้นจากความรู้สึกที่ไม่พึงปรารถนาได้
สำหรับการลงทุนเองก็เช่นกัน เพราะตลาดหุ้นขึ้นๆ ลงๆ ตามอารมณ์ของผู้เล่นส่วนใหญ่ มันเป็นเสมือนการโหวตเสียงในระยะเวลาสั้นๆ แต่ในระยะยาวแล้วมันเป็นเครื่องชั่งน้ำหนักของกิจการนั่นเอง ดังนั้นหากเราควบคุมอารมณ์ความรู้สึกต่อของเราในระยะเวลาสั้นๆ ได้เราจะได้เห็นว่าในระยะยาวแล้วเครื่องชั่งจะชั่งน้ำหนักว่าบริษัทไหนมี น้ำหนักดี บริษัทไหนโกงน้ำหนัก
จากคุณสมบัติสำคัญของผู้มี EQนั้น เราจะเห็นได้ว่ามีข้อหนึ่งที่ต้องรู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น และนั่นคือคุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่ง เมื่อผู้คนกำลังหมกมุ่นไล่หุ้นกันอย่างบ้าคลั่ง ไร้เหตุผล เราต้องรู้และควบคุมไม่ให้เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว และคอยหาโอกาสทองจากสถานการณ์นั้น จังหวะที่ผู้คนแตกตื่นขายขายหุ้นทิ้งอย่างไร้เหตุผล เราต้องควบคุมตัวเราให้มั่นคง และเช่นเดิมหาโอกาสซื้อของดีราคาถูก ผมเองชอบสถานการณ์แบบนี้ที่สุดเลย ขอบอก!!!
เรื่อง IQ นี้มันเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับคุณตั้งแต่เกิด เลือกไม่ได้ แต่ EQ นั้นเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนเป็นประจำและอดทนถึงจะเกิดขึ้นได้
Warren Buffett กล่าวว่า ‘ผลสำเร็จของการลงทุน ไม่ได้เป็นสัดส่วนกับ IQ แม้แต่น้อย’ และมันเป็นสัดส่วนกับอะไรละครับ?
คำตอบสำหรับผมคือ
๐คุณควบคุมให้ตัวเองศึกษาธุรกิจของบริษัทที่คุณจะลงทุนให้ได้อย่างทะลุปรุ โปร่งหรือไม่
๐คุณควบคุมให้ตัวเองอดทนรอที่จะซื้อหุ้นบริษัทดีๆ ที่คุณศึกษามาอย่างทะลุปรุโปร่งในตอนที่ราคาลดกระหน่ำได้หรือไม่
๐คุณควบคุมให้ตัวเองอดทนรอที่จะให้บริษัทของคุณสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น และสะท้อนออกมาได้หรือไม่
๐คุณมีวินัยพอที่จะไม่ทำอะไรที่เสี่ยงๆ แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ได้หรือไม่
๐คุณทนเห็นหุ้นของคุณอยู่นิ่งๆ แต่หุ้นอื่นวิ่งแซงไปหลายช่วงตัวได้หรือไม่
๐ และ ฯลฯ
เรื่องวินัยนั้นเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการลงทุนครับ Warren Buffett เคยถูกเพื่อนๆถ้าพนันว่า หากเขาตี hold in one ไม่ได้ เพื่อนๆ จะจ่ายให้ 100 USD แต่ถ้าหากฟลุ้คตีได้เขาต้องเสียให้เพื่อนๆ 10 USD Buffett บอกว่าคิดแล้วมันไม่ควรรับข้อเสนอนี้ แม้ว่าความเสี่ยงจะต่ำ แต่โอกาสในการตี Hold in one ได้มันก็มี วิเคราะห์ไม่ได้ วัดดวงลูกเดียว ฉะนั้นไม่เอาดีกว่า เพราะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ยังยอมได้ สักวันคงจะเผลอทำเรื่องใหญ่ๆ เข้าจนได้
ครับ…ผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนที่ผมยกมานี้ เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก และรักษาวินัยอย่างเคร่งครัด แม้โอกาสที่จะได้เงินสูงมาก(Buffett เป็นคนงกมากครับ ลูกยืมเงินค่าจอดรถ 20USDแกยังให้คืนเงินแกเลย) แต่ก็ไม่ยอมเสี่ยง เพราะจะทำให้เสียนิสัย แต่เราๆ ท่านๆ ล่ะ รักษาวินัยหรือรักษากระบี่ที่ใจของคุณให้แหลมคมได้ดีอยู่หรือเปล่า–จบ–

–กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 10 – 16 มิถุนายน 2548–

← กระบี่ที่ใจเปิดตำนาน…ตีแตก →
บันไดของการลงทุน (ภาค 1)
Posted on February 5, 2010 by TVI MOD
คราวที่แล้วคุณมนตรีเขียนบทความแนวนิยายกำลังภายในให้อ่านกัน อาทิตย์นี้จึงขอนำเรื่องเบาๆ สบายๆ เกี่ยวกับการลงทุนมาเล่าให้ฟัง เพื่อให้เข้าบรรยากาศ อาจจะนอกเรื่องหุ้นไปสักหน่อย คงไม่ว่าอะไรกัน
สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันกระเตื้องขึ้นมามาก เมื่อเทียบกับช่วงวิกฤติเศรษฐกิจลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อเจ็ดแปดปีที่แล้ว จีดีพีเพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานลดลง ประชาชนมีรายได้มากขึ้น ขณะเดียวกันผู้คนเริ่มใช้จ่ายมากขึ้น อัตราการออมของคนไทยเริ่มลดลง มีการกู้หนี้ยืมสินมากขึ้น ของฟุ่มเฟือยหลายอย่างในสมัยก่อนกลายเป็นของจำเป็นในชีวิตปัจจุบัน เช่น รถยนต์ ทีวีจอแบน หรือแม้กระทั่ง โทรศัพท์มือถือก็กลายเป็นมาตรฐานการดำรงชีพของครอบครัวไทยไปเสียแล้ว

ถ้าท่านผู้อ่านสังเกตดูคนรอบๆ ข้างในสังคมปัจจุบันจะพบว่า มีผู้คนเป็นจำนวนมากที่นิยมใช้”บัตรเครดิต” ในการชำระสินค้า ถึงแม้จะเป็นสินค้าที่มีมูลค่าไม่มากนัก เช่น การซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต หรือ การรับประทานอาหารนอกบ้าน รวมทั้งมีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งที่นิยมใช้”บัตรเงินผ่อน” ในการซื้อสินค้าที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ทีวี ตู้เย็น แอร์ หรือ เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้าน
สภาวะเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับครอบครัวที่มีรายได้น้อยเพียงอย่างเดียว ครอบครัวที่มีรายได้มากก็ประสบกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน
จะเห็นว่ามีหลายครอบครัวมีเงินเดือนสูง มีบ้านหลังใหญ่ มีรถหลายคัน แต่ใช้เงินเดือนชนเดือน ไม่มีเงินเก็บ
ขณะเดียวกันหลายครอบครัวอยู่อย่างประหยัดมัธยัสถ์ สามารถเก็บหอมรอมริบนำเงินออมไปฝากธนาคาร หรือนำไปลงทุนอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าฝากธนาคารไว้เฉยๆ จะเห็นว่านิสัยใช้จ่ายเงินของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในการลงทุนของแต่ละคนที่แตกต่างกันอีกด้วย ถ้าเปรียบเทียบการลงทุนเหมือน “การปีนบันได” ที่ต้องเริ่มจากขั้นแรกก่อนที่จะขึ้นไปขั้นต่อๆ ไป เราสามารถแบ่งระดับการลงทุนของแต่ละคนได้ 7 ระดับดังต่อไปนี้
ระดับศูนย์: ไร้ระดับ (Non-Existent)
คนที่อยู่ในขั้นนี้เรียกว่า ไม่มีความรู้เรื่องการเงินเอาเสียเลย ไม่มีทั้งเงินเก็บและเงินลงทุนแต่อย่างใด เรียกว่ามีเงินเท่าไหร่ก็ใช้หมด ถ้าถามพวกเขาว่าพวกเขามีปัญหาอะไร จะได้คำตอบว่าเพราะหาเงินได้น้อยเกินไป คนกลุ่มนี้มักจะบอกว่าถ้าพวกเขาหาเงินได้มากกว่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหาที่ เกิดขึ้นได้ จริงๆ แล้วพวกเขาไม่เข้าใจว่า ปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นเพราะหาเงินได้ไม่พอ แต่ปัญหาเกิดจากนิสัยการใช้จ่ายเงินเกินตัวของตนเองมากกว่า
ระดับหนึ่ง: ช่างกู้ (Borrower)
ดูๆ ไปแล้ว พวก”ช่างกู้” มักจะมีสถานะทางการเงินแย่กว่าพวก”ไร้ระดับ”เสียอีก คนอยู่ในระดับนี้มักจะใช้เงินที่หาได้ไปซื้อนู้นซื้อนี่จนหมด เรียกว่าใช้เงินเดือนชนเดือน ถ้ามีเงินไม่พอใช้ วิธีแก้ปัญหาของชนกลุ่มนี้ก็คือ “กู้เพิ่ม” ถ้าสมัครเครดิตการ์ดได้อีกหลายๆ ใบเพื่อเอาเงินบัตรใหม่มาหมุนจ่ายหนี้บัตรเดิมได้ ดูจะเป็นวิธีการที่วิเศษสุดๆ รวมทั้งการพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ หรือเงินกู้ยืมจากญาติพี่น้องก็เป็นทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหาทางการเงินของ คนกลุ่มนี้ ไม่จำเป็นว่า ปัญหาจะเกิดเฉพาะกับผู้มีรายได้น้อยเท่านั้น คนที่มีรายได้สูงแต่หาเงินได้ไม่พอใช้จ่ายก็อาจจะตกอยู่ในสภาพหนี้ท่วมหัว ได้เช่นเดียวกัน
พวก”ช่างกู้”มักจะพบว่าตนเองตกอยู่ในวังวนของหนี้สินเมื่อไม่มีหนทางให้กู้ เพิ่มเติมได้อีกแล้ว เมื่อถึงจุดนั้น ส่วนใหญ่จะหมดหวังและจบลงในสภาพฐานะทางการเงินล้มเหลว ถ้าคนกลุ่มนี้ไม่มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงนิสัยการใช้จ่ายของตนเองแล้ว โอกาสที่จะ”ล้มละลาย”มีอยู่สูงทีเดียว
ระดับสอง: ช่างเก็บ (Saver)
“ช่างเก็บ” มักจะเก็บออมเงินที่หาได้ในแต่ละเดือนอย่างสม่ำเสมอ เงินที่เก็บได้ก็มักจะฝากเอาไว้ในธนาคารที่มี “ความเสี่ยงต่ำ’ ถึงต่ำที่สุด เช่น บัญชีออมทรัพย์ หรือ บัญชีเงินฝากประจำ คนกลุ่มนี้มักจะเก็บเงินเอาไว้เพื่อ “ใช้จ่าย” มากกว่านำไป “ลงทุน” เช่น เก็บเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ หรือ ซื้อเครื่องเสียงชุดใหม่ ฯลฯ
พวกเขาไม่ชอบ”ความเสี่ยง” แม้แต่นิดเดียว วิธีการลงทุนที่เยี่ยมยอดของคนกลุ่มนี้ก็คือ การซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ หรือฝากเงินไว้กับธนาคารที่เขามั่นใจได้ว่าเงินต้นไม่มีวันลดลง ซึ่งในความเป็นจริง พวกเขาไม่เข้าใจว่าผลตอบแทนจากเงินฝากธนาคารที่แท้จริงนั้นติดลบ เพราะอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันสูงกว่าดอกเบี้ยที่ได้รับ ในระยะยาวแล้วเงินออมที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใน อนาคต เมื่อถึงคราวเกษียณ พวกเขาอาจจะต้องพึ่งพาลูกหลาน หรือเงินบำเหน็จบำนาญในการเลี้ยงชีพเป็นหลัก
ระดับสาม: นักลงทุนผู้ล้าหลัง (Passive Investor)
นักลงทุนประเภทนี้ รู้สึกว่าตนเองมีความจำเป็นจะต้องลงทุนบ้าง ส่วนใหญ่มักจะลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือลงทุนในกองทุนรวมอื่นๆ พูดได้ว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนฉลาด มีการศึกษาดี ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม”คนชั้นกลาง”ของประทศ แต่ถ้าพูดถึงเรื่อง”การลงทุน”แล้ว คนกลุ่มนี้เรียกว่าแทบจะไม่มีความรู้เรื่องการเงินแต่อย่างใดหรือถ้ามีก็มี น้อยมาก
นักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทหนึ่งเรียกว่า พวกชอบอยู่ในกระดอง (Gone-into-a-shell Passive Investor) คือ กลุ่มคนที่มักจะคิดอยู่เสมอว่า ตนเองไม่มีวันที่จะเข้าใจเรื่องเงินๆ ทองๆ ได้
คำพูดส่วนใหญ่ของคนในกลุ่มนี้ที่มักจะได้ยินก็คือ…
“ผมหรือดิฉันไม่เก่งเรื่องตัวเลข, มันยุ่งยากเกินไป, บริษัทและผู้จัดการกองทุนดูแลผลประโยชน์ได้ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องห่วง, ฉันยุ่งจนไม่มีเวลาคิดเรื่องลงทุน ฯลฯ”
ทั้งหมดดูเหมือนจะเป็นเพียงคำแก้ตัวเพื่อให้ตัวเองปลอดจากความรับผิดชอบใน เรื่องเงินของตนเองซะมากกว่า
ในบทความคราวหน้าจะกล่าวถึงนักลงทุนในขั้นต่อๆ ไป ว่าแต่ว่าอ่านมาจนถึงตอนนี้ ท่านพอจะทราบหรือยังว่าท่านอยู่ระดับไหนของ ‘บันไดของการลงทุน’?–จบ–

–กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 17 – 23 มิถุนายน 2548–
← เปิดตำนาน…ตีแตกบทเรียนการลงทุน 1 →
บันไดของการลงทุน (2)
Posted on February 5, 2010 by TVI MOD
บทความที่แล้วกล่าวถึงบันไดของการลงทุนสามารถแบ่งได้ 7 ระดับ ซึ่งได้อธิบายถึงระดับที่ศูนย์จนถึงระดับที่สามดังนี้

ระดับ ศูนย์: ไร้ระดับ (Non-Existent)
คนที่อยู่ในขั้นนี้เรียกว่าไม่มีความรู้ทางการเงินเลย มีเงินเท่าไหร่ก็ใช้หมด ไม่มีทั้งเงินเก็บหรือเงินลงทุนแต่อย่างใด

ระดับหนึ่ง: ช่างกู้ (Borrower)
คนอยู่ในระดับนี้มักจะใช้เงินที่หาได้ไปใช้จ่ายจนหมด เรียกว่าใช้เงินเดือนชนเดือน ถ้ามีเงินไม่พอใช้ วิธีแก้ปัญหาของคนกลุ่มนี้ก็คือ “กู้” พวก”ช่างกู้”มักจะจบลงในสภาพฐานะทางการเงินล้มเหลวและ โอกาสที่จะ”ล้มละลาย”มีอยู่สูงทีเดียว
ระดับสอง: ช่างเก็บ (Saver)
“ช่างเก็บ”มักจะเก็บออมเงินที่หาได้ในแต่ละเดือนอย่างสม่ำเสมอในบัญชีเงิน ฝากธนาคาร ส่วนใหญ่มักจะเก็บเงินเอาไว้เพื่อ”ใช้จ่าย”มากกว่านำไป”ลงทุน” เช่น เก็บเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ หรือ ซื้อเครื่องเสียงชุดใหม่ ฯลฯ
ระดับสาม: นักลงทุนผู้ล้าหลัง (Passive Investor)
คนกลุ่มนี้เป็นคนฉลาด มีการศึกษาดี ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม”คนชั้นกลาง”ของประทศ แต่ถ้าพูดถึงเรื่อง”การลงทุน”แล้ว คนกลุ่มนี้เรียกว่ามีความรู้เรื่องการเงินน้อยมาก
คราวที่แล้วได้กล่าวถึงนักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทที่หนึ่งเรียกว่า พวกชอบอยู่ในกระดอง (Gone-into-a-shell Passive Investor) คือ กลุ่มคนที่มักจะอ้างอยู่เสมอว่าตนเองไม่มีวันที่จะเข้าใจเรื่องเงินๆ ทองๆ ได้ คำแก้ตัวส่วนใหญ่ของคนในกลุ่มนี้คือ “ไม่มีเวลา”

สัปดาห์นี้ จะกล่าวถึงรายละเอียดของนักลงทุนผู้ล้าหลังเพิ่มเติม
นักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทสอง คือ พวกที่ชอบคิดว่า ‘ไม่มีทางทำได้’ (It-Can’t-Be-Done Passive Investor) นักลงทุนประเภทนี้เข้าใจว่ามีทางที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่า ดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคาร แต่การที่จะทำอย่างนั้นได้อยู่นอกเหนือความสามารถของตนเองและคนอื่น คนที่จะลงทุนได้ประสบความสำเร็จในความเห็นของคนกลุ่มนี้จะต้องเป็นคนที่มี “พรสวรรค์” หรือไม่ก็เป็นคนที่”โชคดี”ที่รู้ข่าววงใน หรือไม่ก็ต้องเป็น”ผู้เชี่ยวชาญ”ทางการเงินเท่านั้น
พวกเขามักจะอ้างว่า ที่คนอื่นรอบๆ ตัวประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้นเป็นเพราะ”โชค”มากกว่า”ฝีมือ” ส่วนใหญ่มักจะพูดประชดประชันให้คนอื่นหมดกำลังใจ และพยายามให้มาอยู่เป็นพวกเดียวกัน พวกเขากลัวที่จะเห็นคนอื่นได้ดีกว่า เลยพยายามลากคนอื่นๆ รอบตัวไม่ให้เด่นกว่าตนเอง ส่วนใหญ่จะวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น รวมทั้งหา”เหตุผล”ที่จะบอกว่าทำไมเราถึงไม่สามารถประสบความสำเร็จในการลงทุน ได้ และมักจะโน้มน้าวให้คนอื่นเชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาบอกนั้นเป็นความจริง
ถ้าเคยคุยกับคนเหล่านี้มักจะได้ยินว่า “โอ้ย ที่ทำได้นะเป็นเพราะฟลุ้คซะมากกว่า ผมไม่เชื่อหรอกว่าที่คุณบอกน่ะมันจะเป็นจริง ใครถือหุ้นไว้ไม่ยอมขายก็บ้าแล้ว ใครๆ เขาก็ซื้อมาขายไปทั้งนั้นหละ ผมไม่เชื่อหรอกว่าถือหุ้นนานๆ จะได้กำไร สักวันราคาก็กลับมาเท่าเดิม รีบๆ ขายไปเถอะ เดี๋ยว ‘ขาดทุน’ จะหาว่าไม่บอก”
สำหรับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่ามักจะเจอกับสถานการณ์เช่นนี้อยู่บ่อยๆ ถ้าท่านได้พบได้เจอนักลงทุนประเภทนี้ ขอแนะนำให้อยู่ห่างๆ ไม่ต้องตอบโต้หรือ พยายามให้เขาเข้าใจในสิ่งที่คุณทำ อย่าท้อถอยกับคำสบประมาททั้งหลายที่ได้รับ จงมุ่งมั่นในแนวทางการลงทุนของคุณต่อไป เมื่อไหร่ที่คุณประสบความสำเร็จ เขาจะเข้าใจคุณเอง
นักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทสุดท้ายคือ นักลงทุนผู้ตกเป็น ‘เหยื่อ’ (Victim Passive Investor)
เช่นเดียวกับสองพวกแรก นักลงทุนประเภทนี้เป็นกลุ่มคนที่ฉลาด มีการศึกษา มีหน้าที่การงานดี แต่เมื่อพูดถึงการลงทุนแล้ว นักลงทุนประเภทนี้ไม่มี ‘หลักการ’ หรือ ‘กฎ’ ในการลงทุนแต่อย่างไร มักจะชอบซื้อหุ้นตอนราคาสูงเพราะกลัวตกรถไฟ แต่แล้วก็ตกใจขายเมื่อเห็นราคาหุ้นปรับตัวลง
ส่วนใหญ่มากกว่า 90% มักจะขาดทุนในตลาดหุ้น แต่กระนั้นก็ยังไม่เข็ดและพยายามค้นหา”เคล็ดลับ”ในการลงทุนในตลาดหุ้นต่อไป พวกเขามองตลาดหุ้นเหมือน”บ่อนพนัน”ที่ถูกกฎหมาย มีคนได้ก็จะต้องมีคนเสีย รวมทั้งมันน่าตื่นเต้นเร้าใจ มีเรื่องให้ลุ้นได้ทุกวัน
สังเกตดูคนกลุ่มนี้ได้ง่ายๆ ก็คือ ชอบพึ่งพาคนอื่นในการลงทุน มักชอบถามว่า”ตอนนี้ ซื้อหุ้นอะไรดี” หรือ “ตอนนี้ หุ้นตัวไหนน่าเล่น” กลยุทธ์คือ ถ้าถามหลายๆ คนแล้วได้ชื่อหุ้นมาตรงกัน แสดงว่าเป็น”หุ้นที่ดี” ซื้อได้ แต่เมื่อซื้อมาแล้วมักไม่ทราบว่าจะ”ขาย”ตอนไหนดี ส่วนใหญ่จะขายก็เมื่อพบว่าราคาหุ้นลดลงมาต่ำกว่าทุนไปแล้ว
ถ้าสังเกตจะพบว่า วันไหนซื้อหุ้นแล้ว”ขาดทุน”จะเห็นเขาเงียบๆ จ๋อยๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ได้”กำไร” เขาจะป่าวประกาศให้โลกรู้ว่า วันนี้ได้กำไรเท่านั้นเท่านี้
นักลงทุนประเภทนี้มักไม่ค่อยมี”ความอดทน”เท่าไหร่นัก อะไรที่ได้เงินมาง่ายๆ ก็จะรีบกระโดดเข้าไปทันที เช่น หุ้นจอง หรือ หุ้นเก็งกำไรทั้งหลาย พวกเขาอาจจะซื้อขายในเครื่องมือทางการเงินที่ทันสมัย เช่น Cover-Warrant เช่น SCIB-C1 แต่ถ้าถามว่าวอร์แรนท์ชนิดนี้คืออะไร ต่างกับวอร์แรนท์ธรรมดาอย่างไร พวกเขามักจะไม่ทราบว่ามันคืออะไรต่างกันอย่างไร แต่ที่รู้แน่ๆ ก็คือในตลาดกำลัง”เล่น” ตัวนี้กันอยู่
มีผู้รู้บอกเอาไว้ว่า นักลงทุนประเภทนี้พยายามค้นหา”สูตรสำเร็จ”ในการลงทุนเพื่อที่วันหนึ่งเขาจะ ลงทุนได้กำไรทุกครั้ง และจะกลายเป็นมหาเศรษฐีในวันข้างหน้า แต่สิ่งที่พวกเขาลืมก็คือ ลืมที่จะ”คิดด้วยตนเอง”
คราวหน้าจะกล่าวถึงบันไดของการลงทุนอีก 3 ขั้นสุดท้าย ว่าแต่ว่าอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ ในชีวิตประจำวันท่านได้พบเห็นนักลงทุนทั้งสี่ระดับแรกที่กล่าวถึงบ้างหรือ ไม่…–จบ–

–กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 1 – 7 กรกฎาคม 2548–

← บทเรียนการลงทุน 1บทเรียนการลงทุน 2 →
บันไดของการลงทุน (3)
Posted on February 5, 2010 by TVI MOD
คราวที่แล้วได้กล่าวถึงบันไดของการลงทุนใน 3 ระดับแรก บทความอาทิตย์นี้จะอธิบายถึงบันไดของการลงทุนในระดับที่สูงขึ้นอีก 3 ขั้นที่เหลือ
ระดับที่สี่: นักลงทุนอัตโนมัติ (Automatic Investor)
ถ้า ใครมาถึงระดับนี้คงมั่นใจได้อย่างหนึ่งว่า ความสำเร็จในการลงทุนนั้นอยู่แค่เอื้อม และอิสรภาพทางการเงินกำลังรอท่านอยู่

นักลงทุนระดับนี้เข้าใจอย่างชัด แจ้งว่าการลงทุนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในชีวิตปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาเหล่านั้นต่างจากนักลงทุนผู้ล้าหลัง (Passive Investor) ก็คือ นักลงทุนอัตโนมัติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจลงทุนของตนเอง และมีแผนการในการลงทุนระยะยาวที่ชัดเจนในการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายทางการ เงินที่วางไว้

พวกเขาไม่ค่อยสนใจที่จะ”เก็งกำไร”สักเท่าไหร่นัก ถ้าจะเก็งกำไรก็มักจะใช้เงินเพียง 5-10% ของเงินลงทุนเท่านั้น พร้อมทั้งมีกฎตายตัวที่แน่นอนที่จะ”จำกัด”ความเสี่ยงของการเก็งกำไร

ส่วน ใหญ่จะใช้วิธีการลงทุนที่เน้น”ความเรียบง่าย” เช่น ลงทุนระยะยาวในหุ้นพื้นฐานดี หรือซื้อกองทุนที่มีการบริหารงานที่ดี โดยมีโอกาสในการทำผลตอบแทนได้ 10%+ ต่อปี

พวกเขามักไม่ชอบใช้บัญชี มาร์จินในการซื้อขายหุ้น หรือเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ที่ “มืออาชีพ” ชอบใช้กัน แต่พวกเขาลงทุนด้วยแผนการลงทุนอัตโนมัติ เช่น แบ่งเงินส่วนหนึ่งทุกๆ เดือนเพื่อนำไปซื้อหุ้นหรือกองทุน

ขณะที่ผู้ คนส่วนใหญ่มักจะ”เก็บเงิน” ที่เหลือจากการใช้จ่าย เช่น ทำงานได้เงินเดือนประจำ เมื่อเงินเดือนออกก็เริ่มใช้จ่ายไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการกำหนดว่าจะใช้จ่ายรายการไหนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เมื่อถึงสิ้นเดือนมักจะพบว่า เงินเดือนที่ได้รับมานั้นหมดลงพอดี ถึงแม้จะตั้งใจไว้ว่าจะเก็บเงิน แต่ก็มักมีค่าใช้จ่าย “ฉุกเฉิน” ในแต่ละเดือนอยู่เสมอๆ สุดท้ายแล้วก็เก็บเงินไม่ได้สักที

สำหรับนัก ลงทุนระดับนี้จะใช้จ่ายเงินที่เหลือจาก “เงินเก็บ” นั่นคือเมื่อได้รับเงินเดือนจะแบ่งนำไปลงทุนส่วนหนึ่งอย่างสม่ำเสมอทุกๆ เดือน อาจแบ่งเป็นเงินเก็บประมาณ 30-50% ที่เหลือถึงนำไปใช้จ่าย
ระดับ ขั้นของการลงทุนระดับนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความร่ำรวย พวกเขาเข้าใจว่า อิสรภาพทางการเงินไม่ได้เกิดจาก “โชค” แต่เกิดจากความอดทนและการวางแผนทางการเงินที่ดี

ระดับห้า: นักลงทุนผู้ก้าวหน้า(Active Investor)

ในสองระดับสุดท้ายของบันไดของ การลงทุน เป็นระดับที่มีน้อยคนจะไต่มาถึง ซึ่งถ้าถามคนส่วนใหญ่แล้วมักคิดว่าต้องมาถึงสองระดับสุดท้ายแล้วเท่านั้นถึง จะ”รวย” แต่ในความเป็นจริง เพียงแค่มาถึงระดับสี่หรือนักลงทุนอัตโนมัติก็เพียงพอที่ทำให้ท่านมีเงินได้ แล้ว

ก่อนที่จะมาถึงระดับห้าได้ นักลงทุนจำเป็นจะต้องผ่านระดับสี่มาก่อนแล้วเท่านั้น มีตัวอย่างมากมายที่หลายคนอยากจะ”รวย” เพียงชั่วข้ามคืน กระโดดมาที่ระดับห้าอย่างรวดเร็ว เพียงเพราะเห็นหลายๆ คนทำเงินได้อย่างมากมายจากตลาดหุ้น จึงอดใจไว้ใม่ได้ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในความร่ำรวยที่เกิดขึ้น สุดท้ายก็ต้อง”ขาดทุน” จนถึงกับบอกตัวเองว่าจะเลิก”เล่นหุ้น”ไปเลยก็มี

นัก ลงทุนระดับห้าเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การที่จะมาถึงระดับนี้ได้จำเป็นต้องมี”หลักการ”และ”กฎ”ในการลงทุนที่ต้อง ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถึงแม้พวกเขาจะลงทุนในเครื่องมือที่แตกต่างกัน เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรืออัตราแลกเปลี่ยนก็ตาม แต่หลักการและกฎเกณท์ต่างๆ ที่ใช้ ไม่ได้มีความแตกต่างกัน
พวกเขาเข้าใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ และพยายามที่จะทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็สามารถ”จำกัด”ความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างดี ผลตอบแทนจากการลงทุนปีละ 20-100% ถือเป็นเรื่องปกติ สำหรับนักลงทุนระดับนี้

ขณะ ที่คนส่วนใหญ่”ทำงานเพื่อเงิน” แต่นักลงทุนระดับห้า”ใช้เงินทำงาน”อย่างขะมักเขม้น
ระดับหก: นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ (Capitalist)

ระดับขั้นสุดท้ายของนักลงทุนก็คือ Capitalist หรือนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ นักลงทุนระดับนี้เป็นผู้สร้างความเจริญให้กับสังคมและมนุษยชาติ เป็นผู้สร้างงานให้กับคนมากมาย และยกระดับมาตรฐานการครองชีพของคนในโลกให้ดีขึ้น สิ่งที่พวกเขาต้องการก็คือ การที่สิ่งต่างๆ ที่พวกเขาสร้างขึ้นมาจะคงอยู่ตลอดไปถึงแม้พวกเขาจะจากโลกนี้ไปแล้ว มีน้อยคนที่จะมาถึงระดับขั้นนี้ได้ในโลก

ลองนึกถึงฟอร์ด, ร็อคกี้เฟลเลอร์, หรือแม้กระทั่งบิล เกตต์ ซึ่งเป็นผู้ที่แทบจะเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนเราทุกคนในโลกนี้ ด้วยรถยนต์ราคาถูก หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่คนทั่วโลกใช้ในการติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำ วัน

ทั้งหมดของบันไดการลงทุนจัดแบ่งโดย จอห์น เบอร์เล่ย์ (John R. Burley) ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.johnburley.com

จะเห็นว่า บันไดของการลงทุนมีหลายขั้นแตกต่างกันไป แต่การที่จะไปให้ถึงเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ จำเป็นจะต้องมาถึงอย่างน้อยระดับที่สี่ของการลงทุน (Automatic Investor) ทำให้การศึกษาหาความรู้ทางการลงทุนจึงเป็นสิ่งจำเป็น ในปัจจุบันอัตราผลตอบแทนจากการฝากเงินไว้กับธนาคารหรือดอกเบี้ยที่แท้จริงมี ค่าติดลบ การนำเงินไปฝากไว้ในธนาคารเฉยจึงเปรียบเสมือนการที่เงินมีค่าลดลงไปทุกวัน ดังนั้นการหาช่องทางการลงทุนที่ดีกว่าจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาและทดลอง ปฏิบัติ
ว่าแต่ว่า วันนี้ท่านมาถึงระดับสี่ของการลงทุนหรือยัง?–จบ–

–กรุงเทพ ธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 15 – 21 กรกฎาคม 2548–

มูลค่าที่แท้จริง

มูลค่าที่แท้จริง
Posted on February 5, 2010 by TVI MOD
เวลาเราจะซื้อหุ้นกันสักครั้งนั้น ถ้าหากเราไม่คิดอะไรมากและซื้อหุ้นเพื่อขายในราคาที่สูงขึ้น เราคงไม่ต้องศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลอะไรกันมากมาย ฟังนักวิเคราะห์ หาข่าวลือก็พอจะเลือกซื้อหุ้นได้บ้าง แต่ทั้งนี้ไม่สามารถบอกได้ว่าจะได้เงินหรือเสียเงิน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับดวง

วันนี้ ได้คุยกับน้องคนหนึ่ง ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดของโบรกเกอร์แห่งหนึ่ง เจ้าน้องคนนี้แปลกตรงที่ว่า ตัวเองเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือ Value Investor แต่ต้องไปทำงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดที่ต้องคอยเชียร์ซื้อเชียร์ขายหุ้น
เขา เล่าให้ผมฟังว่า เขาต้องซื้อหุ้นขายหุ้นให้กับลูกค้าทุกวัน ซื้อแล้วได้กำไรก็ดีไป ซื้อแล้วขายขาดทุนก็ต้องหาคำปลอบใจลูกค้าทุกครั้งไป เห็นได้ว่าคนที่ลงทุนแบบเลือกหุ้นดีๆ กันจริงๆ จังๆ นั้นหาแทบไม่เจอ ฟังแล้วผมเองก็รู้สึกท้อใจว่าทำไมพวกเราคนไทยจึงนิยมแต่จะทำอะไรที่ง่ายๆ แต่เสี่ยงสูงๆ

สำหรับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้น เท่าที่เห็นก็มักจะรอบคอบในการเลือกกิจการพอสมควร บางคนสนใจในการตรวจสอบข้อมูลบริษัทมากจนละเอียดลออจนใน http://www.thaivi.com มีห้อง “ร้อยคน ร้อยหุ้น” ซึ่งจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นโดยสมาชิกที่สนใจหุ้นบริษัทนั้นๆ เอาไว้หลายบริษัท และพร้อมๆ กับข้อคิดเห็นของสมาชิกที่จัดทำเองและผู้อื่น นับเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่หนึ่ง

ต่อจากนั้นสิ่งที่พวกเขาสนใจต่อมา ก็คือ การหามูลค่าที่แท้จริงหรือ Intrinsic Value ซึ่งเป็นข้อมูลที่เหล่านักลงทุนแบบเน้นคุณค่าต้องการทราบมากที่สุด และเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนเอาการ ทั้งนี้เพราะนักลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้นต้องการที่จะ “มีกำไรเมื่อซื้อ” ถ้าเราซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าเมื่อใด เมื่อนั้นเราจะปลอดภัยเพราะมี “ส่วนต่างความปลอดภัย หรือ Margin of Safety” เพราะอย่างไรราคาต้องวิ่งให้ทันมูลค่าแน่นอน จะช้าหรือเร็วนั้นอีกเรื่องหนึ่ง

สำหรับการคำนวณหามูลค่าที่แท้จริง นั้นเราสามารถคำนวณได้ 3 รูปแบบ แต่ละแบบต้องอาศัยการศึกษาข้อมูลเชิงลึกทั้งสิ้น และแต่ละรูปแบบก็ต้องเลือกใช้กับกิจการในแบบต่างๆ กันและในระยะเวลาคาดหวังที่จะถือหุ้นนั้นๆ ต่างกัน

การคำนวณมูลค่าที่ แท้จริง ด้วยวิธีการ ‘Reproduction Cost of Assets’

วิธีการนี้ต้อง อาศัยข้อมูลในงบดุล เพื่อหามูลค่าทางบัญชีที่แท้จริงของกิจการ กล่าวคือต้องมีการปรับปรุงรายการในงบดุลเสียใหม่ให้เป็นแบบที่เป็นได้ เช่น ค่าความนิยมนั้นบริษัทตั้งเอาไว้สูงเกินจริงหรือไม่ หรือในกรณีล้มละลายนั้นค่าความนิยมนั้นไม่มีมูลค่าเลย เพราะเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ หรือสินค้าคงคลัง เราก็ต้องปรับมูลค่าในกรณีขายออกทันทีว่าจะเหลือมูลค่าเท่าไร หรือบริษัทอาจมีที่ดินที่บันทึกบัญชีเอาไว้ที่มูลค่าเดิมไม่ได้ปรับปรุงใหม่ เราก็ต้องปรับปรุงมูลค่าเพิ่มให้

วิธีการนี้เราจะประเมินมูลค่า โดยไม่สนใจอนาคตของกิจการ ไม่สนใจอดีต ให้ความสำคัญเพียงว่าบริษัทนี้เหลือมูลค่าเท่าไรในตอนนี้ หากมูลค่านั้นสูงกว่าราคามากๆ เราซื้อไว้เมื่อมีการชำระบัญชีใช้หนี้ใช้สินหมดแล้วก็ยังเหลือถึงผู้ถือหุ้น วิธีการนี้เราคุ้นเคยในชื่อ “อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชีหรือ PBV) บริษัทเหล่านี้หาได้มากในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เช่นพวกกิจการโรงกลั่นน้ำมัน โรงงานปิโตรเคมี ฯ

การคำนวณมูลค่าที่แท้จริง ด้วยวิธีการ ‘Earning Power Value’

วิธีการนี้อาศัยข้อมูลในงบกำไรขาดทุนเพื่อหาความสามารถ ในการทำกำไรในอนาคตสั้นๆ ปีสองปี แน่นอนครับเราต้องปรับปรุงรายการในงบกำไรขาดทุนให้สะท้อนภาพการทำกำไรที่แท้ จริงก่อน ต้องตรวจสอบการรับรู้รายได้ ต้นทุนให้ถูกต้องอย่างที่ควรจะเป็น หลังจากปรับปรุงตัวเลขต่างๆ เรียบร้อยแล้วเราจะได้กำไรต่อหุ้นที่ควรจะเป็น

จาก นั้นก็กำหนดอัตราต้นทุนเงินทุนของเรา เน้นนะครับว่าของเราโดยเราเองหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนเท่าไร เช่นต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นนี้ 10% ก็เอา 10% นี้เป็นตัวหารกำไรนั้น เช่น กำไรต่อหุ้นเท่ากับ 0.5 บาทต่อหุ้น ผลตอบแทนที่เราต้องการ 10% เราจะได้ราคาที่เหมาะสมที่ 0.5/0.1 = 5 บาทต่อหุ้น ถ้าราคาหุ้นสูงกว่านี้ เราก็ยังไม่ซื้อ ต้องรอครับ วิธีการนี้จริงๆ แล้วคือการหาราคาต่อกำไรหรือ PE ratio นั่นเองครับ

ใน กรณีนี้คือ PE เท่ากับ 10 เท่านั่นเอง หาก PE สูงกว่านี้ เราว่าแพงไป บริษัทและเวลาที่เหมาะจะใช้วิธีการนี้คือกลุ่มที่กำลังฟื้นตัว และเราเห็นว่าฟื้นแน่ๆ เช่นกลุ่มปิโตรฯ หรือกลุ่มอุตสาหกรรมหนักๆ นั่นแหละครับ

โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนพื้นฐานมักจะใช้ทั้งสองวิธีการ นั่นแหละครับ แต่ทำกันง่ายๆ โดยดูแค่ PBV ประกอบกับ PE ถ้าสองตัวนี้ต่ำๆ แล้วเป็นใช้ได้ จริงๆ แล้วปรับปรุงตัวเลขในงบการเงินสักหน่อยหรืออย่างน้อยตรวจงบการเงินสักหน่อย แล้วค่อยเอาตัวเลขมาใช้ตัดสินใจก็จะดีมาก

การตรวจงบกระแสเงินสดเพื่อ หาเงินสดของกิจการนั้น เราถือเป็นส่วนหนึ่งของ วิธีการ Reproduction Cost of Assets เพราะเงินสดคือสินทรัพย์ นักลงทุนบางท่านชอบหาหุ้นที่มีสินทรัพย์มากๆ แต่ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนมูลค่า ผมก็เห็นว่าใช้ได้ผลดี แต่ถ้าหุ้นใหญ่ไม่ยอมปลดปล่อยมูลค่าออกมาก็ต้องรอกันนานหน่อย หรือบางบริษัทเงินสดมากแต่ไม่ยอมจ่ายปันผลออกมา เก็บเอาไว้หรือไปลงทุนเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่ดีนะครับ ควรให้ผู้ถือหุ้นตัดสินใจเองว่าจะเอาไปลงทุนอะไรที่ได้ผลตอบแทนที่มากกว่า

การ คำนวณมูลค่าที่แท้จริงด้วยวิธีการ ‘Discount Cash Flow’

วิธีการนี้ ค่อนข้างซับซ้อน และต้องอาศัยทฤษฎีทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องมาก อีกทั้งองค์ประกอบและสมมติฐานที่ใช้ในการคำนวณนั้นหากต่างกันเล็กน้อยก็ทำ ให้มูลค่าที่คำนวณได้ต่างกันมากมาย วิธีการนี้เหมาะสำหรับหุ้นของกิจการที่มั่นคง รายได้ กำไรเติบโตสม่ำเสมอ เราจะต้องสามารถคาดการณ์อัตราการเติบโตได้อย่างใกล้เคียง

บริษัท ประเภทเศรษฐกิจดี กำไรดี เศรษฐกิจแย่ กำไรหด ใช้วิธีการนี้ไม่ได้ครับ เพราะจะทำให้การคำนวณตัวเลขผิดพลาดได้มาก วิธีการนี้จึงไม่ค่อยนิยมใช้กัน เพราะซับซ้อน และหาบริษัทดีๆ อย่างว่ามาคำนวณแบบนี้ไม่ค่อยได้

วิธี การคำนวณทั้ง 3 แบบนั้น มีข้อดี และข้อจำกัดแตกต่างกัน เราในฐานะนักลงทุนต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับบริษัทและช่วงเวลา และทั้งยังต้องศึกษาหาความรู้ในด้านการวิเคราะห์งบการเงินเอาไว้ให้มากเพื่อ ป้องกัน “กับดักมูลค่า”

คุณๆ คงว่า พวก Value Investor นี่มันคิดกันอย่างนี้มันจะทันกินหรือ? ก็ต้องบอกว่า ไม่กลัวไม่ทันกิน แต่กลัวไม่ได้กิน หรือ ไม่ชอบไปงานเลี้ยงตอนเขาเลิกกันแล้วครับ เพราะนอกจากไม่ได้กินอะไรแล้วยังแถมต้องอยู่ล้างจาน อีกต่างหาก!–จบ–
บทความที่แล้ว คุณมนตรีได้กล่าวถึงการหามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทที่เราสนใจลงทุนไปอย่าง คร่าวๆ แล้ว ในคราวนี้เราจะมาดูในรายละเอียดของแต่ละแบบว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง

ในส่วนของวิธีการหามูลค่าทรัพย์สินของกิจการ (Reproduction Cost of Asset) นั้น สามารถหามูลค่าทรัพย์สินของกิจการได้สองวิธีคือ
พิจารณาจากงบดุลในงบการเงินของบริษัท หรือ
คำนวณจากวิธีรวมส่วนของกิจการ (Sum of the Part)
วิธีรวมส่วนของกิจการ (Sum of the Part) นั้นทำได้ไม่ยาก เป็นวิธีที่ไม่สลับซับซ้อนแต่อย่างใด เพียงแต่ธุรกิจที่จะนำมาหามูลค่าด้วยวิธีนี้ ควรมีบริษัทย่อยที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย จะช่วยให้การหามูลค่าทำได้ง่าย และสะดวกยิ่งขึ้น

วิธีการก็คือ ศึกษาจากรายงายประจำปีว่า บริษัทที่เราสนใจนั้นถือหุ้นบริษัทอะไรอยู่บ้าง จากนั้นทำการคำนวณหามูลค่าของกิจการบริษัทแม่ จากมูลค่ากิจการตามราคาตลาดของบริษัทย่อยแต่ละบริษัทตามสัดส่วนที่ถือหุ้น อยู่ นำผลที่ได้มารวมกันจะได้ราคาตลาดที่เหมาะสมของบริษัทแม่

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (SHIN) เป็นบริษัทโฮลดิ้งคอมปานี ถือหุ้นบริษัทต่างๆ ดังต่อไปนี้

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) – 43 %
บริษัท ชิน แซทเทลไลท์ (SATTEL) – 51 %
บริษัท ไอทีวี (ITV) – 55 %
บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ (CSL) – 40%
และ บริษัทอื่นๆ นอกตลาดหลักทรัพย์
หา ราคาปิดและจำนวนของหุ้นของบริษัทย่อยในตลาดหลักทรัพย์ได้ดังนี้

ADVANC – 97.5 บาท จำนวนหุ้น 2,947 ล้านหุ้น
SATTEL – 15.8 บาท จำนวนหุ้น 877 ล้านหุ้น
ITV – 12.4 บาท จำนวนหุ้น 1,204 ล้านหุ้น
CSL – 6.15 บาท จำนวนหุ้น 625 ล้านหุ้น
จากข้อมูลที่ได้สามารถ คำนวณมูลค่าตลาดของบริษัทชินได้ดังนี้

ADVANC – 97.5 X 2,947 X 43% = 123,553 ล้านบาท
SATTEL – 15.8 X 877 X 51% = 7,067 ล้านบาท
ITV – 12.4 X 1,204 X 55% = 8,211 ล้านบาท
CSL – 6.15 X 625 x 40% = 1,538 ล้านบาท
รวมมูลค่าตลาดของบริษัทย่อยเท่ากับ 140,368 ล้านบาท

บริษัทชินมีจำนวนหุ้นทั้งหมดเท่ากับ 2,995 ล้านหุ้น และวอร์แรนท์อีก 200 ล้านหุ้น รวมเป็น 3,195 ล้านหุ้น

ดังนั้นมูลค่าตลาดของบริษัทย่อยของชินที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เท่ากับ 140,368/3,195 = 44 บาทต่อหุ้น

นัก ลงทุนสามารถหาส่วนต่างของความปลอดภัย หรือ Margin of Safety ด้วยการเปรียบเทียบมูลค่ากิจการที่คำนวณออกมาได้กับราคาตลาดของหุ้นนั้นๆ ที่ซื้อขายอยู่บนกระดาน ถ้าราคาบนกระดานต่ำกว่าราคาที่คำนวณได้ ถือว่ามีส่วนต่างความปลอดภัย

เมื่อดู จากราคาปิดของหุ้นบริษัทชิน ณ วันที่ 18 เมษายน 2548 อยู่ที่ราคา 38.25 บาทต่อหุ้น จะเห็นว่า ราคาหุ้นของบริษัทแม่ยังต่ำกว่าราคาตลาดของบริษัทย่อยรวมกันอยู่ 5.75 บาทหรือราวๆ 15 เปอร์เซ็นต์

นอกเหนือจาก นั้นราคาตลาดที่หาได้จากการคำนวณของบริษัทย่อย เป็นเพียงมูลค่าของกิจการที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น ยังไม่ได้รวมบริษัทย่อยที่ยังไม่ได้จดทะเบียนอีกหลายบริษัท จะเห็นว่าจากการคำนวณด้วยวิธีรวมส่วนของกิจการ (Sum of the Part) แล้ว บริษัทชินมีมูลค่ากิจการมากกว่าราคาตลาดปัจจุบันอยู่พอสมควร

การคำนวณดังกล่าวเป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ เพื่อแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างเท่านั้น รายละเอียดของแต่ละกิจการจะแตกต่างกันไป ตามแต่ละธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน นักลงทุนควรจะมีความเข้าใจในกิจการของบริษัทที่จะลงทุนอย่างละเอียดก่อน ตัดสินใจลงทุน

การคำนวณด้วยวิธีรวมส่วนของ กิจการนี้มีข้อดีคือ ความสะดวกรวดเร็วในการหามูลค่า ไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใด แต่ข้อเสียก็มีมากเช่นกัน ดังต่อไปนี้

การหามูลค่ากิจการของบริษัทย่อยที่ไม่ได้อยู่ในตลาด หลักทรัพย์ ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะไม่มีราคาตลาดมาใช้ในการอ้างอิง รวมถึงงบการเงินของบริษัทย่อยเหล่านั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการชี้แจงอย่างละเอียดในงบการเงินของบริษัทแม่แต่อย่างใด ทำให้การวิเคราะห์บริษัทย่อยทำได้ไม่ง่ายนัก
มูลค่าตลาดของ บริษัทแม่จะขึ้นกับราคาหุ้นของบริษัทย่อย ถ้าราคาหุ้นบริษัทย่อยมีราคาสูงจะทำให้มูลค่าบริษัทแม่เพิ่มสูงตามไปด้วย โดยเฉพาะในภาวะตลาดกระทิงที่ราคาหุ้นแต่ละบริษัทเพิ่มสูงขึ้นมาก อาจจะทำให้มูลค่าของบริษัทแม่มีราคาสูงเกินจริง
การหามูลค่า ด้วยวิธีนี้ไม่ได้พิจารณาถึงงบการเงินของบริษัทแม่ ทำให้การหามูลค่าบริษัทไม่ได้คำนึงถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เช่น ความสามารถในการชำระหนี้ การหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง หรือ อัตราส่วนทางการเงินอื่นๆ
นอกเหนือจากนั้น การหามูลค่าด้วยวิธีนี้ยังไม่ได้บ่งบอกถึงธุรกิจของบริษัทว่า จะมีทิศทางเป็นอย่างไร รวมถึงไม่ได้คำนึงถึง เรื่องของความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร หรือ การแข่งขันในธุรกิจนั้นๆ แต่อย่างใด
ในบทความครั้งหน้า คุณมนตรีจะมากล่าวถึงรายละเอียดและตัวอย่างของการหามูลค่ากิจการด้วย วิธีการหามูลค่าทรัพย์สินของกิจการ (Reproduction Cost of Asset) อีกวิธีหนึ่ง คือการหามูลค่าทรัพย์สินของกิจการโดยการพิจารณาปรับเทียบจากงบดุลของบริษัท ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าเชื่อถือมากกว่าวิธีรวมส่วนของกิจการที่กล่าวมา ข้างต้น

← มูลค่าที่แท้จริง (2)PE Ratio →
Reproduction Cost Of Asset
Posted on February 5, 2010 by TVI MOD
สิ่งแรกที่เราต้องทราบให้ได้ก่อนการซื้อหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่งนั้น คือ บริษัทนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมใด และอุตสาหกรรมนั้นมีอนาคตสดใสหรือไม่ รายได้และกำไรจะมีความมั่นคงแน่นอนต่อเนื่อง หรือใกล้จะหมดอนาคตหรือยัง
แน่นอนว่า หากบริษัทนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังอยู่ในขาลง แล้วยอดขาย กำไรก็จะต้องลดลง ซึ่งแน่นอนว่า บริษัทนั้นต้องมีมูลค่าลดลงอย่างแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หากว่าธุรกิจนั้นถึงคราวต้องลาโลกนี้แน่ๆ แล้วละก็…
มูลค่าที่เหลือจริงๆ ก็คงมีแค่เศษเหล็กและซากของสินค้าคงเหลือเท่านั้น

ค่าความนิยม(Goodwill) ที่สั่งสมมาจึงไม่เหลือมูลค่าใดๆ แน่นอน บริษัทเหล่านี้จึงมีเอาไว้สำหรับซื้อเอามาถูกๆ และตัดแยกขายเท่านั้น
สำหรับบริษัทที่กำลังย่ำแย่แต่ยังพอมีอนาคต สามารถเอากับมาปลุกเสกให้พื้นคืนชีพได้นั้น มันต้องมีมูลค่าแน่ๆ แต่มีเท่าไรนั้น เราต้องประมาณกันหน่อย ซึ่งเรามักจะใช้วิธี ‘Reproduction Cost of Asset’ หรือวิธีการตรวจสอบงบดุล เพื่อค้นหามูลค่าตามบัญชีของกิจการ และทำการปรับมูลค่าให้เหมาะสมอย่างที่ควรจะเป็น
วิธีการนี้ให้เน้นไปที่มูลค่าของสินทรัพย์ของกิจการ และต้องเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าทางเศรษฐกิจด้วยนะครับ ซึ่งหมายถึงสินทรัพย์เหล่านั้นยังสามารถสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าให้แก่ บริษัทได้ พวกโรงงานร้าง ที่ดินเปล่านั้น ให้ประเมินแบบขายลดราคาถอดตลาดลูกเดียว และค่าความนิยม(Goodwill) นั้นต้องเอามาดูว่าควรให้มีค่าแค่ไหน
มาดูตัวอย่างกันสักตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งผมเอามาจากบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยนี่เอง แต่เป็นงบของปี 2002 บริษัทนี้ประกอบธุรกิจโรงพิมพ์ สำนักพิมพ์นิตยสารชื่อดัง อีกทั้งยังเป็นผู้จัดจำหน่ายหนังสือ รวมทั้งร้านหนังสืออีกด้วย
สิ่งที่เราจะต้องปรับค่าให้เหมาะสมนั้นจะอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ เริ่มต้นที่เงินสด
…เงินสดก็คือเงินสดไม่ต้องปรับอะไรทั้งสิ้น เพราะเราสามารถเอามาใช้ได้เลย แต่ถ้าเป็นรายการเทียบเท่าเงินสดต้องดูว่ามันเป็นอะไร เช่น เงินลงทุน ต้องดูว่าสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ตามมูลค่าในบัญชีหรือไม่ หรือดูที่ราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่บริษัทลงทุนไว้และปรับค่าตามนั้น
งานที่ยุ่งยากขึ้นเห็นจะเป็นเรื่องลูกหนี้การค้า ซึ่งเราต้องจัดการปรับค่าขึ้นหรือลงให้เป็นจริง เราสามารถหาข้อมูลจากหมายเหตุประกอบงบการเงิน บวกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและตรวจดูยอดเงินที่บริษัทเคยเก็บได้จริงๆ และตัดหนี้สูญออกจริงๆ เพื่อให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงที่สุด
และส่วนที่ยุ่งยากไม่แพ้กันเห็นจะเป็นเรื่องสินค้าคงเหลือ ต้องดูว่าเป็นสินค้าอะไร กรณีนี้เป็นพวกกระดาษ หนังสือนิตยสารเก่าๆ และหนังสือเล่ม เราต้องไปดูว่าแต่ละอย่างมีเท่าไรและปรับค่าไปตามนั้น สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น รายการนี้มักเป็นที่หมกอะไรต่อมิอะไรเอาไว้ ต้องดูให้ หากหาไม่ได้ว่าเป็นอะไรต้องเผื่อค่าเอาไว้มากๆ
ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ส่วนหลักก็คือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ส่วนนี้หาข้อมูลจากหมายเหตุประกอบงบได้ แต่ควรตรวจดูราคาที่ดินก็จะดี เพราะบางที่บริษัทบันทึกบัญชีเอาไว้นานแล้วยังไม่ได้ปรับปรุง ราคาที่ดิน อาคารอาจสูงกว่าที่บันทึกเอาไว้ก็เป็นได้ ส่วนเครื่องจักรนั้นให้หักค่าเสื่อมราคาและปรับลดเผื่อเอาไว้มากๆ หน่อย เพราะของพวกนี้กว่าจะขายได้คงนาน ส่วนอื่นเล็กๆ น้อยๆ ส่วนมากจะตัดทิ้งหมด ให้สังเกตว่าบริษัทนี้ไม่มีค่าความนิยม เพราะไม่ได้ไปซื้อบริษัทอื่นมาไว้จึงไม่มี
เมื่อปรับค่าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จากสินทรัพย์ทั้งหมด 1,370.11 ล้านบาท จะเหลือเพียงแต่ 936.41 ล้านบาท บริษัทนี้ขณะนั้นมีหุ้นอยู่ 19 หุ้น
ดังนั้น ราคาจึงอยู่ที่ 49.28 บาทต่อหุ้น ณ ปี 2002 บริษัทนี้ต้นปี ราคาหุ้นเปิดที่ 41.25 บาท และเป็นราคาที่ต่ำที่สุดของปี เมื่อเทียบกับประมาณการของเราแล้ว ราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าถึง 8 บาท หรือ 19.40% ทั้งนี้ยังไม่รวมมูลค่าของตราสินค้าอย่างนิตยสารชื่อดัง และผู้บริหารที่มีความสามารถ และเป็นผู้นำในธุรกิจนี้ ซึ่งในที่สุดส่งผลให้หุ้นของบริษัทนี้มีราคาปิดที่ปลายปีที่ 90 บาท ซึ่งเป็นราคาสูงสุดของปี
ปัจจุบัน ราคาหุ้นบริษัทนี้ก็ยังวนเวียนอยู่ในระดับ 100 บาท หรือ 10 บาทที่ราคาพาร์ 1 บาท พร้อมกับการจ่ายปันผล ทุกๆ ไตรมาส ซึ่งถ้าใครถือมาจนทุกวันนี้แล้วก็จะได้ผลตอบแทนมากกว่า 100% ยังไม่รวมเงินปันผล
จะเห็นว่าวิธีการนี้ใช้ได้ดีทีเดียว เพียงแต่เราต้องพยายามหาบริษัทที่มีคุณภาพ และต้องแน่ใจว่าบริษัทนี้ไม่ล้มแน่ๆ แถมยังมีมูลค่าแฝงเอาไว้อีก วิธีการนี้ยังสามารถใช้ได้กับบริษัทที่เป็นอุตสาหกรรมหนักๆ เช่น ปิโตรเคมีได้อีก เลือกบริษัทที่ไม่ล้มแน่ๆ แต่ราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีมากๆ เมื่อถึงรอบขาขึ้นของสินค้าราคาก็จะปรับขึ้นหลายเท่าตัวแน่นอน
ในบริษัทที่มีสินค้าที่ตราสินค้าเข้มแข็งก็สามารถใช้ได้ดี อย่างเช่น โคคา โคลา ลองคิดดูว่าเราต้องใช้เงินมากแค่ไหนในการทำลายตราสินค้านี้ให้หายไปจากโลก ได้ และเงินจำนวนนั้นก็คือมูลค่าของกิจการนั้นนั่นเอง
ในบ้านเราเองก็มีบริษัทที่ตราสินค้าเข้มแข็ง และมีมูลค่ามากเช่นกัน เพียงแต่เราต้องสรรหาและเฝ้ารอคอยโอกาสงามๆ ที่ราคาหุ้นจะตกต่ำลงมาให้เราได้ซื้อในราคาถูกๆ และต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากๆ
แน่นอนว่า…เราจะต้องอดทนรอคอย และขยันในการสรรหาครับ–จบ–

–กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 29 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2548–
← Reproduction Cost Of Assetกระบี่ที่ใจ →
PE Ratio
Posted on February 5, 2010 by TVI MOD
เครื่องมือในการประเมินมูลค่าของหุ้น แบบง่ายๆ แต่ค่อนข้างใช้ได้ผลทีเดียวเลยนั้นเห็นจะหนีไม่พ้นการประเมินค่า PE และ PB Ratio
ไม่ว่านักลงทุนทั่วไป นักวิเคราะห์ต่างๆ ก็นิยมใช้ PE Ratio เป็นตัวประเมินค่า เพื่อหาราคาเป้าหมายของหุ้นนั้นๆ จะเห็นได้ว่าค่า PE นั้นได้ถูกใช้กันอย่างกว้างขวาง ยาวนานมาโดยตลอด
ถ้าเรามาดูว่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรคืออัตราส่วนอะไร และมีที่มาที่ใช้อย่างไรก็คงจะยังไม่น่าจะล้าสมัยไปนักนะครับ

อัตราส่วนราคาต่อกำไร(PE Ratio)ของหุ้นคือ อัตราส่วนของราคาหุ้นที่ซื้อขายในปัจจุบัน กับกำไรต่อหุ้นที่เราต้องการวิเคราะห์ อัตราส่วนนี้จะบอกว่าราคาหุ้นปัจจุบันนั้นเมื่อเทียบกับกำไรต่อหุ้นนั้นมี ค่าเท่าไร เช่น หุ้นราคา 10 บาท กำไรต่อหุ้น 1 บาท PE = 10 หรือจะแปลความหมายได้ว่า ถ้าเราซื้อหุ้นบริษัทนี้เราจะต้องจ่ายเงินไปล่วงหน้าถึง 10 เท่า หรือต้องรอให้บริษัททำกำไรคืนให้เราสิบเท่า ถ้าหากว่าบริษัทนั้นทำกำไรปีละ 1 บาท ไปเรื่อยๆ เราต้องรอถึงสิบปี หลังจากสิบปีไปแล้วเราถึงจะได้กำไร หรือคืนทุนใน 10 ปีนั่นเอง แต่ถ้าหากว่าบริษัทนั้นทำกำไรได้รวดเร็วขึ้น เราอาจไม่ต้องรอถึงสิบปีก็ได้
ที่นี้ถ้า PE Ratio เท่ากับ 6 เท่า ก็เท่ากับว่าเราจะคืนทุนใน 6 ปีและหลังจากนั้นเราจะได้กำไรแล้ว แต่แล้วเรามองอย่างนี้ก็ไม่เห็นว่ามันจะบอกอะไรเรามาก แต่อัตราส่วนนี้จะบอกเราได้ว่าหุ้นที่เราซื้อนี่ถูกหรือแพง เช่น หุ้นที่มี PE Ratio เท่ากับ 10 จะแพงกว่าหุ้นที่ PE Ratio เท่ากับ 6 ครับ ไม่ใช่แค่ว่ารอนานกว่ากันเท่านั้น แต่หุ้นที่มี PE Ratio ต่ำกว่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า เช่น หุ้น PE Ratio เท่ากับ 10 จะให้ผลตอบแทนคาดหวังเท่ากับ 10% แต่หุ้นที่มี PE Ratio เท่ากับ 6 จะให้ผลตอบแทน 16.67% ดังนั้นจึงเป็นคำตอบว่า ทำไมหุ้น PE ต่ำจึงถูกกว่าหุ้น PE สูง
ดังนั้น เวลาเราจะลงทุนซื้อหุ้นเราก็ควรจะชายตาไปมองเจ้า Ratio ด้วยครับ มิเช่นนั้นท่านอาจได้หุ้นที่PE Ratio เท่ากับ 30 เท่า หรือ ให้ผลตอบแทนคาดหวังเพียง 3.33% และมีของแถมเป็นความเสี่ยงที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อ
หุ้นที่มี PE Ratio สูงๆ นั้นจะบอกให้เราทราบได้สองอย่างครับ คือ หุ้นนั้นแพงมากๆ อาจเป็นเพราะนักลงทุนกำลังใจกล้าไล่ซื้อหุ้นนั้นกันอย่างเมามันไปกับข่าวดี ของบริษัท หรือกิจการของบริษัทนั้นเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและมีอนาคตที่สดใสมากๆ อย่างแรกนั้นค่อนข้างอันตราย เพราะความไม่แน่นอนของข่าวสูงมาก ในตลาดบ้านเราก็เคยเห็นเมื่อไม่นานมานี้เอง สุดท้ายราคาก็ปรับตัวเข้าหาพื้นฐานที่แท้จริงในที่สุด ส่วนกรณีหลัง เราในฐานะนักลงทุนต้องตรวจสอบผลประกอบการ ตรวจสอบความเป็นไปได้ว่าการเติบโตที่ว่านั้นจริงหรือเทียม
สำหรับหุ้นที่ PE Ratio ต่ำนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า หุ้นนั้นๆ ถูกทีเดียวเลย ถ้าหุ้นนั้นมีPE Ratioต่ำก็จริง แต่บริษัทไม่มีการเติบโตเลย หุ้นบริษัทนั้นก็ไม่จัดว่าถูก แต่ถ้ามีการเติบโตดีแต่ยังไม่มีใครให้ความสนใจอยู่ละก็ เป็นโอกาสของคุณแล้วครับ บางบริษัท PE Ratio ต่ำแต่ค่า PB Ratio สูงมากอันนี้ต้องระวังเช่นกัน เพราะเราซื้อสินทรัพย์ที่เอามาสร้างผลกำไรในอัตราที่สูงมากเกินไปหรือเปล่า เช่น PB Ratio เท่ากับ 4 เท่า นั่นคือถ้าเราต้องการสร้างธุรกิจนี้เองเราจ่ายแค่ 1 แต่ถ้าต้องการซื้อธุรกิจของบริษัทนี้เราต้องจ่ายเงินสูงถึงสี่เท่า ถ้าเป็นธุรกิจที่เข้มแข็ง มีความสามารถในการแข่งขันที่คงทน ไม่ขึ้นลงเป็นรอบๆ ก็น่าสนใจครับ
เราอาจจะใช้ PE Ratio คู่กับ PB Ratio เพื่อค้นหาหุ้นที่ถูกในเชิงตัวเลขก่อนก็ได้ครับ แต่ที่ขาดไม่ได้เลย เราต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานของกิจการให้ลึกซึ้งอยู่ดี เราจะได้เข้าใจถึงอัตราการเติบโตที่แท้จริง เข้าใจว่าในระยะเวลาที่เรากำลังรอให้บริษัททำกำไรจนคืนเงินทุนที่เราลงไปได้ นั้น บริษัทจะมีความแข็งแกร่งพอที่จะทำกำไรคืนให้เรา หรือ มีกำไรตอบแทนให้เรามากกว่าที่คาดเอาไว้
ที่ขาดเสียไม่ได้จริงๆ คือ เราต้องตรวจสอบงบการเงินของบริษัทด้วยครับ ว่ากำไรที่แสดงนั้นเป็นกำไรแท้หรือกำไรเทียม มีการซ่อนต้นทุนเอาไว้หรือไม่ มีการรับรู้รายได้มากกว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่ ทั้งหมดนี้ตรวจดูได้จากงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินครับ
ในวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2548 ทาง http://www.thaivi.com จะมีงานสัมมนาไทยแวลูอินเวสเตอร์ ปี 2548:
‘รวยหุ้นหมื่นล้าน…..เปิดตำนานตีแตก’
ในช่วงเช้าท่าน ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้สร้างตำนานการลงทุนแบบเน้นมูลค่าในเมืองไทย จะมาบรรยายและตอบข้อซักถามต่างๆ ที่ท่านยังข้องใจเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นมูลค่า ฟังเคล็ดลับจากปากของท่านครับ
ช่วงบ่ายรับฟังการเจาะลึก อุตสาหกรรมพลังงาน ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทจดทะเบียนชื่อดัง
ท้ายรายการฟังประสบการณ์ตรงจากนักลงทุนแบบเน้นมูลค่า คุณฉัตรชัย ที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนแบบเน้นมูลค่าที่สามารถทำให้ตัวเองและครอบครัว พบกับอิสระทางการเงิน โดยใช้เงินลงทุนเพียงไม่กี่แสนบาทในหุ้นมูลค่าให้กลายเป็นเงินหลายสิบล้าน ถ้าคิดแล้วท่านสามารถทำเงินให้มีมูลค่าเพิ่มได้ถึง 30 กว่าเท่าในระยะเวลาเพียง 6 ปี คุณฉัตรชัยจะมาเล่าให้เราฟังว่า ท่านมีวิธีคิดอย่างไร ปฏิบัติอย่างไรให้เงินเก็บเพียงน้อยนิดมีมูลค่าเพิ่มได้อย่างยั่งยืน
–กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 27 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2548–

P/BV (พี-บุ๊ก) ซุกอะไรอยู่?

P/BV (พี-บุ๊ก) ซุกอะไรอยู่?
Posted on สิงหาคม 24, 2012
โดย Club VI

ในตอนที่แล้ว ได้อธิบายถึงค่า P/E ว่าเป็นวิธีการวัดความถูกแพงของราคาหุ้นที่ได้รับความนิยมอย่างสูง

อย่างไรก็ตาม ค่า P/E มีจุดอ่อนอยู่บางประการ กล่าวคือ เป็นค่าที่คำนวณมาจาก กำไรสุทธิ ซึ่งกำไรของบางบริษัทอาจมีความไม่แน่นอน ทำให้ P/E Ratio เกิดความผันผวน จนยากที่จะใช้เป็นหลักยึดได้ หรืออย่างในช่วงวิกฤต เช่น วิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540-1 กำไรสุทธิของหลายบริษัทล้วน “ติดลบ” ทำให้ค่า P/E ออกมาเป็นลบ อันถือว่าใช้วัดไม่ได้

ดังนั้น ในตอนนี้ เราจะมาว่ากันถึงอีกวิธีหนึ่งในการวัดความถูกแพงของหุ้น นั่นก็คือ ค่าที่เรียกว่า “P/BV Ratio” (บ้างก็เรียกว่า P/B แต่มักออกเสียงกันว่า “พี-บุ๊ก”) ย่อ มาจาก “Price-to-book-value ratio”

ค่า P/BV หมายถึง อัตราส่วนระหว่าง “ราคาหุ้น” (P) กับ “มูลค่าทางบัญชีของกิจการ” (BV) ซึ่ง BV หรือ “Book Value” ในที่นี้ ก็มีค่าเท่ากับ ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) นั่นเอง

ในแต่ละปี เมื่อบริษัทมีกำไร ก็จะแบ่งส่วนหนึ่งจ่ายออกไปเป็น “เงินปันผล” ให้ผู้ถือหุ้น และส่วนที่เหลือ จะบันทึกไว้เป็น “กำไรสะสม” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ส่วนของผู้ถือหุ้น” นั่นหมายความว่า ทุกๆ ปี หากบริษัทมีกำไร Book Value ของบริษัทก็ควรจะโตขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ค่า Book Value มักเป็นไปตามผลประกอบการ คือ ถ้าบริษัทมีกำไรดี Book Value ก็มักจะสูงขึ้น แต่นั่นไม่ได้ทำให้ค่า P/BV ต่ำลงเสมอไป เพราะราคาหุ้นมักจะเพิ่มขึ้นตามผลประการของบริษัทอยู่แล้ว (BV โตขึ้น แต่ P ก็โตขึ้นด้วย ค่า P/BV ที่ได้จึงอาจเท่าเดิม)

อย่างไรก็ตาม บางบริษัทนิยมจ่ายปันผลออกมาค่อนข้างมาก และไม่ค่อยเก็บกำไรสะสมไว้ ทำให้ Book Value ไม่โต

เช่น บริษัทที่ทำธุรกิจหนังสือในเมืองไทยบริษัทหนึ่ง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “หุ้นปันผล” ชั้นดี การที่กิจการมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างล้นเหลือทำให้สามารถจ่ายปันผลออกมาได้เกือบ 100% ของกำไรสุทธิ ผลคือ Book Value แทบจะไม่โต ทั้งที่กำไรของบริษัทเติบโตขึ้นทุกปี

จะเห็นได้ว่า การเติบโตของผลประกอบการมักดึงดูดให้ราคาหุ้นโตขึ้นตามไปด้วย จึงดูเหมือนว่า P/BV โตเร็ว (Book Value โตช้า แต่ P โตเร็ว ทำให้ P/BV สูงขึ้นเรื่อยๆ) และทำให้เข้าใจกันไปว่า หุ้นตัวนั้นๆ “แพงแล้ว”

แต่มองอีกมุมหนึ่ง หุ้นที่เข้าลักษณะนี้อาจไม่แพงเลยก็ได้ เพราะแม้ว่าค่า P/BV จะมากกว่า 1 (P สูงกว่า BV) ซึ่งหมายความว่า ใครจะซื้อก็ต้องจ่ายเงินสูงกว่ามูลค่าทางบัญชีของกิจการ นั่นก็ไม่ใช่เรื่องไร้เหตุผลเสมอไป เพราะผู้ซื้ออาจมีแรงจูงใจบางประการที่ทำให้ยอม “จ่ายแพงกว่า”

อาทิ กิจการนั้นเป็นกิจการที่กำลังเติบโต นักลงทุนจึงยอมควักเงินเพื่อ “ซื้ออนาคต” หรือนักลงทุนอาจเล็งเห็นว่า บริษัทนั้นๆ มีสินทรัพย์บางอย่างที่ไม่ได้รวมอยู่ในมูลค่าทางบัญชี หรือไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขทางบัญชีได้อย่างเหมาะสม

ในทางกลับกัน ถ้า P/BV ต่ำกว่า 1 (P ต่ำกว่า BV) นั่นหมายความว่า นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นตัวนี้ ได้ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ซึ่งที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น อาจเป็นเพราะตลาดมองว่าบริษัทนี้มีการเติบโตค่อนข้างน้อย หรืออนาคตดูจะไม่สดใสเท่าไรนัก หุ้นของบริษัทจึงไม่ค่อยได้รับความนิยม

โดยหลักการ มักถือกันว่า ค่า P/BV ต่ำ แปลว่านักลงทุน “ได้ของถูก” ทว่ามาตรฐานของแต่ละคนมักไม่เท่ากัน บางคนยึดหลักว่าค่า P/BV ไม่เกิน 2 เท่า บางคนยึดหลักซื้อเฉพาะ “ของถูกมาก” จึงซื้อเฉพาะหุ้นที่ค่า P/BV ต่ำกว่า 1 เท่านั้น

ในทางปฏิบัติแล้ว หุ้นบางตัวมี P/BV สูง แต่ก็คุ้มค่าที่จะเข้าไปลงทุน เพราะมูลค่าบางอย่างไม่ได้แสดงออกมาในทางบัญชี อาทิ วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร นโยบายการเติบโต สิ่งเหล่านี้ล้วนมีค่ายิ่ง แต่ไม่สามารถที่จะตีเป็นตัวเลขได้เลย

นอกจากนี้ พวกกิจการที่ใช้ทุนต่ำ (low-capital) เช่น ธุรกิจบันเทิง มักมีค่า P/BV ค่อนข้างสูง ทั้งนี้เพราะ Book Value ของบริษัทอาจจะน้อย (BV ต่ำ) เนื่องจากสินทรัพย์ส่วนหนึ่งไม่ได้มีมูลค่าทางบัญชี แต่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงมาก เช่น มันสมอง-ความสร้างสรรค์ของบุคลากร ชื่อเสียงของดาราในสังกัด ฯลฯ

การที่บริษัทใช้ “ทุนที่ประเมินค่าเป็นเงินไม่ได้” (แต่มองเห็นได้) กลั่นออกมาเป็นผลประกอบการที่ดีเยี่ยม ส่งผลให้ราคาหุ้นโตตามไปด้วย (P สูง) ครั้น P โต แต่ BV โตช้า ค่า P/BV จึงสูง จะเห็นได้ว่าบริษัทบันเทิงยักษ์ใหญ่ในเมืองไทยบางบริษัทมี P/BV สูงถึง 4-6 เท่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบริษัทนั้นไม่น่าลงทุนแต่อย่างใด

ทั้งนี้ทั้งนั้น การประเมินว่า P/BV เท่าไรจึงจะเรียกว่าถูก บางครั้งเราก็เทียบกับบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งก็พอทำได้ในระดับหนึ่ง แต่ต้องไม่ลืมว่า แต่ละบริษัทล้วนมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการจ่ายปันผล ระยะเวลาที่ทำธุรกิจมา ฯลฯ

จะเห็นได้ว่า P/BV มีจุดเด่น คือ มีความเสถียร ไม่ค่อยผันผวน ต่างจากค่า P/E ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียคือ อาจสะท้อนอนาคตของธุรกิจได้ช้ากว่า

โดยสรุปแล้ว ค่า P/BV มีประโยชน์อยู่ไม่ใช่น้อย แต่ไม่ควรใช้เป็นหลักยึดตายตัว โดยควรดูค่าอื่นๆ ประกอบกันไปด้วย มิฉะนั้น อาจทำให้เสียโอกาสงามๆ ในการลงทุนได้ครับ

ROE’ สำคัญกับการลงทุนอย่างไร? : วิบูลย์ พึงประเสริฐ

‘ROE’ สำคัญกับการลงทุนอย่างไร? : วิบูลย์ พึงประเสริฐ
‘ROE’ สำคัญกับการลงทุนอย่างไร?

วิบูลย์ พึงประเสริฐ

การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ มีหลักการในการลงทุนหลายอย่าง บางท่านอาจจะให้ความสำคัญกับปริมาณการซื้อขายและราคาหุ้นเป็นหลัก โดยใช้หลักการทางเทคนิคเป็นจุดสำคัญ หรือ บางท่านอาจจะชอบลงทุนในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ซื้อขายวันต่อวัน

การลงทุนในลักษณะดังกล่าว อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องรู้ซึ้งถึงตื้นลึกหนาบางของบริษัทที่จะลงทุนมากนัก สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นในระยะสั้นมากกว่า

แต่ “การลงทุนแบบเน้นคุณค่า” ที่เน้นการถือหุ้นที่มีศักยภาพในระยะยาว สิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับนักลงทุนก็คือ การที่นักลงทุนควรจะเข้าใจในพื้นฐานของธุรกิจที่จะลงทุนนั้นเป็นอย่างดี

คราวนี้ เราจะมาเจาะลึกถึงหัวข้อของอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญค่าหนึ่ง ก็คือ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Return on Equity Ratio หรือ ROE)

ROE คือ การหาความสัมพันธ์ระหว่าง ความสามารถในการทำกำไรกับเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นๆ สูตรที่ใช้กันทั่วไปก็คือ

ROE = Net Profit/Equity หรือ กำไรสุทธิ หารด้วย ส่วนของผู้ถือหุ้น

สมมติ บริษัท ก. มีงบกำไรขาดทุนและงบดุล ณ ปลายปี คร่าวๆดังนี้

งบกำไรขาดทุนบริษัท ก. (หน่วย: ล้านบาท)

ยอดขาย 12,000

ต้นทุนรวมภาษี 10,800

กำไรสุทธิ 1,200

งบดุลบริษัท ก.(หน่วย: ล้านบาท)

ทรัพย์สินหมุนเวียน 2,000 หนี้สินหมุนเวียน 2,000

ทรัพย์สินถาวร 8,000 หนี้สินระยะยาว 0

ส่วนของผู้ถือหุ้น 8,000

รวมทรัพย์สิน 10,000 รวมหนี้สินและส่วนผู้ถือหุ้น 10,000

ดังนั้น ROE ของบริษัท ก. คำนวณจาก กำไรสุทธิหารด้วยส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งเท่ากับ 1,200/8,000 = 15%

ในทางปฏิบัติ ควรจะนำส่วนผู้ถือหุ้นของต้นปีและปลายปีมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อความถูกต้องมากขึ้น ROEที่คำนวณได้แสดงให้เห็นว่าบริษัทสามารถนำเงินของผู้ถือหุ้นไปลงทุนได้ผลตอบแทนเท่ากับ 15% จากการดำเนินงานของบริษัทตามปกติ

นักลงทุนสามารถนำ ROE ไปเปรียบเทียบระหว่างบริษัทต่างๆในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อตรวจสอบความสามารถของผู้บริหารในการบริหารเงินลงทุนของบริษัท

สมมติอีกบริษัทหนึ่ง คือ บริษัท ข. มี ROE เท่ากับ 5% เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัท ก. ข้างต้นที่มี ROE 15% แล้ว นักลงทุนจะพบว่า บริษัท ก. มีความสามารถในการทำกำไรมากกว่าในจำนวนเงินลงทุนที่เท่ากัน

สำหรับนักลงทุนระยะยาวแล้ว บริษัทที่มี ROE สูงกว่าจะน่าสนใจมากกว่า เพราะบริษัทที่มี ROE สูง สามารถที่จะสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้มากกว่าบริษัทที่มี ROE ต่ำกว่า

แต่ในขณะเดียวกัน การรักษา ROEให้สูงอย่างต่อเนื่องในระยะยาวเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก เพราะเมื่อเวลาผ่านไปหลายๆปี ถ้าบริษัทดำเนินกิจการอย่างมีกำไรและเก็บบางส่วนไว้เป็นกำไรสะสม จะทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การรักษา ROE ให้อยู่ในระดับเดิม บริษัทจำเป็นต้องทำกำไรให้มากขึ้นให้เพียงพอต่อการเติบโตของส่วนผู้ถือหุ้น

ตัวอย่างเช่น ถ้าส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นปีละ 10% บริษัทที่ต้องการรักษา ROE ให้เท่าเดิมในปีถัดไป จำเป็นจะต้องมีผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 10% ด้วยเช่นกัน ซึ่งในความเป็นจริง ธุรกิจที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างต่อเนื่องเช่นนี้ได้ ต้องเป็นธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างสูงมากทีเดียว

อีกกรณีหนึ่ง บางบริษัทอาจจะทำให้ ROE สูงขึ้นได้ โดยใช้ leverage จากการกู้ยืมทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่าบริษัทที่ไม่มีหนี้สินระยะยาว

ตัวอย่างเช่น บริษัท ก. และ ค. มีงบกำไรสุทธิเหมือนกัน แต่บริษัท ค. มีงบดุลดังต่อไปนี้

งบดุลบริษัท ค. (หน่วย: ล้านบาท)

ทรัพย์สินหมุนเวียน 2,000 หนี้สินหมุนเวียน 500

ทรัพย์สินถาวร 8,000 หนี้สินระยะยาว 4,700

ส่วนของผู้ถือหุ้น 4,800

รวมทรัพย์สิน 10,000 รวมหนี้สินและส่วนผู้ถือหุ้น 10,000

ดังนั้น ROE ของบริษัท ค. เท่ากับ 1,200/4,800 = 25% ซึ่งมากกว่าบริษัท ก. มาก แต่บริษัท ก. ไม่มีหนี้สินเลย ขณะที่บริษัท ข. มีหนี้สินอยู่เกือบเท่าส่วนผู้ถือหุ้น

ในกรณีนี้ เราควรจะใช้อัตราส่วนทางการเงินอีกค่าหนึ่งในการเปรียบเทียบระหว่างธุรกิจ คือ Return on Total Capital Ratio (ROTC) คำนวณได้จาก

ROTC = Net Profit/(Longterm Liability + Equity) หรือ กำไรสุทธิหารด้วยผลบวกของหนี้สินระยะยาวกับส่วนผู้ถือหุ้น

จากตัวอย่างข้างต้นจะพบว่าบริษัท ก. มี ROTC เท่ากับ 15% (1,200/8,000) ในขณะที่บริษัท ค. มี ROTC ลดลงเหลือเพียง 12% (1,200/(4,700+4,800))

ในกรณีเช่นนี้ บริษัทที่มี ROE สูงกว่า อาจจะมี ROTC ต่ำกว่าได้ การใช้ ROE เพียงอย่างเดียวในการวิเคราะห์ความสามารถในการดำเนินงานของบริษัทที่จะลงทุนอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้

ดังนั้น นักลงทุนนอกจากจะใช้ ROE เปรียบเทียบระหว่างบริษัทแล้ว อาจจะต้องใช้ ROTC ในการเปรียบเทียบเพิ่มขึ้น เพราะ ROTC จะทำให้มองเห็นภาพความสามารถในการลงทุนของบริษัทได้ตรงความเป็นจริงมากขึ้น

นอกเหนือจากนั้น บางบริษัทอาจจะมี ROE เพิ่มสูงขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยเฉพาะบริษัทที่เพิ่งออกจากหมวดฟื้นฟูกิจการ สาเหตุเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างหนี้ โดยผลการดำเนินงานเปลี่ยนจากการขาดทุนในอดีตมาเป็นทำกำไรได้ในปีปัจจุบัน ทำให้ ROE เพิ่มสูงขึ้นทันทีได้

ลักษณะเช่นนี้ นักลงทุนควรพิจารณานำกำไรขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ออกจากการคำนวณ เพราะจะทำให้ ROE ที่หาได้สูงเกินไป และไม่สะท้อนกับผลการดำเนินงานตามปกติของบริษัท

บางบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเป็นวัฏจักร (Cyclical) เช่น วัสดุก่อสร้าง ปิโตรเคมี เหล็ก กระดาษ หรือ ผลิตภัณฑ์การเกษตร บางปีบริษัทจะมีผลกำไรตกต่ำ เพราะส่วนใหญ่แล้วราคาและต้นทุนของกิจการเหล่านั้น จะถูกกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของสินค้ามากกว่าที่จะถูกกำหนดโดยบริษัท

ถ้าปีใดราคาสินค้าลดลงก็จะทำให้บริษัทมี ROE ในปีนั้นต่ำไปด้วย แต่บางปีอาจจะเป็นขาขึ้นของอุตสาหกรรมนั้นๆ ทำให้บริษัทมีผลการดำเนินงานดี และมีกำไรสูงขึ้น ผลพลอยได้ก็คือทำให้ ROE ของบริษัทในปีนั้นสูงตามขึ้นไปด้วย

เราสามารถตรวจสอบได้ว่า บริษัทนั้นๆอยู่ในอุตสาหกรรมที่เป็นวัฏจักรหรือไม่ง่ายๆด้วยการตรวจสอบ ROE ย้อนหลังหลายๆปี ถ้าพบว่า ROE มีลักษณะที่มากบ้างน้อยบ้างสลับกันไปก็สันนิษฐานได้ว่า บริษัทนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมที่เป็นวัฏจักร

จากเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่า การที่บริษัทมี ROE สูงไม่ได้หมายความว่าจะเป็นธุรกิจที่ดีในระยะยาวเสมอไป

ดังนั้น สำหรับนักลงทุน ก่อนที่จะลงทุนซื้อหุ้นบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ควรตรวจสอบ ROE ของบริษัทที่สนใจลงทุนก่อนว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่

บริษัทที่มี ROE สม่ำเสมอจะเป็นบริษัทที่น่าสนใจ เพราะแสดงให้เห็นว่า บริษัทมีการบริหารงานที่ดี สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเมื่อเวลาผ่านไป บริษัทก็เพิ่มพูนความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นได้เป็นอย่างดี

**************************

‘ROE’ สำคัญกับการลงทุนอย่างไร?

วิบูลย์ พึงประเสริฐ

Value Way

ที่มา http://www.sarut-homesite.net/2010/0…8%B2%E0%B8%87/

ขอบคุณแหล่งข้อมูลครับ
ผมว่าจุดเริ่มต้นของคนเราเริ่มจาก”ทัศนคติ”จากสิ่งนั้นๆก่อน มันจึงจะเกิดแรงบรรดาลใจให้ไปถึงเป้าหมาย ถ้า”ทัศนคติ”คุณผิด มันก็จะผิดเกือบทั้งหมด

ความลับของ EBITDA

Edit
ความลับของ EBITDA
by Puktiwit Yoosook on Tuesday, January 24, 2012 at 10:46pm ·
นี่เป็นครั้งแรกของผมที่จะเขียนเรื่องที่มันมีสาระจากที่ได้เรียนรู้มา ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยพี่ๆ เพื่อนๆ ด้วยนะครับ และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับส่วนรวมของเวปเรา

ความลับของ EBITDA
ผมเห็นหลายคนพูดกันเกี่ยวกับ EBITDA วันนี้ก็เลยอยากจะเขียนความเข้าใจส่วนตัวของผมเองเพื่อแชร์ความคิดกับเพื่อนๆนะครับ ถูกผิดอย่างไรช่วยกัน เสนอแนวคิดกันด้วยนะครับ

EBITDA คือ กำไรก่อน ดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อม และ ค่าตัดจ่าย

การที่เราจะนำเอา EBITDA มาใช้นั้นผมคิดว่าควรมีข้อควรระวังที่จะต้องพิจารณาหลายอย่าง เพราะเนื่องจากว่า EBITDA นั้น เกิดจากการบวกกลับของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายจริงเข้ามา (แต่จริงๆแล้วค่าเสื่อมและค่าตัดจ่ายนั้นได้เกิดขึ้นจริงก่อนหน้านี้ไปแล้ว ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงๆ จากลงทุนในสินทรัยพ์ทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนเพื่อใช้ในการสร้างรายได้ในอนาคตเข้ามา โดยที่ค่อยนำเอาค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาหักออกที่หลังขึ้นอยู่กับวิธีการที่จะเลือกใช้ เช่น วิธีเส้นตรง หรือ วิธีอัตราเร่ง เป็นต้น) พอเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว เราก็ควรที่จะต้องพิจารณาสิ่งต่างๆเหล่านี้เพิ่มเติมกันด้วย ไม่งั้นจะทำให้เรานำเอา EBITDA ไปใช้ในทางที่ผิดหรือเกิดหลงประเด็นว่าเงินสดเหล่านี้เป็นเงินสดของเราทั้งหมดที่สามารถนำไปใช้โดยปราศจากข้อผูกพันใดๆ

สิ่งที่ต้องพิจารณาประกอบด้วย 5 ประเด็นดังต่อไปนี้
1 ประเภทของกิจการ
2 กลยุทธ์ของกิจการ
3 ค่าใช้จ่ายลงทุนเพื่อรักษาสภาพการใช้งานของทรัพย์สิน
4 วิธีการหักค่าเสื่อมราคา
5 ค่าใช้จ่ายลงทุนเพื่อการเติบโต

ที่นี้เราก็ลองมาดูทีละประเด็นกันนะครับ ว่ามีเหตุผลอะไร ทำไมเราถึงต้องมาดูสิ่งเหล่านี้กัน

1 ประเภทของกิจการ
เหตุผลที่เราต้องดูประเภทของกิจการ เพราะเนื่องจากแต่ละกิจการก็มีความจำเป็นในการใช้ทรัพย์สินถาวรและไม่ถาวรในการสร้างรายได้แตกต่างกัน เช่น บางกิจการนั้นต้องการเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรสูง ซึ่งก็จะทำให้เกิดค่าเสื่อมราคาสูงเช่นกัน แต่ต้องดูวิธีการหักค่าเสื่อมประกอบ แต่บางกิจการใช้สินทรัพย์ถาวรน้อย ก็จะทำให้เกิดค่าเสื่อมราคาเทียบเป็นอัตราส่วนของรายได้น้อยกว่ากิจการประเภทแรก ที่นี้การที่เราจะนำเอา EBITDA ไปใช้เลยนั้น ผมคิดว่าไม่ถูกต้องมากนัก เนื่องจากว่าในความเป็นจริงแล้ว กิจการประเภทที่ใช้สินทรัพย์ถาวรสูงในการสร้างรายได้นั้น จำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงสินทรัพย์เหล่านี้ในอนาคตเพื่อให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพเท่าๆเดิม หรืออาจจะต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าเดิมเนื่องจากเงินเฟ้อก็เป็นได้ ฉนั้นพอเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว เราก็จะสามารถพิจารณาเรื่องของ EBITDA และประเภทของกิจกาจได้ตรงประเด็นและนำไปใช้ได้แม่นยำมากขึ้น

2 กลยุทธของกิจการ
เหตุผลที่เราจะต้องดูกลยุทธของกิจการประกอบนั้น ผมขอยกตัวอย่างประกอบน่าจะทำให้เข้าใจได้ชัดเจนมากกว่านะครับ เช่น โรงพยาบาลที่เน้นลูกค้าระดับบน (A) กับ โรงพยาบาลที่เน้นลูกค้าระดับกลาง-ล่าง (B) รพ A นั้นเน้นลูกค้าระดับบน จึงคิดค่ารักษาพยาบาลสูงกว่า รพ B เนื่องจากว่าจำเป็นที่จะต้องลงทุนในเครื่องไม้เครื่องมือที่ดีกว่า ทันสมัยกว่า และใหม่กว่าอยู่เสมอ ซึ่งส่งผลทำให้อายุการใช้งานของเครื่องไม้เครื่องมือเหล่านั้นสั้นกว่า รพ B เพราะต้องคอยซื้อเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆมาทดแทนของเก่าและให้ดีกว่าเครื่องไม้เครื่องมือของ รพ B อยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ รพ A ตัดค่าเสื่อมราคาในระยะเวลาที่สั้นกว่า รพ B เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันนี้เอาไว้

3 ค่าใช้จ่ายลงทุนเพื่อรักษาสภาพการใช้งานของทรัพย์สิน
ค่าใช้จ่ายนี้ก็คือค่าใช้จ่ายที่ผมได้พูดถึงก่อนหน้านี้แล้วในข้อที่ 1 และข้อที่ 2 เพราะว่าค่าเสื่อมราคาที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเงินสดที่เราได้หักไว้ในวันนี้ ก็จะต้องถูกนำไปใช้ในอนาคตเพื่อใช้ในการซ่อมแซมให้สินทรัพย์ใช้งานได้ตามปกติดังเดิม มีประสิทธิภาพดีกว่าหรือเท่าเดิม แต่เราก็ควรที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติมด้วยว่าวิธีการหักค่าเสื่อมราคาที่กิจการได้เลือกใช้นั้น มีความถูกต้องเหมาะสมกับกลยุทธและสภาพการใช้งานจริงของบริษัทนั้นๆมากน้อยเพียงใด

4 วิธีการหักค่าเสื่อมราคา
ในแง่มุมของทางบัญชีนั้น บริษัทสามารถที่จะเลือกใช้วิธีการหักค่าเสื่อมราคาได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีผลกับงบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสดแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทเลือกใช้วิธีการแบบเส้นตรง ซึ่งก็คือการหักค่าเสื่อมราคาๆเท่าๆกันทุกปีตามจำนวนปีที่กำหนด เช่น ปีละ 100000 บาท ก็จะมีผลแตกต่างกับวิธี Double-Declining Balance ซึ่งวิธีนี้จะทำการคิดค่าเสื่อมในปีแรกๆสูงกว่าปีหลังๆ หรือเรียกอีกอย่างนึงว่าวิธีอัตราเร่ง เช่นปีแรกๆคิด 200000 บาท ซึ่งจะทำให้มีผลกับงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดแตกต่างกันตามวิธีที่บริษัทเลือกใช้

5 ค่าใช้จ่ายลงทุนเพื่อการเติบโต
นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพของสินทรัพย์แล้ว เรายังต้องพิจารณาถึงการลงทุนเพื่อการเติบโตของกิจการด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็นสินทรัยพ์ที่ใช้สร้างรายได้เพิ่มเติมในอนาคตที่พวกเราเหล่านักลงทุนต้องการเพื่อให้กำไรต่อหุ้นเติบโตและทำให้ราคาหุ้นสูงมากขึ้น สิ่งสำคัญก็คือเราจะต้องสอบถามผู้บริหารว่าปีนี้ค่าใช้จ่ายลงทุนนั้นเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพเท่าไหร่ และเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อการเติบโตเท่าไหร่
Unlike · · Unfollow Post · Share · Delete
You like this.

P/E P/BV และ ROE

P/E P/BV และ ROE

สันติ สิงหวังชา

ถ้าใครได้ลงทุนในแนว VI มานานระดับหนึ่ง หรือได้อ่านหนังสือที่เกี่ยวกับแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่าทั้งของไทยและของฝรั่ง น่าจะคุ้นเคยกับอัตราส่วน 3 ตัวที่เขียนไว้ที่ชื่อเรื่องในวันนี้…

ยังไงสำหรับคนที่อาจจะยังเป็นมือใหม่ ผมจะขอทบทวนความหมายของอัตราส่วนทั้ง 3 ตัวอีกรอบนะครับ

P/E – ย่อมาจาก Price/Earning per Share ถ้าสมมติว่ากำไรของบริษัทไม่เติบโตเลย P/E จะหมายถึงระยะเวลาคืนทุน เช่น P/E 5 เท่าหมายถึงระยะเวลาลงทุน 5 ปี … P/E นี่ยิ่งต่ำยิ่งดีครับ

P/BV – ย่อมาจาก Price/Book Value ซึ่ง Book Value นี่จริงๆก็คิดมาจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) หารด้วยจำนวนหุ้น … ยิ่งเราซื้อหุ้นได้ต่ำกว่า BV มากเท่าไหร่ (P/BV ต่ำ) ก็หมายความว่าเราสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท ซึ่งตามตำราทั่วๆไปก็จะบอกว่า P/BV ยิ่งต่ำยิ่งดี ตัวเลขมาตราฐานที่มักจะใช้เป็นฐานก็คือเลข 1 เท่า

ROE – ย่อมาจาก Return on Equity หรือกำไรสุทธิหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นอัตราส่วนที่ Buffett นั้นให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ความหมายของ ROE นั้นเป็นตัวที่บ่งบอกว่า เงินที่บริษัทเก็บเอาไว้ทุกบาทนั้น บริษัทสามารถนำไปทำให้งอกเงยได้ในอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ … เพราะฉะนั้น ROE ยิ่งสูงก็ยิ่งดี ตัวเลขมาตราฐานที่มักจะใช้กันคือความสูงกว่า 12 – 15% อย่างต่อเนื่องหลายๆปี

ที่กล่าวไปข้างต้นก็เป็นสิ่งที่หนังสือทั่วๆไปให้ความหมายไว้ แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงความสัมพันธ์ของ Ratio ทั้ง 3 ตัวนี้ซักเท่าไหร่ .. ผมจะลองผูกสูตรให้ดูกันนะครับ

P/E = Price/EPS = Price/(Net Profit/Number of Share)
P/BV = P/BV = Price/(Equity/Number of Share)
ROE = Return/Equity = (Net Profit/Equity)

ลองเอาผูกกันดูนะครับ จะได้ P/BV = P/E x ROE

จากที่หนังสือทั่วไปบอกว่าหุ้นที่ดีจะต้องมี P/E ต่ำ P/BV ต่ำ ROE สูง ลองมาใส่ในสูตรจะเห็นว่ามันมีความขัดแย้งกันอยู่พอสมควร

1. สมมติว่าให้หุ้นตัวหนึ่งมี P/E คงที่ที่ 10 เท่า ถ้า ROE เท่ากับ 5% หรือ 0.05 จะได้ P/BV 0.5 ก็จะเห็นว่า P/E หุ้นตัวนี้อยู่ในระดับกลางๆ ไม่สูงไม่ต่ำไป P/BV ก็ต่ำเพียง 0.5 ก็ถือว่าถูกมาก แต่ ROE ที่ 5% นั้นจริงๆแล้วถือว่าต่ำมาก

2. สมมติให้หุ้นอีกตัวหนึ่งมี P/E เท่ากับ 10 เหมือนกัน ROE 20% P/BV จะเท่ากับ 2 ซึ่งจะเห็นว่าถ้ามองจาก P/BV นั้นอาจจะมองว่าหุ้นราคาไม่ถูกแล้ว เพราะแพงกว่ามูลค่าทางบัญชีถึง 1 เท่า แต่ถ้ามองในแง่ของ ROE ที่สูงถึง 20% ก็จะเห็นว่าหุ้นตัวนี้มีคุณภาพดีมากๆตัวหนึ่ง

แล้วปัญหาก็คือเราจะเลือกซื้อหุ้นตัวไหนดี เบอร์ 1 หรือ เบอร์ 2 เพราะจากสูตรข้างต้นจะเห็นว่า P/BV ต่ำกับ ROE สูงนั้นมักจะไม่มาด้วยกัน … เราจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในมุมมองของผม ส่วนใหญ่การลงทุนที่ผ่านมาที่ทำให้ผมประสบความสำเร็จอยู่ซ้ำๆคือ หุ้นประเภท 2 ที่มี ROE สูงแม้จะมี P/BV สูง … เพราะฉะนั้นเวลาลงทุนจริงๆ ผมแทบจะไม่ได้มอง P/BV เลยครับ ส่วนใหญ่ก็จะมอง P/E ROE และอนาคตของบริษัทซะมากกว่า ซึ่งตอนนี้มาดูหุ้นใน Port ของผม ก็เป็นหุ้นที่มี P/BV อยู่ในระดับ 3 – 4 เท่าทั้งนั้น (มีเพียงตัวเดียวที่ P/BV ประมาณ 1 เท่าหน่อยๆ) และ ROE ประมาณ 30-40%

สาเหตุที่ผมเลือกหุ้นที่มี ROE สูงมากกว่าหุ้นที่มี P/BV ต่ำ เพราะการลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้น ก็แบ่งออกเป็น 2 แนวหลักๆคือ แนวเกรแฮมที่เน้นหุ้นที่ราคาถูกเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะเน้นการซื้อหุ้นที่ P/BV ต่ำ P/E ต่ำ และแนวที่ 2 คือ แนว Buffett ที่เน้นหุ้นที่มีคุณภาพสูงราคาเหมาะสม คือซื้อที่มี ROE สูงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มจะดีต่อไป ในขณะที่ P/E ก็ไม่แพงมากเกินไป การลงทุนทั้ง 2 แนวนั้นถ้าจริงๆแล้วผมว่าใช้ได้ดีทั้งคู่ แต่จากผลงานของทั้งบัฟเฟตเทียบกับเกรแฮมก็จะเห็นว่าแม้เกรแฮมจะทำผลงานได้ดีแต่ Buffett นั้นทำผลงานได้ดีกว่ามาก …

แล้วเมื่อไหร่เราถึงจะควรซื้อหุ้นที่มี ROE ต่ำและมี P/BV ต่ำ?

1. เมื่อนักลงทุนเป็นนักลงทุนที่อาจจะไม่มีความรู้หรือไม่มีเวลาติดตามข่าวสารการลงทุนอย่างต่อเนื่อง การลงทุนในหุ้นที่มี P/E และ P/BV ต่ำหลายๆตัว (ผมว่าอย่างต่ำต้อง 10 ตัว) เนื่องจากเป็นการลงทุนที่มีการพิสูจน์มาระดับหนึ่งแล้วว่าให้ผลตอบแทนที่ชนะตลาดได้ แต่สำหรับคนที่มีความรู้ในด้านการลงทุนด้านธุรกิจ และต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่า ผมว่าการซื้อหุ้น P/BV ต่ำคงไม่ใช่คำตอบที่ดีเท่าไหร่

2. เมื่อเราเจอหุ้นที่มีพื้นฐานเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน สมมติมีหุ้นตัวหนึ่ง ในอดีตอาจจะมีผลกำไรที่ไม่ค่อยดีทำให้มีค่า ROE ต่ำอยู่นาน แต่ถ้าเรามีข้อมูลเพียงพอว่าบริษัทมีพื้นฐานที่เปลี่ยนไป เช่น มีการลงทุนในโครงการบางอย่างที่ได้ผลดีมากและสามารถสร้างกำไรในอนาคตได้เป็นกอบเป็นกำ ซึ่ง ROE ในอนาคตจะเพิ่มสูงขึ้น ถ้าเรามีโอกาสได้เจอหุ้นแบบนี้ โอกาสที่จะกำไรหลายๆเท่าต้วนั้นมีสูงมาก หุ้นพวกนี้เห็นได้บ่อยๆในกลุ่มธุรกิจวัฏจักร ที่อยู่ในช่วงต่ำสุดของ Cycle และกำลังมีแนวโน้มที่ดี ในอดีตก็จะเห็นหุ้นเรือเมื่อหลายๆปีก่อนมี ROE ต่ำมากๆ P/BV ก็ต่ำมากๆเช่นกัน จนค่าระวางเพิ่มขึ้น ROE ก็เพิ่มขึ้นสูงถึงระดับ 100% ใครได้ซื้อหุ้นพวกนี้ไว้ลงทุนระยะยาวจนปัจจุบันน่าจะทำกำไรได้หลาย 10 เท่าภายในระยะเวลาไม่นานมากนัก

จริงๆแล้วค่า ROE นี่ยังมีความหมายลึกๆที่สามารถเขียนได้อีกเยอะเลย .. ยังไงผมจะเก็บเอาไว้ต่อในคราวหน้าละกันนะครับ ..

**************************

ROE (ต่อ)

เมื่อบริษัทใดๆก็ตาม ทำธุรกิจมีกำไร บริษัทมีทางเลือกหลักอยู่ 4 ทางในการจัดสรรเงินดังกล่าว ได้แก่

1. เก็บเงินไว้ลงทุนต่อ – ถ้าบริษัทมีแผนในการลงทุน และคิดว่าการเก็บกำไรเอาไว้ลงทุนต่อ จะทำให้บริษัทมีกำไรในอนาคตที่ดีขึ้นก็เป็นทางเลือกที่ดี

2. เก็บเงินไว้จ่ายคืนหนี้ – ถ้าบริษัทมีหนี้สินมากเกินไป หรือภาระดอกเบี้ยสูงซึ่งทำให้บริษัทความเสี่ยงมาก บริษัทก็ควรเก็บเงินบางส่วนไว้จ่ายคืนหนี้สินเพื่อลดภาระดอกเบี้ยและลดความเสี่ยง

3. จ่ายออกมาเป็นเงินปันผล – ถ้าบริษัทไม่มีแผนในการใช้เงินลงทุน การจ่ายเงินสดคืนออกมาให้กับผู้ถือหุ้นก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะการที่บริษัทเก็บเงินสดไว้กับบริษัทมากๆ โดยเอาเงินไปฝากธนาคารจะให้ผลตอบแทนที่ต่ำ สู้จ่ายออกมาเป็นเงินปันผล แล้วให้ผู้ถือหุ้นเอาเงินไปลงทุนต่อเองจะดีกว่า

4. ซื้อหุ้นคืน – กรณีที่บริษัทมีเงินสดเหลือและไม่มีแผนในการลงทุน พร้อมกับการที่ราคาหุ้นของบริษัทนั้นมีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง บริษัทนั้นอาจจะนำกำไรที่เหลือมาซื้อหุ้นของบริษัทคืน เพื่อทำให้จำนวนหุ้นน้อยลง กำไรต่อหุ้นก็จะดีขึ้น รวมถึงปันผลในอนาคตก็จะสูงขึ้นเพราะตัวหารน้อยลง

ทางเลือกทั้ง 4 วิธีนั้นสามารถแสดงถึงวิธีการบริหารจัดการกับเงินของบริษัทได้เป็นอย่างดี และทางเลือกทั้ง 4 นั้นก็มีผลกระทบกับค่า ROE โดยแสดงเป็นตัวอย่างได้ดังนี้

บริษัท A – อยู่ในธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง บริษัทเห็นว่าการเก็บผลกำไรไว้ลงทุนต่อจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า บริษัทจึงไม่จ่ายเงินปันผลออกมาและเก็บเงินไปลงทุนทั้งหมด ถ้าเราดูจาก ROE จะเห็นว่าค่า E จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพราะบริษัทกำไรจะไปทำให้ E เพิ่มขึ้น (เพราะบริษัทไม่ได้จ่ายเป็นเงินปันผลออกมา) แต่ในขณะเดียวกันเมื่อบริษัทลงทุนเพิ่มขึ้นรายได้ก็เพิ่มขึ้น กำไร (Return) ก็เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น ROE ของบริษัท A จะยังคงสูงต่อไป ตราบใดก็ตามที่บริษัท A สามารถนำไปลงทุนได้อย่างเหมาะสม (สูงกว่าค่า ROE เดิมของบริษัท) หุ้น A จะถือว่าเป็นหุ้น Growth Stock ที่น่าลงทุนตัวหนึ่ง

บริษัท B – อยู่ในธุรกิจที่ผ่านช่วงลงทุนครั้งใหญ่มาไม่นาน ในอดีตบริษัทต้องลงทุนขยายกำลังการผลิตครั้งใหญ่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการสินค้าของบริษัทจนทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาบริษัทต้องกู้หนี้ยืมสิ้นเป็นจำนวนมากทำให้อัตราส่วน D/E ของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นถึง 2.5 เท่า บริษัทเห็นว่าการมีหนี้สินมากจะทำให้ความเสียงของบริษัทนั้นสูงเกินไป บริษัทจึงเก็บผลกำไรไว้คืนหนี้สิ้นเพื่อลด D/E ลงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ จะเห็นว่าทางเลือกนี้ทำให้ค่า E เพิ่มขึ้น (เพราะกำไรแล้วไม่จ่ายออกมาเป็นปันผล) แต่อย่างไรก็ ทั่วไปเมื่อบริษัทมีการลงทุนครั้งใหญ่แนวโน้มรายได้ของบริษัทมักจะอยู่ในช่วงขาขึ้น (ถ้าบริษัทคาดการณ์ถูก) ทำให้กำไรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นค่า ROE ก็จะคงอยู่ในระดับสูง การคืนหนี้ก็จะทำให้บริษัทนั้นมีผลตอบแทนที่ดีในระดับความเสี่ยงที่ลดลงได้ บริษัท B นั้นจะเห็นตัวอย่างได้ชัดเจนจากหุ้น cycle ในช่วงต้อนๆของวงจรขาขึ้นบริษัทจะลงทุนเป็นจำนวนมาก แล้วค่อยมาคืนหนี้ทีหลัง ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่คาดหุ้น B ก็น่าลงทุนไม่น้อยเหมือนกัน

บริษัท C – อยู่ในธุรกิจที่อิ่มตัวแล้ว แทบไม่มีการเติบโต รายได้และกำไรคงที่มาหลายปี แต่ในขณะเดียวกันเมื่อบริษัทไม่เห็นการเติบโตบริษัทจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมทำให้สามารถจ่ายปันผลได้ 100% ถึงแม้ว่ากำไรจะไม่เพิ่ม (R คงที่) แต่ค่า E ก็ไม่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน (ได้กำไรมาเท่าไหร่ก็จ่ายปันผลหมด จึงไม่มีสะสมเป็นกำไร) ค่า ROE ก็จะคงที่ต่อไป ถ้า ROE ของบริษัทอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเช่น 15% ติดต่อกันนานๆ หุ้น C จะจัดได้ว่าเป็นหุ้นปันผลที่น่าลงทุนอีกตัวหนึ่ง

บริษัท D – เหมือนกับบริษัท C ทุกประการ แต่เนื่องจากผู้บริหารเห็นว่าหุ้น D ในกระดานนั้นมีราคาถูกมาก แทนที่บริษัทจะจ่ายออกมาเป็นเงินปันผล บริษัทจึงซื้อหุ้นคืนจากตลาดแทน การซื้อหุ้นคืนนั้นทำให้ส่วนทุนนั้นลดลง (ค่า E ลดลง) ถ้าบริษัทซื้อหุ้นคืนทุกปีโดยใช้เงินเท่ากับกำไรที่ทำได้ในแต่ละปีค่า E จะคงที่ไปเรื่อยๆ ถึงแม้ค่า R จะไม่เพิ่มขึ้น แต่ ROE ของบริษัทจะยังคงอยู่ในระดับเดิมได้ต่อไป

ถ้าหุ้นทั้ง 4 ตัวนั้นมีค่า ROE ที่สูงอยู่แล้ว และบริษัทสามารถใช้ทางเลือกทั้ง 4 ในการบริษัทเงินเพื่อทำให้ค่า ROE ไม่ลดต่ำลงจากเดิมได้ หุ้นทั้ง 4 ตัวนั้นจะจัดได้ว่าเป็นหุ้นที่น่าลงทุนได้ทั้งหมด

วันนี้ดูเรื่องจะค่อนข้างซับซ้อนหน่อยนะครับ ผมพยายามหาทางอธิบายให้ง่ายแล้วก็ยังทำได้เต็มที่แค่นี้ ถ้าให้พูดให้ฟังอาจจะเข้าใจง่ายกว่า พิมพ์เองมันช้า เอาว่าถ้าใครสงสัยส่วนไหนลองถามๆกันมาดูนะครับ

********************

ROE กับ D/E

มีแถมให้อีกหน่อย เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ ROE กับ D/E ซึ่งคงหาอ่านจากหนังสือทั่วไปไม่ได้นะครับ เพราะผมคิดของผมเอง …

ปกติผมจะชอบลงทุนในหุ้นที่มีค่า ROE อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะอย่างที่กล่าวไปว่าค่า ROE ที่สูงสม่ำเสมอนั้นแสดงให้เห็นว่าบริษัทใช้เงินได้อย่างเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามอาจจะมีบางบริษัทที่สามารถทำให้ค่า ROE นั้นสูงได้โดยการกู้เงินมาลงทุนเยอะๆ การกู้เงินเยอะขึ้นจะทำให้ค่า D/E (dept/equity) สูงซึ่งค่า D/E นี้แสดงถึงความเสี่ยงทางการเงินของบริษัท เมื่อเข้ามาลงทุนหลายๆคนคงจะได้ยินที่เค้าบอกกันว่า “High Risk High Return” กันใช่ไหมครับ ในการวิเคราะห์บริษัทเองผมก็ให้ความสำคัญกับประโยคนี้เช่นกัน คือถ้าบริษัทมีค่า D/E ที่สูง บริษัทก็ควรจะมีค่า ROE ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย แต่ถ้าผมไปเจอบริษัทไหนที่มีแนวโน้มค่า D/E สูงขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ROE นั้นไม่เพิ่มขึ้น (อาจจะคงที่หรือลดลง) ผมจะถือว่าเป็นหุ้นที่ควรระวัง เพราะค่า D/E ที่สูงแสดงว่า High Risk ถ้า ROE ไม่เพิ่มขึ้น แสดงว่า Low Return หุ้นแบบนี้หลีกเลี่ยงไว้ดีกว่า แต่ในทางกลับกันถ้าเจอหุ้นที่ D/E ลดลงแต่ ROE เพิ่มขึ้น แบบนี้ต้องรีบตระครุบเอาไว้เพราะเราจะได้หุ้น Low Risk High Return มาประดับ Port

ปล. ค่า ROE ในแต่ละปีอาจจะผันผวนได้พอสมควร เพราะฉะนั้นเราไม่ควรให้ค่า ROE รายปีมาหลอกเราได้ ควรจะตรวจสอบย้อนหลังไปหลายๆปี เพื่อให้เห็นแนวโน้มของมัน จะได้นำมาใช้ได้ถูกต้อง

*************************

P/E P/BV และ ROE

สันติ สิงหวังชา

Yoyo’s Value Investing Way