Posts from the ‘หุ้นปั่น’ Category

การคัดสรรหุ้นปั่น พยายามอธิบายแบบเดาใจเจ้ามือ

การคัดสรรหุ้นปั่น พยายามอธิบายแบบเดาใจเจ้ามือ

1. เพราะหุ้นดีมีเจ้าของแล้ว หุ้นพื้นฐานดีมีขาใหญ่ถืออยู่ทั้งนักลงทุนบุคคลรายใหญ่ นักลงทุนสถาบัน กองทุนตปท.ฯลฯ รวมทั้งเจ้าของบริษัท(ซึ่งหวงหุ้นตัวเอง) การเข้าไปลากราคาสุ่มสี่สุ่มห้าอาจโดนแรงขายมหาศาลประเภทตบกลิ้งหงายท้อง ขาดทุนแน่นอน ในขณะที่หุ้นเน่าไม่มีใครสนใจ จะลากจะทุบไม่มีใครโวยวาย และที่สำคัญ สามารถเก็บสะสมหุ้นจำนวนมากตามที่ต้องการได้ (จำนวนหุ้นที่สะสมได้จะเป็นตัวแปรหนึ่งในการทำกำไรของเจ้ามือ)

2. เพราะหุ้นเน่าหุ้นขาดทุนสร้างสตอรี่ได้ง่าย ประเภท เทิร์นอะราวด์ พันธมิตรต่างประเทศ ถูกเทคโอเวอร์ หรือเพิ่มทุนแจกวอรแรนท์ หรือขายหุ้น pp ให้นักลงทุนรายใหญ่ สารพัดข่าวเต้าขึ้นมาได้โดยมีสื่อและสังคมออนไลน์ช่วยกระพือ

3. เพราะหุ้นดีมีฐานะจะสามารถหามูลค่า-ราคาเหมาะสมได้ ง่าย ๆ ก็ดูจากบทวิเคราะห์ของโบรกฯ การมีเป้าแน่นอนที่ใคร ๆ ก็รู้ทำให้การลากหุ้นถูกจำกัด ส่วนหุ้นเน่า เป้าหมายมีไว้พุ่งชน เป็นเป้าหมายการลากราคา ไม่ใช่เป้ามูลค่าที่ควรจะเป็นของหุ้น ขอเพียงให้เป็นที่รับรู้ของแมงเม่าเท่านั้นก็พอ ร่วมด้วยช่วยกันลาก

4. หุ้นเน่าทิ้งง่าย ง่ายในที่นี้คือเวลาขายทิ้งจะทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะแมงเม่าจะพากันหนีตาย ร่วมด้วยช่วยกันท้ิ้ง (ไม่ต้องห่วงเจ้าเพราะทิ้งไปส่วนใหญ่แล้วตอนลากหุ้นขึ้น) ราคาที่ลดต่ำลงมาก ๆ จะง่ายต่อการเก็บหุ้นคืน เพื่อคืนเจ้าของที่ยืมมาหรือสะสมหุ้นกลับคืนเพื่อปั่นรอบใหม่ในอนาคต ขณะที่หุ้นดีมีพื้นฐาน เวลาทิ้ง ราคาหุ้นจะลงระดับหนึ่งจะมีพื้นฐานคอยรองรับราคาไว้ไม่ให้ลงลึก เวลาจะเก็บคืนลำบากเพราะมีนักลงทุนแย่งเก็บด้วย

5. หุ้นเน่าราคาตลาดจะต่ำเพราะขาดทุนหรือเพราะพาร์10ตังค์ รายย่อยไทยจะชอบเพราะรู้สึกว่า”ถูก”ปั่นติดง่ายกว่า ได้กำไรง่ายและมากกว่าหุ้นพื้นฐานที่ราคาตลาดสูงกว่า และรายย่อยไม่ชอบ

6.เป็นการกระทำต่อ ๆ กันมานานมากแล้วว่าการปั่นหุ้นต้องเป็นหุ้นเน่า เจ้ามือต้องการอนุรักษ์รูปแบบนี้ไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลาน

ฯลฯ
รู้ทันเจ้า เข้า-ออกว่องไว กำไรทุกรอบ ขอบคุณหุ้น GOODDDDD

จะออกไปแตะขอบฟ้า … แต่เหมือนว่าพื้นฐานไม่เข้าใจ.. !!!!!

จะออกไปแตะขอบฟ้า … แต่เหมือนว่าพื้นฐานไม่เข้าใจ.. !!!!!

24 หุ้นราคาพุ่งเสียดฟ้า ปรับตัวสูงสุดเทียบต้นปี
MAX วิ่งแรงสุด เพิ่มขึ้น 378% ไร้พื้นฐานรองรับ

“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” รวบรวมข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือนแรกของปีนี้นับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม -30 มิถุนายน 2557 พบว่า มีราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 24 อันดับแรก ดังนี้

1) MAX ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.53 บาท หรือ 378.57 %

2) RASA ปรับตัวขึ้น 5.17 บาท หรือ 327.22%

3) SUPER ปรับตัวขึ้น 7.26 บาท หรือ 285.83%

4) RICH ปรับตัวขึ้น 0.59 บาท หรือ 236.00%

5) SMPC ปรับตัวขึ้น 29.95 บาท หรือ 155.18%

6) UTP ปรับตัวขึ้น 3.43 บาท หรือ 141.74%

7) BWG ปรับตัวขึ้น 2.68 บาท หรือ 120.72%

8) SKR ปรับตัวขึ้น 42 บาท หรือ 113.51%

9) VARO ปรับตัวขึ้น 4.76 บาท หรือ 112.26%

10) TWZ ปรับตัวขึ้นจ 0.33 บาท หรือ 110.00%

11) TWS ปรับตัวขึ้น 19.75 บาท หรือ 109.72%

12) PAF ปรับตัวขึ้น 0.60 บาท หรือ 105.26%

13) VNG ปรับตัวขึ้นจ 2.59 บาท หรือ 101.17%

14) TH ปรับตัวขึ้น 1.11 บาท หรือ 98.23%

15) PDI ปรับตัวขึ้น 8.40 บาท หรือ95.45%

16) OFM ปรับตัวขึ้น 27.75 บาท หรือ 94.87%

17) MACO ปรับตัวขึ้น 6.50 บาท หรือ 92.86%

18) ESTAR ปรับตัวขึ้น 0.48 บาท หรือ 92.31%

19) STEC ปรับตัวขึ้น 0.90 บาท หรือ 91.60%

20) TIC ปรับตัวขึ้น 16.00 บาท หรือ 91.43%

21) SYNTEC ปรับตัวขึ้น 0.83 บาท หรือ 80.58%

22) ST ปรับตัวขึ้น9.80 บาท หรือ 80.33%

23) SPG ปรับตัวขึ้น 13.30 บาท หรือ 79.64%

24) EVER ปรับตัวขึ้น 0.72 บาท หรือ 78.26%

Cr. ข่าวหุ้นธุรกิจ

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
# จาก 24 หุ้นข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่ไม่มีปัจจัยพื้นฐานมารองรับ
ส่วนมากเป็นหุ้นที่เก็งกำไรเกี่ยวกับข่าวลือ ? ธุรกิจกลับมามีกำไร ? Turnaround ? หรือสตอรี่เชิงบวกอื่นๆ เช่น การ Synergy กันกับกลุ่มทุน/พันธมิตรใหม่ ?

# บางตัวสภาพคล่องต่ำ หรือหุ้นอยู่ในมือเจ้าของเยอะมาก ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างง่ายดาย

# การเล่นหุ้นประเภทนี้มือใหม่ควรหลีกเลี่ยง !!!
ปล่อยให้ผู้มีประสบการณ์เทรดกันจะดีกว่า เพราะ มือใหม่ส่วนมากจะเข้าซื้อตอนข่าวดีออกมา และราคาก็ได้พุ่งขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้เสียเปรียบรายใหญ่และคนที่เก็บตอนราคานิ่งๆเป็นอย่างมาก

# ถ้าขายไม่ทัน หรือไม่มีวิชา Cut Loss ติดตัว
“” อาจดอยได้ แบบไม่มีปันผลปลอบใจ “”

# ส่วนนักซิ่งที่มีหุ้นเหล่านี้ ใครมีกำไรก็อย่าชะล่าใจ อย่าลืมขายทำกำไรเพื่อลดความเสียง และเมื่อขายไปแล้วเห็นราคามันสูงขึ้นก็ไม่ควรกลับเข้าไปอีก

# หวังว่าสุดท้ายแล้วคงไม่มีใครอยู่บนดอยอย่างในรูปกันนะครับ
# เห็นแล้วหนาวแทน บรึ๊ย!!

“” ถ้าไม่แน่จริง..อย่าวิ่งเก็บเหรียญบนไฮเวย์ “”

ตัวอย่าง http://goo.gl/Gy4sWs

ด้วยความปรารถนาดี
– Hybrid Investor

วิธีดูหุ้นปั่น by โจ ลูกอีสาน

วิธีดูหุ้นปั่น by โจ ลูกอีสาน

กระทู้ดีที่เขียนโดยพี่โจ ลูกอีสาน
หุ้นปั่นในนิยามของผม มี 2 จำพวก

– หุ้นพื้นฐานแย่มากๆ แล้วปั่น
– หุ้นพื้นฐานดี หรือพอมีพื้นฐานบ้าง ปั่นจนราคาแพงเวอร์ เป็นการปั่นแบบเนียนๆ

ลักษณะร่วมของหุ้นปั่นมีหลายอย่าง
หุ้นบางตัว อาจเป็นหุ้นที่ดีก็ได้ ถึงแม้ตรงกับหุ้นปั่นบางประการ
แต่ถ้ามีลักษณะร่วม ตรงกันหลายอย่าง โปรดระวัง

หุ้นปั่นมักเป็นอย่างไร

1.ประตูหน้ามีไม่เข้า ชอบเข้าประตูหลัง
หน้าบ้านมี ชอบมุดเข้าประตูหลัง ไม่ปกติ หุ้นที่เข้าตลาดโดยการ backdoor listing ความเข้มงวดของกฎเกณฑ์อาจน้อยกว่า เข้าประตูหลัง ไม่เสียงดัง ไม่เอิกเกริก แต่ถ้าของดี ทำไมต้องทำลับลมคมใน ทำไมไม่เข้ามาอย่างสง่าผ่าเผย หุ้นของใคร ที่เข้าประตูหลัง อาจจะไม่ทุกตัว แต่ควรสงสัย

2. โปรดลืมฉัน

หุ้นบางตัว อยากให้นักลงทุนลืมๆชื่อเสียง(เน่าๆ) ในอดีต ทำอย่างไร วิธีที่นิยมคือเปลี่ยนชื่อบริษัท หุ้นบางตัว อยู่ๆโผล่ๆขึ้นมา ทั้งที่ไม่เคยมีการขาย ipo มันมาจากการเปลี่ยนชื่อ หวังว่าเปลี่ยนชื่อแล้ว จะเป็นสิริมงคล เป็นจุดเปลี่ยนของบริษัท ล้างเรื่องเน่าๆ ในอดีตให้ผ่านไป มันก็แค่ “เหล้าเก่าในขวดใหญ่” นิสัยกมล…ของผู้บริหาร มันไม่ได้เปลี่ยนตามชื่อบริษัท ลองดูหุ้นที่ถือ ถ้าเปลี่ยนชื่อแล้ว ชื่ออีก จนขุดหารากเหง้าไม่เจอ ท่านต้องระวังตัวแล้ว

3.หากำไรไม่เจอ

หรือมีก็บางๆ ก็ความมั่งคั่งหลักของผู้บริหาร ไม่ได้มาจากเงินปันผล แต่มาจากการหากินกับราคาหุ้น กับ”การดูด” ความมั่งคั่งจากบริษัท ผ่านรายจ่ายที่ถูกกฏหมาย เช่นเงินเดือน รถประจำตัวแหน่ง ค่าตอบแทนต่างๆ กับผลประโยชน์ที่ตกลงกับบุคคลที่ 3 ผ่านการซื้อสินค้าหรือบริการ ราคาแพงกว่าปกติ ส่วนที่จ่ายเกิน ก็ทอนกับมาสู่ผู้บริหารหรือเครือญาติ บริษัทเหล่านี้มีแต่ขาดทุนซ้ำซาก เพราะผู้บริหารร่วมใจกัน “ดูด” นั่นเอง หรือบางครั้งก็เลี้ยงให้บริษัทมีกำไรขาดทุนบางๆ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นด่ามาก แล้วเอาเวลามาหากินกับส่วนต่างราคาหุ้น เป็นพักๆ ท่านเห็นไหมบริษัทอย่างนี้ มีกี่บริษัทในตลาดหุ้นไทย

4.เพิ่มทุนเป็นนิจ

ต่อจากข้อที่แล้ว ในเมื่อกิจการขาดทุนเสมอๆ จากการดูดเงินของผู้บริหาร เมื่อผ่านไปนานเข้า เงินหมดบริษัท ส่วนทุนใกล้ติดลบ อาจโดนตลาดแขวน sp ย้ายเข้ากลุ่มี rehap ต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว นั่นคือการเพิ่มทุน จะเอาเงินจากใครดี ควักกระเป๋าเอง หรือดูดเงินจากรายย่อย แน่นอนต้องเป็นอย่างหลัง (บางบริษัทมีเงื่อนใขให้รายย่อยซื้อหุ้นเพิ่มทุนเกินสิทธิ์ได้ พอเม่าคนไหนใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นเกินสิทธิ์ ผลออกมา ได้ครบทุกคนเลย แต่ผู้บริหารไม่ซื้อสักหุ้น โอละพ่อ.. ก็วัตถุประสงค์คือดูดเงินจากรายย่อย นี่นา

5.ปั่นหุ้น ต้องมีสตอรี่

ต่อเนื่องจากการเพิ่มทุน ก็ถ้าไม่มีสตอรี่ ที่ตื่นเต้น ใคร้..จะยอมเพิ่มทุน คราวนี้ก็โหมประโคมข่าวตามหนังสือพิมพ์ โปรเจคโน้นนี้ เราจะทำพลังงานทดแทน เราจะหันไปทำธุรกิจใหม่ ยอดขายเราจะโตปีละ 50% บลาาๆ รายย่อยพอให้ฟังเรื่องราวน่าตื่นเต้น บวกกับการชงข่าว ออกข่าวของผู้บริหาร เกิดอาการอิน ความโลภเริ่มทำงาน สติเริ่มหาย โลกสดใสเหลือเกิน จัดไปเพิ่มทุน แถมซื้อเกินสิทธ์

6.ฝนตกขี้หมูไหล คน…มาพบกัน

สังเกตไหม หุ้นปั่นมักจะมีชื่อ นามสกุล ซ้ำๆไปมาไม่กี่ตระกูล ไม่กี่คน โยงใยกันไหมหมด ชาติที่แล้วอาจมีกรรมอะไรกัน ชาตินี้เลยต้องมาพบกัน (เพื่อปั่นหุ้น) หุ้นบางตัว รายชื่อผู้ถือหุ้นจะซ้ำๆ กับหุ้นอีกตัว หรืออีกหลายตัว เป็นไปได้ไหมว่า คนเหล่านี้ อาโนเนะ ไร้เดียงสา ไม่รู้จักกันจริ๊งๆ เราพบกันโดยบังเอิญ หรือที่จริงเป็นการสบคบคิด รวมหัว เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง แล้วแบ่งผลประโยชน์กัน เคยเห็นไหม หุ้นบางตัวเพิ่มทุน ได้เงินทุน แทนที่จะนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ กลับเอาไปซื้อหุ้นอีกตัวที่ราคาแพงๆ (แล้วไอ้โม่งที่ขายหุ้นให้คือใคร) หุ้นบางตัว swap หุ้นวุ่นวายกันไปหมด แต่สุดท้ายพวกเดียวกันทั้งน้านนนน

7.หุ้นดี ดันไม่มีเจ้าของ

บ้าหรือเปล่า บอกว่าหุ้นตัวเองดีนักหนา แต่ไปดูรายชื่อผู้ถือหุ้น ถือกันคนละไม่เกิน 5% ไหนบอกดีหนักหนา ทำไมไม่ถือหุ้น 50% ก็วัตถุประสงค์การถือหุ้นไม่ใช่ รอรับปันผล หรือส่วนแบ่งกำไร แต่คือการดูดและเอาส่วนต่างราคา ทำไมจะต้องไปถือหุ้นเยอะๆ ล่ะ ถือแค่ให้พอรวบอำนาจการบริหารก็พอ หุ้นปั่นแทบทุกตัวจะเป็นอย่างนี้

แต่หุ้นบางตัวถือกันคนละไม่เยอะจริง แต่ส่วนใหญ่ดันเป็น nominee คนกันเองทั้งนั้น อย่างนี้อาจไม่เข้าข่าย

8.ลูกรักของ กลต. ตลท.

เมื่อทางการเริ่มได้กลิ่นไม่ดี สิ่งแรกที่ทำคือให้บริษัทชี้แจง ซึ่งบริษัทก็จะตะแบงไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็แถจนผ่านละ เพราะที่ปรึกษาทางการเงินก็เตรียมข้อมูลมาแล้ว (รับเงินมาแล้วนี่) ตอนผ่านวาระประชุม ก็สบายเพราะผู้บริหารถือสัก 20% ก็ผ่านแล้ว รายย่อยที่มีเป็นหมื่นเป็นพัน แต่ไม่มีพลัง เพราะส่วนใหญ่ไม่ไปประชุมผู้ถือหุ้น ไม่รู้จักการพิทักษ์สิทธ์ตัวเองด้วยซ้ำ ทางการก็พยายามเตือนเท่าที่จะทำได้ บอกให้ไปประชุมผ่านวาระสำคัญ ใส่เทรดดิ้ง alert ใส่ turnover list ยังเอาไม่อยู่

9.ไม่ครบองค์ประชุม

ในเมื่อเป็นบริษัทไม่มีเจ้าของ ถือหุ้นเป็นเบี้ยหัวแตก รวมกันได้แค่ 20-30% พอนัดประชุมก็มัก “ไม่ครบองค์ประชุม” ต้องนัดใหม่ ซึ่งครั้งที่ 2 มักจะประชุมได้ เพราะใช้คนละเกณฑ์ วาระไหนที่น่าสงสัย ก็มักจะผ่านในการประชุมครั้งที่ 2 นี่เอง หุ้นตัวไหนที่ไม่ครบองค์ประชุม ต้องระวัง

10.ราคาที่หวือหวา

เป็นหุ้นปั่น ราคาต้องหวือหวา เพราะนี่คือเชื้อไฟอย่างดีเพื่อล่อ “แมงเม่า”ให้มาติดกับ ไฟหน้าจอหุ้นปั่นจะกระพริบตลอดเวลา เปรียบเสมือนไฟจากกองไฟที่ล่อแมงเม่า เม่าหลายคนแม้รู้ทั้งรู้ว่าเป็นหุ้นปั่น แต่ overconfidence bias มักคิดว่าตัวเองเจ๋งจะ”หนีทัน” ดันลืมไปว่า ถ้าจ้าวมือไม่เก่งจริง โดนเม่ากิน จะเป็นจ้าวมือได้อย่างไร ราคาหุ้นที่ขึ้นพร้อมบิดหนาๆ อย่าเพิ่งชะล่าใจว่ามีคนจะซื้อเยอะ เผลอเมื่อไหร่บิดหายทันที พร้อมกันห้าช่อง เหลือแต่บิดรายย่อย แล้วโยนโครมซ้าย ยัดหุ้นใส่มือเม่า offer ที่หนาๆ โดนเคาะ อย่าคิดว่าแรงซื้อจริง อาจเป็นของจ้าวมือหรือเครือขายซื้อหุ้นตัวเอง เพื่อทำเสมือนมีคนสนใจซื้อหุ้นเยอะ ในหุ้นปั่น อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น

11.เราจะ turnaround

เราเปลี่ยนชื่อบริษัท เราเปลี่ยนกรรมการ เราจะเปลี่ยนธุรกิจ เราจะเทินอราวด์ ถ้าธุรกิจมันเปลี่ยนกันง่ายๆก็ดีซิ หุ้นหลายตัวเอาให้ได้โครงการไว้ก่อน (ไว้หลอกนักลงทุนให้เพิ่มทุน) พอทำจริงๆ ขาดทุนบักโกรก จำบริษัททำป้ายโฆษณารถเมย์ได้ไหม เป็นตัวอย่างสูตรสำเร็จของการปั่นหุ้น สตอรี่เทินอราวด์ เอาไว้หลอกวีไอที่ฟังก็ชักเคลิ้ม

12.ขุดผีจากหลุม

บางครั้งลงทุนแม้กระทั่งขุดผีจากหลุม วิธีการก็ไปซื้อบริษัทเน่าๆที่อยู่ใน rehap นำมาปัดฝุ่น ใส่ธุรกิจใหม่ที่ดาดๆ พอผลประกอบการผ่านเกณฑ์ ก็ออกจากหลุม ปั่นราคาขึ้นไปเยอะ นัยว่าธุรกิจพื้นตัวแข็งแกร่งแล้ว ระหว่างก็รินขายตลอด จำบริษัท ภาพทางขวางของเอเชีย ได้ไหม นี่ก็เห็นบริษัทก่อสร้างอีก บริษัที่ผู้บริหารโดนคดียักยอก สุดท้ายต้องตัดขายหุ้นให้พวกขุดผี น่าแปลกว่าคนที่ไปขุดผี ดันเป็นกลุ่มเดิมๆอีกแล้ว บังเอิญจิงๆๆ

13.พื้นฐานวันนี้ ราคาชาติหน้า

เป็นหุ้นที่พอจะมีพื้นฐานบ้าง เป็นหุ้นที่อาจจะ turnaround ได้จริง จากขาดทุนซ้ำซาก มีกำไรนิดหน่อย แต่ราคาหุ้นโดนกระชากไป สะท้อนกำไรหลายๆปีข้างหน้าแล้ว หุ้นโรงไฟฟ้าเอย หุ้นลม หุ้นอาทิตย์

14.หุ้นปั่น วีไอ

บริษัทมีโปรเจคมากมาย เป็นโปรเจคจริง แต่ใช้เงินเยอะจังเลย จะหาเงินจากไหนดี เอ่อ…ได้ข่าวนักลงทุนวีไอรวยกันนักใช่ไหม เอางี้ ไปติดต่อให้มา company visit บริษัทเราเดี่ยวนี้ !! ให้ตัวเลขกำไรไปเลย อีก 5 ปีข้างหน้า เราจะกำไรเท่าไหร่ อัดแต่ข่าวดีๆ เอาให้เว่อๆหน่อย วีไอชอบ พอวีไอไล่ซื้อ ราคาดี เราก็ทยอยเพิ่มทุนไปเรื่อยๆ อย่าให้มาก เดี๋ยวแตกตื่น เท่านี้เราก็ได้เงินทุนมาใช้ เสียสัดส่วนหุ้นไม่เท่าไหร่ คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม (พอเพิ่มทุนเสร็จ ก็ไม่ต้องให้ข่าวดีแล้วนะ)

15.หุ้นปั่นไอพีโอ

หุ้นเก่าเป็นสนิม หุ้นใหม่หน้าตาจุ๋มจิ่ม นักลงทุนชอบของใหม่ บิ้วให้เยอะๆ ออกสื่อ road show ขายหุ้นให้แพงที่สุดเพื่อผลประโยชน์ของเจ้าของเดิม (ถ้าขายได้ถูกๆก็ไม่ต้องเข้าตลาดดีกว่า) หุ้นเก่าๆพีอี 10 เท่าแพง หุ้นใหม่ๆพีอี 30 เท่าบอกถูก ยังไม่พอ เทรดวันแรกบิ้วไปเลย ข่าวดีอัดเข้าไป ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ให้ข่าวเยอะๆ ยังขึ้นได้อีก ทีอีตันยังขึ้นเยอะได้เลย นี่กองทุนมาร์คก็เข้ามาซื้ออีก บิ้วไป ขายไอพีโอว่าแพงแล้ว เข้าตลาดยังแพงได้อีกกกก นักลงทุนไทย สุดยอด(ดอยอีกแล้ว )..

ใช้คำพูดแรงไปนิด พาดพิงใคร หรือหุ้นใครไปบ้างก็อภัยนะครับ
จิ้งจกทักยังฟัง ก็ฟังผมบ่นบ้างละกัน

แต่อยากย้ำนะครับ ไม่ใช่หุ้นทุกตัวที่มีคุณสมบัติเหล่านี้แล้วจะเป็นหุ้นปั่น แต่ถ้ามีลักษณะร่วมกันหลายข้อ เราเตือนแล้วนะ..

ใครจะเสริมข้อไหน หรือแนะนำเพิ่มก็ดีครับ

เกือบลืม ไม่ได้ตั้งกระทู้เพราะอิจฉาที่หุ้นปั่นวิ่งเอาๆ นะครับ หุ้นผมก็โอเคนะครับ ไม่ได้มีปัญหาอะไร”

*edit พี่เค้าเขียนเพิ่ม*

16.ปันผลไม่เคยเห็น

จะเห็นได้ไง มีแต่การดูดเงิน(เพิ่มทุน) ไม่มีหน้าที่แจกเงิน (ปันผล) ส่วนใหญ่ขาดทุนซ้ำซาก ปันผลไม่ได้อยู่แล้ว แต่บางตัวมีกำไร ทำไมไม่จ่าย ก็จะแจกเงินให้รายย่อยทำไมล่ะ เราเข้ามาดูดเงินอย่างเดียว เงินอยู่ในบริษัท เดี๋ยวเราก็ดูดออกได้ แบ่งให้รายย่อยทำไม บางบริษัทต้องตุนเงินสดไว้ทำธุรกิจ ปันผลไม่ได้ เพราะแบงค์รู้ทัน ไม่ยอมปล่อยกู้ บริษัทปั่นหุ้น

17. อ๊อฟเดส์ไม่เคยโผล่

จะโผล่มาได้ไง มีแต่แผลทั้งนั้น มาให้นักลงทุนลากใส้หรือ วัวสันหลังหวะ คนทำผิด ย่อมไม่กล้าสู้หน้าคน กลัวโดนซักมาก เดี๋ยวจับได้ไล่ทัน ผิดกับทองแท้ ย่อมไม่กลัวไฟ มีหุ้นปั่นตัวไหน กล้ามาอ๊อฟเดส์บ้าง มีแต่ชอบออกหนังสือพิมพ์ปั่นหุ้น

18.สำเร็จกิจ ถีบหัวส่ง

การเพิ่มทุนเป็นเป็นกระบวนการที่สำคัญมากๆของการปั่นหุ้น เป็นการ”ดูดเงิน” ที่ถูกกฎหมาย อยู่ๆจะเพิ่มทุน ใคร้รรจะมาซื้อหุ้น วิธีที่ได้ผลและทุกบริษัททำคือ ทำราคา+อัดสตอรี่ จ้างสปอนเซอร์มาทำราคา กระชากขึ้นไป พอราคาขึ้น ก็ถึงตาของผู้บริหารให้ข่าว สอดรับเป็นปี่เป็นขลุ่ย เราจะทำโปรเจคโน้นนี้ (ใช้เงินทั้งนั้นแหละ) ราคาที่ขึ้นไปเรื่อยๆ บวกสตอรี่ที่สดใส ฟ้าสีทอง ผ่องอำไพอยู่เบื้องหน้า ถึงจุดไครแม็ก ประกาศเพิ่มทุน (จะเอาไปทำโปรเจคที่ว่าไว้) เพิ่มทุนที่ราคาดอย = ดูดเงินได้สูงสุด พอเพิ่มทุนสำเร็จกิจ ก็แยกทาง ตัวใครตัวมัน สปอนเซอร์หมดหน้าที่ ราคาหุ้นจะค่อยๆไหลลง แม้แต่บริษัทที่พอมีพื้นฐานบ้างก็ทำอย่างนี้ ยังจำกลุ่มสื่อที่หันไปทำธุรกิจดิจิตอลได้ไหม pattern เหมือนที่เล่าเป๊ะๆหรือเปล่า

เศรษฐศาสตร์–อาชญากรรมการเงิน

เศรษฐศาสตร์–อาชญากรรมการเงิน

คอลัมน์ วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2556

ปี 2554 กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ณุศาสิริ และบริษัท KMP Property ได้เข้าซื้อกิจการเกินกว่า 50% ของบริษัทสิ่งทอที่ยุติการประกอบธุรกิจไปแล้ว เพราะขาดทุนและส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ บมจ.ไทยเกรียง กรุ๊ป หรือ TDG ซึ่งถูกพักการซื้อขายไปตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีราคาหุ้นครั้งสุดท้าย 38 สตางค์ ด้วยวิศวกรรมการเงินเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ทางประตูหลัง (back-door listing) ภายใต้ชื่อใหม่ บริษัท อั่งเปา แอสเสท จำกัด (มหาชน) หรือ PAO ด้วยทุนจดทะเบียนใหม่ และโครงการหารายได้อันสวยหรูตามสูตรสำเร็จของที่ปรึกษาการเงิน

ก่อนกลับมาเทรด มีคนจำนวนหนึ่งทำการเร่ขายหุ้น PAO ที่กำลังแต่งตัวรอเข้าเทรด ด้วยราคาซื้อขายนอกตลาด พร้อมกับข่าวลืออย่างนั้นอย่างนี้ (ตามสูตรล่อแมลงเม่าอีกเช่นกัน) ที่ 1.50 บาท จากนั้นก็ทำการกลับมาเทรดใหม่จริงในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 ด้วยราคาเปิดครั้งแรกที่ 1.21 บาท

ใครที่ซื้อหุ้นในราคานอกตลาดตามที่คนเล่าลือกัน 1.50 บาทก็เจ๊งตั้งแต่วันแรกที่เข้าเทรดทันที และจนถึงวันนี้ ราคาหุ้น PAO ที่เปลี่ยนชื่อใหม่อีกเป็น NUSA ราคาก็ยิ่งอยู่ที่ต่ำกว่า 1.10 บาท

ไม่มีใครรู้ว่า ไอ้โม่งที่มีส่วนสมรู้ร่วมคิดในการชี้นำราคานอกตลาดก่อนเทรดจริงมีใครบ้าง จนกระทั่งเวลาผ่านไป 2 ปีเศษ เมื่อ ก.ล.ต. เพิ่งจะออกคำสั่งลงโทษ มาร์เก็ตติ้ง (ชื่อทางการว่าผู้แนะนำการลงทุน)จำนวน 8 คนที่เป็นพนักงานในสังกัดบริษัทหลักทรัพย์คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CGS ด้วยบทลงโทษที่แตกต่างกันเฉพาะบุคคลแล้วแต่การกระทำความผิด

แกนหลักของทั้ง 8 คน คือ นายวีระชัย ครองสามสี ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการสายตราสารทุน และเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนด้านหลักทรัพย์ และ นางสาวปัทมาวดี วรรณวุฒิพงศ์ ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายตราสารทุน ดูแลวิเคราะห์การลงทุน และแนะนำการลงทุนต่อลูกค้า แต่ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนหรือมาร์เก็ตติ้ง โดยคนอื่นๆ ที่เหลืออีก 6 คนล้วนเป็นมาร์เก็ตติ้ง

คนทั้งหมดต่างร่วมกันกระทำความผิดหลายอย่างต่างกรรมต่างวาระ แต่ล้วนโยงเข้ากับการชี้แนะนักลงทุนให้ซื้อขายหุ้น PAO นอกตลาด รวมทั้งการซื้อหุ้นนอกตลาดมาชี้ชวนขายต่อให้นักลงทุน หรือ ใช้บัญชีนักลงทุนซื้อขายหุ้นเพื่อประโยชน์ของตนเอง และไม่บันทึกการให้คำแนะนำการลงทุนที่ให้แก่ลูกค้า

บทลงโทษมีตั้งแต่ ห้ามการปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์สำหรับผู้บริหาร และเพิกถอน หรือพักงานมาร์เก็ตติ้งการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุน โดยมีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาแตกต่างกันตามความผิด แต่ในบทลงโทษดังกล่าว ไม่ได้รวมเอาการลงโทษบริษัทหลักทรัพย์คันทรี่ กรุ๊ป และไม่มีการระบุโทษปรับเงินแต่อย่างใด

ที่สำคัญ ไม่มีความเชื่อมโยงว่าผู้ถือหุ้นใหญ่หรือผู้บริหารของ PAO เกี่ยวโยงด้วย เป็นปัญหาของมาร์เก็ตติ้งที่หวัง “หยิบเบี้ยใกล้มือ”ล้วนๆ

บทลงโทษและการกระทำผิดซ้ำๆ ซากๆ เช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ และยังคงมีต่อไปในอนาคต ตราบใดที่ ก.ล.ต.ยังคงไม่หยุดตรวจสอบความโลภของคนที่กระทำอาชญากรรมทางการเงิน เพียงแต่ก็ยังอดมีคำถามตามมาอีกว่า

1) ทำไมการลงโทษแบบ “วัวหายล้อมคอก” เช่นนี้ จึงเชื่องช้าเหลือเกิน ต้องใช้เวลานานถึง 2 ปีเศษ สำหรับการลงโทษ ในขณะที่คนกระทำความผิดก็ร่ำรวยกันไม่รู้เท่าไหร่ และเหยื่อของพวกเขาก็ขาดทุนไม่รู้เท่าไหร่ ซึ่งกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่กรณีแรก บางกรณีนานกว่านี้หลายเท่า ยิ่งในกรณีต้องส่งให้ดีเอสไอ เพื่อฟ้องคดีต่อศาลด้วยแล้ว กว่าจะจบลงได้ก็อาจจะเกือบลืมไปเลย เช่นกรณีของสนธิ ลิ้มทองกุล กับพวกที่กระทำผิดตั้งแต่ปี 2539 จนป่านนี้ คดีก็ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งที่รับสารภาพในศาลแล้ว

2) บทลงโทษค่อนข้างต่ำเกินจริง เมื่อเทียบกับการกระทำผิด เพราะเท่ากับเปิดช่องให้คนชั่วย้อนกลับมาทำความผิดซ้ำในอนาคตได้ไม่ยากเย็นนัก

ในกรณีหลัง เป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะตามหลักเศรษฐศาสตร์ของอาชญากรรมนั้น หากต้นทุนของการกระทำความผิด (ถูกลงโทษ)ต่ำกว่าผลตอบแทน (รางวัล) ในการกระทำความผิด คนก็ยังพร้อมจะทำความผิดได้เรื่อยๆ ไม่มีเข็ดหลาบ

โดยเฉพาะในธุรกรรมทางการเงินนั้น เราได้เห็นนักการเงินที่ฉ้อฉล และสมคบคิดกระทำผิดหลายคนที่วนเวียนไปมาในตลาดหุ้นไทยอย่างแยบยลซ้ำซ้อน เช่นกรณีเสี่ย ว. (นามสมมติ) เป็นอดีตผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ที่เคยถูกลงโทษหนักในการ “จงใจหลิ่วตา” ให้พนักงานบริษัทละเมิดต่อคำชี้แนะของก.ล.ต.ในการแก้ไขระบบปฏิบัติการที่เลวร้าย เอาเปรียบนักลงทุนที่เป็นลูกค้า เขาก็หอบเงินพาพลพรรคไปซื้อใบอนุญาตบริษัทจดทะเบียนเน่าๆ ที่ติดในกลุ่มรีแฮบโก้ รอวันมีคนเข้าซื้อกิจการ แล้วก็หาพันธมิตรมาร่วมกันดันกลับมาเทรดทำกำไร แล้วก็ขายทิ้งออกไปซ้ำซ้อน ในฐานะ “ขาใหญ่ผู้ช่ำชอง” ในบริษัทแล้วบริษัทเล่าอย่างลอยนวล ซึ่งอยู่ใต้จมูกของ ก.ล.ต. หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยที่ไม่สามารถหามาตรการมาจับผิดและลงโทษได้ แม้จะมองเห็นความผิดปกติได้ไม่ยาก

คำถามว่า ก.ล.ต. หรือตลาดฯ คิดจะจับแต่ปลาซิว โดยไม่ยอมจับปลาวาฬ และเลือกปฏิบัติการทำนอง “ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น” จึงกลายเป็นคำถามที่ท้าทายมากทีเดียว

ในอีกมุมหนึ่ง นักทฤษฎีด้านอาชญวิทยา ก็แย้งว่า การตั้งหรือใช้บทลงโทษที่รุนแรง ก็ใช่ว่าจะแก้ปัญหาการกระทำผิดหรือฉ้อฉลลงไปได้ ตราบใดที่กลไกหรือกระบวนการกำกับดูแลขาดประสิทธิภาพ แต่อาจลดทอนการกระทำผิดซ้ำได้บ้าง แต่ไม่มีหลักประกันใดๆ สำหรับคนที่เจตนาเลวร้ายโดยกมลสันดาน ดังนั้น จึงมุ่งเน้นว่า ความสำคัญของการลดทอนการกระทำผิดน่าจะอยู่ที่การเพิ่มความเข้มข้นของเกมการตรวจสอบหลายระดับ (intensive inspection game)

สำหรับนักทฤษฎีเกม ตราบใดที่ผู้กำกับดูแลอย่าง ก.ล.ต. และ ตลาดฯ ไม่สามารถสร้างเงื่อนไขเพื่อให้เกิดความร่วมมือจากผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ หรือผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน หรือผู้จัดการกองทุน แบบ “เกมกินแบ่ง” ในลักษณะไล่ล่าหาความผิดที่ไม่รู้จบแบบการ์ตูนทอมกับเจอร์รี่ ก็มักจะจบลงด้วยการจับปลาซิว มากกว่าจับปลาวาฬ และมีคำถามถึงประสิทธิภาพจากคนภายนอกไม่สิ้นสุด

เจอแล้วแก๊ง4โมงเย็นที่แท้แห่ขายปิดบัญชีประจำวัน/สมาคมหลักทรัพย์เสนอคุมเข้มพอร์ตโบรเกอร์

เจอแล้วแก๊ง4โมงเย็นที่แท้แห่ขายปิดบัญชีประจำวัน/สมาคมหลักทรัพย์เสนอคุมเข้มพอร์ตโบรเกอร์
วันพุธที่ 11 กันยายน 2013 เวลา 13:08 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 – คอลัมน์ : BIG STORIES

แฉแก๊ง 4 โมงเย็นที่แท้นักเก็งกำไรเล่นสั้นใน 1 วัน พบ 3 กลุ่มพฤติกรรมเข้าข่าย ทั้งนักลงทุน Net settlement หลัง8 เดือน โวลุ่ม1.49 ล้านล้าน กลุ่มพอร์ตบล. Prop trade ยังมีต่างชาติผสมโรง ด้านสมาคมบล. เตรียมออกกฎคุมพอร์ตโบรกเกอร์ จ่อเก็บค่าคอมมิสชัน พอร์ต Directional trading และซื้อขายเดย์เทรด ขณะที่”ก้องเกียรติ” โวยเอาอีกโบรกเกอร์ไม่พ้นตกเป็นแพะ

จากกรณีที่มีกระแสข่าวและวิพากษ์วิจารณ์ถึง”แก๊ง 4 โมงเย็น”กันสนั่นทั้งในสังคมออนไลน์ และโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาทิ เฟซบุ๊ก พันทิป และเว็บบอร์ดสื่อธุรกิจชั้นนำ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ที่เข้ามาโพสต์ข้อความ เป็นนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนหน้าใหม่ ผนวกกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ระบุว่าได้มีการหารือกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (สมาคมบล.) ถึงสถานการณ์การซื้อขายของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (Proprietary trade-Prop Trade) หลังจากมีการตั้งข้อสังเกตว่าบัญชีบล. อาจมีการเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย หรือมีการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม
**”เล่นเนตฯ” ขาใหญ่แก๊ง 4 โมงเย็น
แหล่งข่าวจากวงการตลาดหุ้นเปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า”แก๊ง 4 โมงเย็น” ได้ยินกันมานานแล้ว ซึ่งไม่ใช่กลุ่มนักลงทุนที่สร้างราคาหรือปั่นหุ้น แต่เป็นนักลงทุนที่มีพฤติกรรมการลงทุนที่คล้ายๆกัน คือ ซื้อ-ขายเร็ว หรือเก็งกำไรนั่นเอง เช่น ต้องทยอยขายหุ้นออกให้ทันภายในวันเดียวโดยจะต้องเริ่มขายช่วง 4 โมงเย็น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนที่เล่นหุ้นแบบหักกลบค่าซื้อและค่าหุ้นตัวเดียวกันภายในวันเดียวกัน (Net settlement) และกลุ่มที่เป็นบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ หรือพอร์ตลงทุน หรือพร็อพเทรด (Prop trade)
โดยเฉพาะกลุ่มที่เล่นเนตฯ ซึ่งหากไม่ออก(ขายหุ้น)ช่วงเวลา 4 โมงเย็น ถ้าไม่ได้กำไร ก็อาจจะขาดทุนไปเลย เช่น นักลงทุนเล่นเนตฯในวงเงิน 20 ล้านบาท สามารถรับขาดทุนได้สูงสุด 1 ล้านบาท (คิดเป็น 1 % ของวงเงินที่เล่นหุ้น) ดังนั้นในแต่ละวันนักลงทุนเหล่านี้ต้องบริหารพอร์ต
***ถูกบีบ 4 โมงเย็นต้องขาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในความเป็นจริงนักลงทุนที่เล่นเนตฯ คงไม่รอให้ราคาหุ้นปรับตัวลงถึง 5 % ก็ต้องขายออกมาก่อน โดยเมื่อถึง 4 โมงเย็น ทุกคนก็รู้แล้วว่าไปไม่รอด สุดท้ายก็ต้องแบ่งขายออกมา แม้ไม่อยากเป็นแก๊ง 4 โมงเย็นก็ต้องเป็นช่วยไม่ได้ และบางคนลุ้นนาทีสุดท้ายเพื่อวัดดวง ซึ่งทำได้ในช่วงตลาดขาขึ้น คือ ซื้อเช้าแล้วขายตอนตลาดปิด ( 17.00 น.) แต่หากเป็นตลาดขาลง ก็กลับกัน คือขาย หรือขายช็อตในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์(SBL)และเช้าในวันถัดไปก็ซื้อเพื่อปิดสถานะหรือการนำหุ้นที่ยืมมาคืน
***พอร์ตบล.ติดกลุ่ม
แหล่งข่าวรายเดียวกันยังกล่าวอีกว่า นักลงทุนอีกกลุ่มที่ถูกให้นิยามว่าเป็น”แก๊ง 4 โมงเย็น” คือ คือ พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ ที่ในระยะหลังๆมีพฤติกรรมการลงทุนที่เข้าออกเร็ว เนื่องจากมีแรงจูงใจเรื่องค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารพอร์ต หลังช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทหลักทรัพย์บางรายจ้างเจ้าหน้าที่การตลาดหรือมาร์เก็ตติ้งที่มีประสบการณ์มาบริหารพอร์ต
ตัวอย่างเช่น บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งให้วงเงินบริหาร 200 ล้านบาท แล้วตกลงผลตอบแทนจากการลงทุนกันในสัดส่วน 50 : 50 ของกำไรที่ได้รับ (พอร์ตบล.รับกำไร 50 % มาร์เก็ตติ้งที่บริหารพอร์ตรับกำไร 50 % ) ซึ่งถือเป็นการให้เป็นอินเซนทีฟกับมาร์เก็ตติ้งที่บริหารพอร์ต เป็นเหมือนโบนัสรายเดือน ซึ่งด้านมาร์เก็ตติ้งเองก็ดีเท่ากับลงทุนในหุ้นโดยที่ไม่ต้องมีการวางหลักประกัน และสิ้นเดือนก็จะมาหักในส่วนของกำไรกับขาดทุนก็แบ่งกันระหว่าง 2 ฝ่าย
***ลงทุนยาวสุดข้ามวัน-ต้นทุนต่ำ
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า จากแรงจูงใจเรื่องการจ่ายผลตอบแทนที่จูงใจทำให้ช่วงหลังๆ เริ่มมีบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ที่มีพอร์ตลงทุนมากขึ้น และลักษณะการลงทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนเร็ว หรือเน้นบริหารพอร์ตระยะสั้นๆมากขึ้น อีกทั้งได้ว่าจ้างมาร์เก็ตติ้งที่มีประสบการณ์เพื่อบริหารพอร์ตลงทุนเช่นกัน ทำให้ส่วนใหญ่ไม่นิยมถือลงทุนระยะยาว
ทั้งนี้พบว่าช่วงหลังพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์บางแห่งลงทุนยาวสุดแค่ข้ามวัน ซึ่งหากมีข่าวร้ายช่วงกลางคืน ช่วงเช้าก็ยอมออกก่อน(ขายหุ้น)จึงส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯปรับตัวลงแรง 20 จุด เป็นต้น นอกจากนี้ด้านต้นทุนของพอร์ตเทรดก็ยังได้เปรียบบัญชีทั่วไปคือจ่ายเพียง ล้านละ 78 บาท ขณะที่บัญชีของนักลงทุนทั่วไปมีต้นทุนล้านละ 2,578 บาท(คำนวณโดยอิงค่าคอมมิสชันที่ 0.25 % ของมูลค่าซื้อขาย )
นอกจากนี้พอร์ตเทรด(เก็งกำไร)ของบริษัทหลักทรัพย์ไม่ได้ลงทุนเฉพาะหุ้นอย่างเดียว แต่มีการลงทุนในตลาดอนุพันธ์หรือ ฟิวเจอร์ส การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(DW) เป็นต้น จึงส่งผลให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวนได้
***ต่างชาติผสมโรง
นอกจากนักลงทุนเล่นเนตฯและพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ที่ถูกให้นิยามว่าเป็น”แก๊ง 4 โมงเย็น”แล้ว แหล่งข่าวยังตั้งข้อสังเกตว่า นักลงทุนต่างประเทศก็ติดกลุ่มนี้เช่นกัน เนื่องจากมีพอร์ตลงทุนหรือพร็อพเทรด และมีการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือเทรดออนไลน์โดยมีการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากระบบซื้อขายของผู้ลงทุนหรือ “DMA” (Direct Market Access)
“นักลงทุนต่างชาติกลุ่มนี้ได้วงเงินมาเพื่อบริหารพอร์ตเช่นกัน แต่เขาสามารถเลือกได้ว่าจะเทรดตลาดไหนไม่จำกัดเฉพาะตลาดหุ้นไทยเท่านั้น และมีการไล่หุ้น 3-4 ช่อง แต่คนเล่นหุ้นที่มีประสบการณ์ก็จะรู้ว่าเป็นพอร์ตต่างชาติ แต่มีบางคนไล่ตาม ซึ่งเมื่อต่างชาติมีกำไรเขาก็ต้องเทขาย และมีกำไร 2 เด้ง คือ กำไรจากค่าเงิน และกำไรจากตลาดหุ้น ส่วนนักลงทุนในประเทศที่ไล่ตาม(ซื้อหุ้นตาม)สุดท้ายก็ติดหุ้น
***คลอดแล้วกฎคุมพอร์ตบล.เก็งกำไร
สำหรับความคืบหน้าการออกกฎควบคุมบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบล.เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากการหารือกับสมาชิกของสมาคมอย่างไม่เป็นทางการมีข้อสรุปเบื้องต้นที่จะเสนอต่อที่ประชุมสมาคมบล.ในวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2556 อีกครั้ง โดยจะมีการออกกฎเกณฑ์เพื่อคุมพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ 2 เรื่อง คือ
1.การเสนอให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์หรือค่าคอมมิสชัน สำหรับพอร์ตโบรกเกอร์ในส่วนที่เป็น Directional trading หรือที่เรียกว่าพอร์ตที่มีการซื้อขายระยะสั้นตามทิศทางตลาด ซึ่งรวมการซื้อขายระยะสั้นหรือเดย์เทรดด้วย ไม่รวมพอร์ตลงทุนระยะยาว หรือพอร์ตที่มีไว้สำหรับการป้องกันความเสี่ยงในการรองรับการออกผลิตภัณฑ์การลงทุน อาทิ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(DW) เป็นต้น
โดยค่าคอมมิสชันที่พอร์ตเก็งกำไรจะต้องจ่ายต้องไม่น้อยกว่าที่จัดเก็บจากลูกค้าสถาบัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความทัดเทียมกับนักลงทุนทั่วไปที่ต้องจ่ายค่าคอมมิสชันในการซื้อขายหุ้น
2. การจำกัดวงเงินเทรดของพอร์ตเทรดระยะสั้นจากเดิมให้ลงทุนได้ไม่เกิน 75 % ของส่วนผู้ถือหุ้น โดยคาดว่าลดลงเหลือไม่เกิน 50-60 % ของส่วนผู้ถือหุ้น เป็นต้น แม้ว่าที่ผ่านมาที่ระดับ 75 % ของส่วนผู้ถือหุ้นนั้นทางสมาคมบล.เห็นว่าเพียงพอแล้วก็ตาม ซึ่งแนวทางที่ 2 นี้ถึงแม้ว่าไม่ได้จำกัดที่มูลค่าการซื้อขายหรือโวลุ่มเทรดแต่ไปจำกัดที่วงเงินก็ตาม เนื่องจากการจำกัดที่โวลุ่มซื้อขายได้ถูกเก็บค่าคอมมิสชันไปแล้ว ซึ่งมีต้นทุนเหมือนๆกัน ก็เป็นการสะท้อนว่าหากพอร์ตเทรดมีโวลุ่มสูงก็จะถูกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามนางภัทธีรา กล่าวย้ำว่า การที่บริษัทหลักทรัพย์มีพอร์ตเทรดก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย เนื่องจากยังช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดได้อีกทาง ส่วนกรณีที่พอร์ตเทรดอาจจะมีพฤติกรรมนอกลู่นอกทางนั้นคงเป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ฯในการดำเนินการมากกว่า ซึ่งยอมรับว่าอาจจะมีบ้าง แต่หากลงลึกในรายละเอียด การบริหารพอร์ตระยะสั้นของบริษัทหลักทรัพย์ว่ามีการจ้างผู้บริหารพอร์ตฝีมือดีเพื่อมาลงทุนให้แล้วมีการแบ่งกำไรกันนั้นถือว่าเป็นข้อตกลงกันเองของสมาชิกกับผู้บริหารพอร์ต ทางสมาคมบล.คงไม่ได้ดูลึกในระดับนั้น
***”ก้องเกียรติ”โวยหาแพะ
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบล.เอเซีย พลัสฯ ยืนยันถึงกรณีที่ก.ล.ต. มีการคุมเข้มการลงทุนของบัญชีซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ว่า ประเด็นนี้ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์กับการทำหน้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับผู้ลงทุนเพราะถูกคุมเข้มจากทั้ง ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ฯที่เข้มงวดอยู่แล้ว
“ดัชนีร่วงตอนแรกก็ให้ต่างชาติเป็นแพะ สักพักให้กองทุนทริกเกอร์ฟันด์เป็นแพะ คราวนี้ก็ให้พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์เป็นแพะ ” นายก้องเกียรติ กล่าวและว่าสำหรับการขายหุ้นนั้น เมื่อระดับราคาหุ้นปรับขึ้นไปในระดับที่แพงก็จะต้องขายทำกำไรออกมา ถือเป็นเรื่องปกติของการลงทุน
**พิสูจน์ 4 โมงเย็นมาตามนัดจริง
ทั้งนี้ “ฐานเศรษฐกิจ”ได้สังเกตการณ์บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา โดยจับตาการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่าเมื่อเวลา 15.48 น. ดัชนีปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 1,413.98 จุด เพิ่มขึ้น 29.67 จุด จากวันก่อนหน้าที่ดัชนีปิด 1,384.31 จุด หลังจากนั้นดัชนีก็ถูกกระชากลงลึกเวลา 16.15 น. โดยปรับลงต่ำสุด 1,384.47 จุด ก่อน และปรับขึ้นมาปิดตลาดที่ 1,393.17 จุด
ส่วนมูลค่าการซื้อขายนักลงทุนแยกประเภทในวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา แบ่งเป็นบัญชีนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 2.07 พันล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์หรือพอร์ตโบรกเกอร์ ซื้อสุทธิ 1.24 พันล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 3.53 พันล้านบาท ขณะที่บัญชีนักลงทุนบุคคล ขายสุทธิ 6.84 พันล้านบาท
***8 เดือนเล่นเนตฯ 16 % โวลุ่ม1.49 ล้านล.
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยมูลค่าการซื้อขายในบัญชีเนตเซตเทิลเมนต์ในรอบ 8 เดือน(ม.ค.-ส.ค.56) รวม 1.49 ล้านล้านบาท คิดเป็น 16.08 % ของมูลค่าการซื้อขายรวม 9.24 ล้านล้านบาท
ส่วนมูลค่าการซื้อขายรวมนักลงทุนแยกประเภท รอบ 8 เดือนเศษ (2ม.ค.-9ก.ย.56) แบ่งเป็นนักลงทุนสถาบันในประเทศ 1.56 ล้านล้านบาท ,บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 2.38 ล้านล้านบาท,นักลงทุนต่างประเทศ 3.97 ล้านล้านบาท และนักลงทุนบุคคลในประเทศ 11.03 ล้านล้านบาท

‘ แก๊ง 4 โมงเย็น’คืออะไร

-เป็นนิยามที่นักลงทุนในตลาดหุ้น ใช้เรียกนักลงทุนที่มีพฤติกรรมการซื้อขายเร็ว
-มาตามนัดทุกครั้งช่วง 4 โมงเย็น จะตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นก่อนปิดตลาด 5 โมงเย็น โดยเป็นช่วงที่ประเมินหุ้นที่ลงทุนในวันนั้น ๆแล้วจะไปรอดหรือไม่รอด
*ใครบ้างที่มีพฤติกรรมเล่นหุ้นเร็ว เข้าข่ายฉายา”แก๊ง 4 โมงเย็น”
1.พวกที่ซื้อเช้าขายบ่าย เป็นนักลงทุนที่เล่นหุ้นในบัญชีเนตเซตเทิลเมนต์ หรือจับเสือมือเปล่า ที่ต้องขายหุ้นเพื่อหักกลบค่าซื้อค่าขายหุ้นตัวเดียวกันในวันเดียวกัน ซึ่งมีทั้งรายใหญ่ รายย่อย
2.บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ หรือProp Trade มี 2 ปัจจัยเอื้อให้(บางบริษัท)เน้นเก็งกำไรหุ้น
2.1.มีต้นทุนในการซื้อขายต่ำทำให้ได้เปรียบนักลงทุนทั่วไป ตัวอย่างเช่น พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์มีต้นทุน 78 บาท ต่อการเทรดหุ้น 1 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนทั่วไปมีต้นทุน(ค่าคอมมิสชัน) 2,578 บาทต่อการเทรดหุ้น 1 ล้านบาท
2.2.ผลประโยชน์จูงใจ เนื่องจากระยะหลังบริษัทหลักทรัพย์(บางราย)จ้างมาร์เก็ตติ้งฝีมือดีบริหารพอร์ตและแบ่งผลประโยชน์กัน เช่น หากมีกำไรก็แบ่งกำไร 50 : 50 ระหว่างมาร์เก็ตติ้งกับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าของเงิน
3. พอร์ตสถาบันต่างประเทศ ที่ปัจจุบันสามารถยิงตรงออร์เดอร์ไปยังตลาดต่าง ๆโดยไม่ต้องผ่านโบรกเกอร์ (ระบบDMA ) ตัวอย่างมีพฤติกรรมไล่หุ้นขึ้น 3-4 ช่อง ก่อนขายออก แต่คนเล่นหุ้นที่มีประสบการณ์จะตามเกมทัน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,878 วันที่ 12 – 14 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีการปั่นหุ้น รู้ไว้ ไมเป็นเหยื่อ

วิธีการปั่นหุ้น รู้ไว้ ไมเป็นเหยื่อ
กระบวนท่าที่หนึ่ง ชื่อว่า สร้างข่าวลือ (Dissemination)

นักปั่นหุ้น จะเริ่มปล่อยข่าวลือต่าง ๆ นานา ที่มีผลกระทบต่อระดับราคาหุ้น ทำนองว่า

คุณ….ประธานบริษัท กระซิบกับผมว่า ปีนิ้บริษัททำกำไรได้กว่า 100 บาทต่อหุ้น และจะจ่ายเงินปันผลเป็นพิเศษ อาจจะทั้งหมดของกำไรที่ทำได้ หรือถ้าเป็นกิจการเหมืองแร่อาจปล่อยข่าวทำนองว่า ได้คุยกับหัวหน้าคนงานมา บริษัทดันขุดไปเจอสายแร่มหาศาลที่ไม่ได้ อยู่ในแปลงที่สำรวจไว้ ขุดกันทั้งชาตินี้ชาติหน้าก็ไม่หมด หรือถ้าจะ ให้ระเบิดไปเลยก็อาจต้องปล่อยข่าวลือว่า ขุดเจาะไปเจอทองคำ…ว่า เข้าไปนั่นเลย

ไม่ว่าจะเป็นข่าวอะไร น่าเชื่อถือหรือไม่ก็ตาม คนปล่อยข่าวลือ ต้องย้ำทุกทีว่าอย่าบอกใครต่อนะ เดี๋ยวจะเสียผู้ใหญ่บ้าง เดึ๋ยวคนอื่น รู้เข้าจะแย่งชื้อหุ้นไม่ทันเขาจะไม่ได้ราคาถูกบ้างสุดแล้วแต่จะกุเรื่องไป ถ้าคุณได้ข่าวมาบังเอิญเป็นเพื่อนสนิทของคุณ คุณก็ต้องเชื่อ ทันทีใช่ไหม ? แล้วรีบตาลีตาเหลือกไปซื้อหุ้นเช่นว่า แต่คุณก็มักไม่ลืม กระซิบต่อไปยังเพื่อนสนิทของคุณอีกคนหนึ่ง เพราะกลัวว่าเพื่อนที่ แสนดีของคุณจะพลาดโอกาสทองไป
บอกต่อมาแล้วก็บอกต่อไป เหมือนโฆษณาขายยาแก้สิวนั่นแหละ จากหนึ่งเป็นสอง เป็นสี่ เป็นแปด เป็นสิบหก รวมตัวเลขคูณด้วยสอง ไปเรื่อย ๆไม่นานเกินรอ หุ้นตัวที่ว่าก็ราคาขึ้นใหญ่ ก็จะไม่ให้ขึ้นได้อย่างไร มีแต่คนจะซื้อลูกเดียว พอราคาขึ้นไปได้ที่แล้ว นักปั่นหุ้นที่ปล่อยข่าวลือก็จะขายหุ้นเก็บกำไรไปสบาย ๆ

วิธีนี้ทำง่าย เพราะเมืองไทย คนไทย มักงมงายกับข่าวลือมากกว่า จะพิจารณาข้อมูลผลตอบแทนตามความเป็นจริง

กระบวนท่าที่สอง มีชื่อว่าจับคู่ (Matching)

วิธีนี้ต้องทำมากกว่า หนึ่งคน เตี๊ยมกันมาก่อนว่าผมจะชื้อหุ้นในราคาเท่านี้ คุณจะเทขาย ให้ผมในราคาเท่ากัน แล้วตานี้คุณเป็นคนที่ซื้อบ้างในราคาที่สูงกว่า ผม จะขายให้คุณ สลับกันไปสลับกันมาในราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ
เหยื่อชักทนไม่ไหว กระโดดเข้ามาซื้อบ้าง ก็เป็นอันเรียบร้อย โรงเรียนจีน พอเหยื่อชื้อเข้าไปแล้ว ทั้ง 2 คนก็เลิกเล่น หันกลับมาขาย จริงให้แล้วเอากำไรมาแบ่งกัน เหยื่อที่ซื้อไปก็ต้องแขวนหุ้นตัวนั้น ต่องแต่งต่อไป เพราะไม่รู้จะขายต่อให้ใคร ให้ได้ราคาที่สูงขนาดรับ เงินปันผล อีกสิบปีก็ยังไม่คุ้มเช่นนี้

กระบวนท่าที่สาม มีชื่อว่าหลอกขาย (Wash Sale)

วิธีนี้นักปั่นหุ้น จะต้องมีหุ้นอยู่จำนวนหนึ่ง ต้องมากเหมือนกัน เขาจะหานายหน้า 3-4ราย ยิ่งมากยิ่งดีเพราะดูแนบเนียน
จากนั้นก็สั่งนายหน้ารายนี้ขาย สั่งนายหน้ารายโน้นชื้อในราคา ที่เท่ากัน สั่งนายหน้าอีกรายขายอีก แล้วสั่งให้นายหน้าอีกรายซื้อใน ราคาที่สูงกว่าคราวแรก เล่นหลอกขายให้กับตัวเองไปๆมาๆหลายๆ รอบ ราคาก็เริ่มพุ่งขึ้นอย่างผิดสังเกต เหยื่อติดเบ็ดเมื่อไหร่ก็ขายจริง ๆ ให้ แล้วเก็บกำไรไปเลย

กระบวนท่าที่สี่ มีชื่อว่าสามัคคีปั่นหุ้น (Pool)

หุ้นบางตัวมีทุน มากยากที่จะเล่นคนเดียว ก็ต้องหาพรรคพวกหลาย ๆ คนวางแผน รวมทุน แล้วชื้อพร้อมๆกัน ยักษ์ก็ยักษ์เถอะ ลองเจอแบบนี้ก็สะดุ้ง เหมือนกัน พอราคาเริ่มขยับขึ้นหน่อย ผสมโรงปล่อยข่าวลืออีกนิด เท่านั้น…แมงเม่าก็บินเข้ากองไฟกันเป็นแถว ๆ ถึงตอนนี้พรรคพวกที่ วางแผนกันไว้ก็ตัวใครตัวมัน โกยกำไรกันตามใจชอบ

กระบวนท่าที่ห้า มีชื่อว่าทำต่อเนื่อง (Serial of Transaction)

วิธีนี้ต้องมีเงินเป็นถังและใจถึง โดยจะเข้าชื้อหุ้นตัวเดียวเรื่อย ๆ สฺม่ำเสมอ จากจำนวนน้อยๆก่อน แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในราคาที่สูง ขึ้นทีละนิดอย่างต่อเนื่อง พยายามใช้นายหน้ารายเดียว ถ้าหลายราย เดี๋ยวเหยื่อไม่ติด ทำเช่นนี้สักระยะหนึ่ง บางทีอาจเป็นเดือน

เหยื่อจะเริ่มอึดอัดใจว่า ใครหนอใคร ทำไมถึงซื้อหุ้นนี้จริง คง ต้องมีอะไรดี ๆ แน่ ลองชื้อดูสักนิดเถอะ ได้ผลแฮะ..ได้กำไรด้วย

พอได้ที่ก็ต้องกลั้นใจ ตีให้ระเบิดไปเลย คราวนี้เหยื่อที่รีรออยู่ จะกระโจนโครมเข้ามา ชื่งก็ได้เวลาที่เขาจะค่อย ๆ ขายหุ้น ถอนตัวออกไป พร้อมทั้งกำไรเต็มมือ

กระบวนห่าที่หก ชื่อว่าต้อนเข้ามุม (Corner)

วิธีนี้สำหรับพวก มือโปร เพราะต้องศึกษาว่าใครถือหุ้นไว้เท่าไหร่ กะว่าพวกรายใหญ่ ๆ เจ้าของกิจการที่รับรองไม่ขายแน่ๆมีอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ เช่น 70% เขาก็ จะพยายามซื้อหุ้นแบบเก็บเล็กเก็บน้อยผสมไปเรื่อย ๆ อาจใช้เวลาเป็นแรมเดือน จนได้หุ้นเป็นเปอร์เซ็นต์ที่มากพอจะควบคุมราคาได้ เช่น 10%

จากนั้น ก็จะเริ่มปั่นหุ้นให้ราคาขึ้นราคาลงตามชอบใจ จะใช้ วิธีหลอกขายก็ได้ หรือจะผสมโรงปล่อยข่าวลือก็ไม่ผิดกติกาอะไร

ตอนนี้ คุณพูดอะไรทุกคนเชื่อหมด ก็เมื่อคุณบอกว่าหุ้นขึ้นมันก็ขึ้น หุ้นลง มันก็ลง เหมือนยาสั่ง
ก็เพราะคุณเป็นมาเฟียในหุ้นนั้นไปแล้ว ว่างั้นเถอะ คงไม่ต้องบรรยายซ้ำอีกครั้งว่าจะทำกำไรก้อนโตได้อย่างไร เพราะ ห้ากระบวนมายาที่ผ่านมาจะบอกได้

ปั่นหุ้น” เขาทำกันอย่างไร บรรยง วิทยวีรศักดิ์

ปั่นหุ้น” เขาทำกันอย่างไร บรรยง วิทยวีรศักดิ์

แมลงเม่า หมายถึง ปลวกในวัยเจริญพันธุ์ มีปีก ชอบบินเข้าเล่นแสงไฟในยามค่ำคืน และมักจบชีวิตในเปลวไฟ

นักลงทุนรายย่อย หมายถึง ผู้คนซึ่งพอจะมีสตางค์ ที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น เพราะทนต่อความยั่วยวนของราคาหุ้นที่ขึ้นลงหวือหวาไม่ได้ สุดท้ายมักจะหมดตัวไปกับหุ้นปั่น

ส่วนนิยามโดยสรุปของการปั่นหุ้น คือ การล่อ และลวงนักลงทุนรายย่อยให้เข้าไปซื้อหรือขายหุ้น ที่มีราคาสูงหรือต่ำกว่าสภาวะปกติ โดยเจตนาไม่สุจริต การเปรียบนักลงทุนรายย่อยว่าเป็นแมลงเม่า จึงเหมาะสมด้วยประการฉะนี้

ลักษณะของหุ้นที่นิยมปั่น

1) มีมูลค่าทางตลาด ( MARKET CAPITALISATION ) ต่ำ จะได้ไม่ต้องใช้จำนวนเงินมากในการไล่ราคา

2) ปัจจัยพื้นฐานยังไม่ดี เพื่อที่นักลงทุนสถาบันจะไม่เข้ามาซื้อขายด้วย ซึ่งจะทำให้ยากต่อการควบคุมปริมาณ และราคาหุ้น

3) มีราคาต่อหุ้น ( MARKET PRICE ) ต่ำ ถ้าราคาต่ำกว่า 10 บาทยิ่งดี ด้วยเหตุผลสองประการ หนึ่งเป็นผลทางจิตวิทยา เช่น หุ้นถูกไล่ราคา จาก 3 บาท เป็น 6 บาท ถึงแม้ราคาจะปรับขึ้นมา 100% แล้ว แต่คนยังรู้สึกว่าไม่แพง เพราะยังถูกกว่าราคาพาร์ ( PAR )

4) ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นนักลงทุนสถาบัน มักมีต้นทุนที่ราคาพาร์ หรือสูงกว่า แม้หุ้นจะขึ้นมามาก แต่ถ้าเขาเชื่อว่าแนวโน้มของธุรกิจดี เขามักจะไม่ขาย ( ถ้าแนวโน้มธุรกิจไม่ดี เขาก็ขายทิ้งไปนานแล้ว ) ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลว่านักลงทุนสถาบันจะเข้ามาแทรกแซงในการซื้อขาย

5) มีจำนวนหุ้นหมุนเวียนน้อย เพื่อความมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมปริมาณหุ้นได้ตามที่ต้องการ

6) ผู้ถือหุ้นใหญ่รู้เห็นเป็นใจ หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ถือหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาว จึงไม่สนใจเมื่อราคาหุ้นขึ้น หรือลงหวือหวามีข่าวดีมารองรับ ระยะหลังเริ่มมีการใช้ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นมาเป็นตัวล่อใจนักลงทุนรายย่อย เพื่อให้ตายใจว่าราคาหุ้นถูกไล่ขึ้นมาสมเหตุสมผล เช่น ข่าวการปรับโครงสร้างหนี้ ,ข่าวการร่วมกิจการ , กำไรรายไตรมาสที่พุ่งขึ้นสูงเป็นต้น

ขั้นตอนในการปั่นหุ้น
1) การเลือกตัวหุ้น นอกจากจะต้องเลือกตัวหุ้นที่มีลักษณะตามที่กล่าวไว้เบื้องต้นแล้ว ยังต้องมีการนับหุ้นด้วยว่าหุ้นตัวนี้ตอนนี้มีใครถืออยู่ในสัดส่วนเท่าไร หากจะเข้ามาปั่นหุ้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือนักลงทุนสถาบันจะเข้ามาแทรกแซงหรือไม่ ถ้าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้ความร่วมมือด้วยก็จะง่ายขึ้น

2) การกระจายเปิดพอร์ตการลงทุน จะเปิดพอร์ตกระจายไว้สัก 4 – 5 โบรกเกอร์ ในชื่อที่แตกต่างกัน มักจะใช้ชื่อคนอื่นที่ไว้ใจได้เช่น คนขับรถ , เสมียน , คนสวน เพื่อป้องกันไม่ให้โยงใยมาถึงตนได้

3) การเก็บสะสมหุ้น มีหลายวิธีทั้งวิธีสุจริต และผิดกฎหมายในลักษณะการลวงให้คนทั่วไปเข้าใจว่า ราคาหุ้นตัวนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปการเก็บสะสมหุ้น มีวิธีดังต่อไปนี้

* การทยอยรับหุ้น เมื่อเห็นว่าราคาหุ้นลงมามากแล้ว ก็ใช้วิธีทยอยซื้อหุ้นแบบไม่รีบร้อนวันละหมื่น วันละแสนหุ้น ขึ้นกับว่าหุ้นตัวนั้นมีสภาพคล่องมากน้อยขนาดไหน วิธีนี้เป็นวิธีสุจริตไม่ผิดกฎหมาย จะใช้เวลาในการเก็บหุ้นตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน การกดราคาหุ้น ถ้าระหว่างที่กำลังเก็บสะสมหุ้น ยังไม่ได้ปริมาณที่ต้องการ เกิดมีข่าวดีเข้ามาหรือตลาดหุ้นเปลี่ยนเป็นขาขึ้น เริ่มมีรายย่อยเข้ามาซื้อหุ้นตัวนี้ ก็จะใช้วิธีขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมาเป็นการข่มขวัญนักลงทุนรายย่อย ถือเป็นการวัดใจ นักลงทุนรายย่อยมักมีอารมณ์อ่อนไหว เห็นว่าถือหุ้นตัวนี้อยู่ 2 – 3 วันแล้วหุ้นยังไม่ไปไหน แถมยังมีการขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมา ก็จะขายหุ้นทิ้งแล้วเปลี่ยนไปเล่นตัวอื่นแทน สุดท้ายหุ้นก็ตกอยู่ในมือรายใหญ่หมด วิธีนี้จะใช้เวลา 5 – 10 วัน การเก็บแล้วกด วิธีนี้มักใช้เมื่อมีข่าววงใน ( INSIDE NEWS ) ว่าหุ้นตัวนี้กำลังจะมีข่าวดีเข้ามาหนุน ถ้าหุ้นตัวนั้นไม่มีสภาพคล่อง จะใช้วิธีโยนหุ้นไปมาระหว่างพอร์ตของตนที่เปิดทิ้งไว้รายย่อยเมื่อเห็นว่า เริ่มมีการซื้อขายคึกคัก ก็จะเข้าผสมโรงด้วย คนที่ถือหุ้นอยู่แล้ว ก่อนนี้ไม่มีสภาพคล่อง จะขายหุ้นก็ขายไม่ได้ไม่มีคนซื้อ พอมีปริมาณซื้อขายมากขึ้นก็รีบขายหุ้นออก บางคนถือหุ้นมาตั้งแต่บาทหุ้นตกลงมาถึง 5 บาท พอเห็นหุ้นตีกลับขึ้นไป 5.5 บาท ก็รีบขายออก คิดว่าอย่างน้อยตนก็ไม่ได้ขายที่ราคาต่ำสุด ช่วงนี้รายใหญ่จะเก็บสะสมหุ้นให้ได้มากที่สุด โดยใช้เวลาประมาณ 5 วันทำการ
ขณะเดียวกันต้องคอยดูแลไม่ให้หุ้นมีราคาขึ้นไปเกิน 10 % เพื่อไม่ให้ต้นทุนของตนสูงเกินไปถ้าเกิดราคาสูงขึ้นมากจะใช้วิธีโยนขายหุ้น ล็อตใหญ่ๆ ออกมา โดยให้พวกเดียวกันที่ตั้งซื้อ ( BID ) อยู่แล้วเป็นคนรับเมื่อได้จำนวนหุ้นตามที่ต้องการแล้ว สุดท้ายจะกดราคาหุ้นให้ต่ำลงมายังจุดเดิม โดยใช้วิธีโยนขายหุ้นโดยให้พวกเดียวกันตั้งซื้อเหมือนเดิม แต่จะทำอย่างหนักหน่วง และรวดเร็วกว่า ทำให้ราคาหุ้นลดอย่างรวดเร็ว ช่วงนี้จะใช้เวลา 3 – 5 วัน รายย่อยบางคนคิดว่าหมดรอบแล้ว จะรีบขายหุ้นออกมาด้วย
รายใหญ่ก็จะมาตั้งรับที่ราคาต่ำอีกครั้ง ช่วงนี้จะตั้งรับอย่างเดียว ไม่มีการไล่ซื้อ หรือไม่ก็หยุดการซื้อขายไปเลยให้เรื่องเงียบสัก 4 – 5 วันเป็นการสร้างภาพว่าก่อนข่าวดีจะออกมา ไม่มีใครได้ข่าววงในมาก่อนเลย รอจนวันข่าวดีประกาศเป็นทางการ จึงค่อยเข้ามาไล่ราคาหุ้น

วิธีสังเกตว่าในขณะนั้นเริ่มมีการสะสมหุ้นแล้วคือ ปริมาณซื้อขายจะเริ่มมากขึ้นผิดปกติ จากวันละไม่กี่หมื่นหุ้น เป็นวันละหลายแสนหุ้น ราคาเริ่มจะขยับแต่ไปไม่ไกลประมาณ 5-10% มองดูเหมือนการโยนหุ้นกันมากกว่า กดราคาหุ้นจนกว่าจะเก็บได้มากพอ แล้วค่อยไล่ราคาหุ้น
ข้อระวังอย่างหนึ่ง คือ มีหุ้นบางตัวโดยเฉพาะหุ้นตัวเล็กๆ นักลงทุนรายใหญ่มีข่าวอินไซด์ว่า ผลประกอบการงวดใหม่ที่จะประกาศออกมาแย่มาก หากภาวะการซื้อขายหุ้นตอนนั้นซึมเซา เขาจะเข้ามาไล่ซื้อ โยนหุ้นกันระหว่าง 2-3 พอร์ตที่เขาเปิดไว้ ให้ดูเหมือนรายใหญ่เริ่มเข้ามาเก็บสะสมหุ้นรายย่อยจะแห่ตาม รุ่งขึ้นรายใหญ่จะเทขายหุ้นขนานใหญ่ รายย่อยเริ่มลังเลใจ ขอดูเหตุการณ์อีกวัน
พอผลประกอบการประกาศออกมา ราคาก็หุ้นดิ่งเหวแล้ว รายย่อยจึงถูกดึงเข้าติดหุ้นราคาสูงในที่สุด

* การไล่ราคาหุ้น เมื่อได้ปริมาณหุ้นมากพอ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการไล่ราคา แต่การไล่ราคาต้องหาจังหวะที่เหมาะสมเหมือนกัน หากจังหวะนั้น ไม่มีเหตุผลเพียงพอ รายย่อยก็จะขายหุ้นทิ้งเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปสูงพอประมาณ แต่หากหาเหตุผลมารองรับได้ รายย่อยจะยังถือหุ้นไว้อยู่ เพราะเชื่อว่าราคาหุ้น น่าจะสูงกว่านี้อีก กว่าจะรู้สึกตัว ปรากฏว่ารายใหญ่ขายหุ้นทิ้งหมดแล้ว เหตุผลหรือจังหวะที่ใช้ในการไล่ราคา มักจะใช้ 3 เรื่องนี้
– ภาวะตลาดรวมเริ่มเป็นขาขึ้น กราฟทางเทคนิคของราคาหุ้นเริ่มดูดี มีข่าวลือ ซึ่งปล่อยโดยนักปั่นหุ้นว่า หุ้นตัวนี้กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงทางพื้นฐานไปในทางที่ดีขึ้น
การไล่ราคา คือ การทำให้ราคาปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีการคือ จะมีการเคาะซื้อครั้งละมากๆ แบบยกแถว แล้วตามด้วยการเสนอซื้อ ( BID ) ยันครั้งละหลายๆ แสนหุ้นจนถึงล้านหุ้น เพื่อข่มขวัญไม่ให้รายย่อยขายสวนลงมา
รายย่อยเห็นว่าแรงซื้อแน่น จะถือหุ้นรอขายที่ราคาสูงกว่านี้ รายใหญ่บางคนอาจจะแหย่รายย่อยด้วยการเทขายหุ้นครั้งละหลายแสนหุ้น เหมือนแลกหมัดกับหุ้นที่ตนเองตั้งซื้อไว้เอง รายย่อยอาจเริ่มสับสนว่ามีคนเข้ามาซื้อแต่เจอรายใหญ่ขายสวน ราคาจึงไม่ไปไหน สู้ขายทิ้งไปเสียดีกว่า รายใหญ่จะโยนหุ้นแหย่รายย่อยอยู่สัก 1-2 ชั่วโมง จากนั้นจะตามมาด้วยการไล่ราคาอย่างจริงจังทีละขั้นราคา ( STEP )
ถ้าหุ้นที่ปั่นเป็นหุ้นตลาด คนชอบซื้อขายกัน การไล่ราคาจะไล่แบบช้าๆ แต่ปริมาณ ( VALUME ) จะสูง ราคาเป้าหมายมักจะสูงขึ้นประมาณ 20-25% หากภาวะตลาดกระทิง ราคาเป้าหมายอาจจะสูงถึง 50% แต่ถ้าหุ้นที่ปั่นเป็นหุ้นตัวเล็กพื้นฐานไม่ค่อยดี ปริมาณการซื้อในช่วงเวลาปกติมีไม่มาก การไล่ราคาจะทำอย่างรวดเร็ว ราคาเป้าหมายมักจะสูงถึง 40-50% ถ้าเป็นภาวะกระทิง ราคาเป้าหมายอาจขยับสูงถึง 100%

ช่วงไล่ราคานี้ อาจจะกินเวลา 3 วันถึง 1 เดือน ขึ้นกับว่าเป็นหุ้นอะไร ภาวะตลาดอย่างไร เช่น ถ้าเป็นหุ้นเก็งกำไรที่ไม่มีพื้นฐานจะกินเวลาสั้น แต่ถ้าเป็นหุ้นพื้นฐานดีจะใช้เวลานานกว่า และถ้าเป็นภาวะกระทิง นักปั่นหุ้นจะยิ่งทอดเวลาออกไป เพื่อให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงที่สุดเท่าที่ตั้งเป้าเอาไว้
ในช่วงต้นของการไล่ราคา นักลงทุนรายใหญ่อาจยังคงมีการสะสมหุ้นเพิ่มอยู่บ้าง แต่รวมกันต้องไม่เกิน 5% ของทุนจดทะเบียนในแต่ละพอร์ตที่ใช้ปั่นหุ้นอยู่ พอปลายๆ มือจะใช้วิธีไล่ราคาแบบไม่เก็บของ คือ ตั้งขายเอง เคาะซื้อเอง เมื่อซื้อได้ ก็จะนำหุ้นจำนวนนี้ย้อนไปตั้งขายอีกในราคาที่สูงขึ้น และเคาะซื้อตามอีก
ทำเช่นนี้หลายๆ รอบ สลับกันไปมาระหว่างพอร์ตต่างๆของตนเอง ค่อยๆ ดันราคาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ หากมีหุ้นของรายย่อยถูกซื้อติดเข้ามาจนรู้สึกว่าเป็นภาระมากเกินไป ก็อาจมีการเทขายระบายของออกไปบ้าง แต่เป็นการขายไม้เล็กๆ ในลักษณะค่อยๆ รินออกไป เพื่อไม่ให้นักลงทุนรายย่อยตกใจเทขายตามมากเกินไป ตัวหุ้นเองจะได้มีการปรับฐานตามหลักเทคนิค เพื่อจูงใจนักลงทุนรายใหม่ที่ยังไม่ได้ซื้อ จะได้กล้าเข้ามาซื้อ
การปล่อยหุ้น เมื่อหุ้นขึ้นมาได้ 80% ของราคาเป้าหมายแล้ว ระยะทางที่เหลืออีก 20% ของราคาคือช่วงของการทยอยปล่อยหุ้น ช่วงนี้จะเป็นช่วงชี้เป็นชี้ตายการลงทุนของนักปั่นหุ้น ถ้าทำพลาด นักลงทุนรายย่อยรู้เท่าทัน หรือตลาดไม่เป็นใจ เช่น เกิดสงครามโดยไม่คาดฝัน นักปั่นหุ้นเองที่จะเป็นผู้ติดหุ้นอยู่บนยอดไม้ จะขายก็ไม่มีใครมารับซื้ออาจต้องรออีก 6 เดือนถึง 1 ปีกว่าจะมีภาวะกระทิงเป็นจังหวะให้ออกของได้อีกครั้ง อีกทั้งอาจจะไม่ได้ราคาดีเท่าเดิม หรือถึงกับขาดทุนก็ได้
วิธีการปล่อยหุ้น เริ่มจากการรอจังหวะที่ข่าวดีจะประกาศออกมาเป็นทางการ นักปั่นหุ้นซึ่งรู้มาก่อนแล้วจะเริ่มไล่ราคาอย่างรุนแรง 4-5 ช่วงราคา มีการโยนหุ้น เคาะซื้อเคาะขายกันเองครั้งละหลายแสนหุ้นปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างเห็น ได้ชัด เพื่อดึงดูดความสนใจของรายย่อย
เมื่อรายย่อยเริ่มเข้าผสมโรง นักลงทุนรายใหญ่จะตั้งขายหุ้นในแต่ละช่วงราคาไว้หลายๆ แสนหุ้น และจะเริ่มเคาะนำ ส่งสัญญาณไล่ซื้อครั้งละ 100 หุ้นบ้าง 3,000 หุ้นบ้างหรือแม้แต่ครั้งละ 100,000 หุ้น หลายๆ ครั้ง เมื่อหุ้นที่ตั้งขายใกล้หมด เขาจะเคาะซื้อยกแถวพร้อมกับตั้งซื้อยันรับที่ราคานั้นทันที ครั้งละหลายแสนหุ้น ถามว่าเขาตั้งซื้อครั้งละหลายแสนหุ้น เขากลัวไหมว่าจะมีคน หรือนักลงทุนสถาบันขายสวนลงมา คำตอบคือ กลัว แต่เขาก็ต้องวัดใจดูเหมือนกัน หากมีการขายสวนก็ต้องใช้วิธีเคาะซื้อแต่ไม่ใช้วิธีตั้งซื้อ นักลงทุนรายย่อยเมื่อสังเกตว่ามีการไล่ซื้อ จะเข้ามาซื้อตาม นักลงทุนรายใหญ่ซึ่งคอยนับหุ้นอยู่ พอเห็นมีเหยื่อมาติด จะเคาะนำที่ราคาใหม่ที่สูงขึ้นอีก แต่เพื่อให้ไม่ต้องซื้อหุ้นเข้ามาเพิ่ม เขาจะเคาะซื้อไม้หนักๆ ก็ต่อเมื่อหุ้นที่ตั้งขายอยู่เป็นหุ้นในกลุ่มของตนเอง สมมติตนเองตั้งขายไว้ 500,000 หุ้น เมื่อได้รับการยืนยันจากเทรดเดอร์ว่า เริ่มมีการเคาะซื้อ จากนักลงทุนอื่น ถึงคิวหุ้นของตนแล้ว เช่นอาจมีคนเคาะซื้อเข้ามา 10,000 หุ้น เขาจะทำทีเคาะซื้อเองตามอีก 200,000 หุ้น เพื่อให้รายย่อยฮึกเหิม เมื่อซื้อแล้วเขาก็จะเอาหุ้น 200,000 หุ้นนี้มาตั้งขายใหม่ ยอมเสียค่านายหน้า ซื้อมาขายไปเพียง 0.5% แต่ถ้าสำเร็จจะได้กำไรตั้ง 50-100% เพราะฉะนั้น การไล่ซื้อช่วงนี้จึงเป็นการซื้อหนักก็ต่อเมื่อ ซื้อหุ้นตนเองตบตารายย่อยขณะที่ค่อยๆ เติมหุ้นขายไปทีละแสนสองแสนหุ้น
ส่วนการตั้งซื้อ ( BID ) ที่ตบตารายย่อยว่าแรงซื้อแน่นนั้น หากสังเกตดีๆ จะพบว่าเมื่อตั้งซื้อเข้ามาสองแสนหุ้น สามแสนหุ้น สักพักจะมีการถอนคำสั่งซื้อออก แล้วเติมเข้ามาใหม่เพื่อให้การซื้อนั้นไปเข้าคิวใหม่อยู่คิวสุดท้าย และจะทำอย่างนี้หลายๆ ครั้ง นักลงทุนรายย่อยที่ตั้งซื้อเข้ามา จะถูกดันไปอยู่คิวแรกๆ หมด และถ้าเขาเห็นว่านักลงทุนอื่น มีการตั้งซื้อเข้ามามากพอสมควรแล้ว นักลงทุนรายใหญ่ก็จะมีการเทขายสลับเป็นบางครั้ง เรียกได้ว่ามีทั้งการตั้งขายและเคาะขายพร้อนกันเลยทีเดียว
หากจะสรุปวิธีการที่ใช้ในช่วงปล่อยหุ้นนี้ สามารถแบ่งออกได้ 4 วิธีการย่อย
มีการตั้งขายหุ้น ( OFFER ) ไว้ล่วงหน้า หลายแสนหุ้นในแต่ละขั้นเวลา เริ่มเคาะซื้อนำครั้งละ 100 หุ้น 2-3 ครั้ง และจะเคาะซื้อหนักๆ ก็ต่อเมื่อหุ้นที่ตั้งขาย ( OFFER ) เป็นหุ้นในกลุ่มของตน เมื่อซื้อได้จะรีบนำมาตั้งขายต่อ และจะมีการเติมขายหุ้นตลอดเวลา เมื่อหุ้นที่เสนอขาย ( OFFER ) ใกล้หมด จะเคาะซื้อยกแถว แล้วตั้งเสนอขาย ( BID )เข้ามายันหลายแสนหุ้น แต่จะทยอยถอนออกแล้วเติมเข้าตลอดเวลา
4) เมื่อหุ้นของคนอื่นที่ตั้งซื้อ ( BID ) มีจำนวนมากพอจะมีการเทขายสวนลงมาเป็นจังหวะๆ
เขาจะทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หุ้นในพอร์ตของตนเอง จะค่อยๆ ถูกระบายออกไป และในสุดท้ายเมื่อข่าวดีได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ในวันรุ่งขึ้น เขาจะทำทีเคาะไล่ซื้อหุ้นตนเองอย่างหนัก แต่จะไม่ตั้งซื้อแล้ว เพราะกลัวถูกขาย ดังนั้นจึงเป็นภาพเหมือนมีคนมาไล่ซื้ออย่างรุนแรง แล้วอยู่ๆ ก็หยุดไปเฉยๆ ถามว่าแล้วเขาปล่อยหุ้นไปตอนไหน คำตอบคือ เขาทยอยตั้งขายไปในระหว่างที่เขาทำทีซื้อนั่นเอง ผู้เคราะห์ร้าย คือ รายย่อยที่ไปเคาะซื้อตาม แต่รีรอที่จะขายเพราะเห็นว่ายังมีแรงซื้อแน่นอยู่ สุดท้ายต้องติดหุ้นในที่สุด
บทสรุป
ตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นแหล่งระดมทุนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ และความเจริญของประเทศชาติ ประชาชนทุกคนได้รับโอกาสให้นำเงินออมเข้ามาลงทุนกับบริษัทชั้นดีในตลาดหลัก ทรัพย์ หากเขาเหล่านั้นลงทุนด้วยความรู้ ความเข้าใจ ย่อมสามารถสร้างผลกำไร และความมั่นคงให้กับตนเอง และครอบครัว แต่ถ้าเข้ามาลงทุนด้วยวิธีเก็งกำไรโดยปราศจากความรู้ ย่อมมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของนักปั่นหุ้นที่มีอยู่มากมายในตลาดหุ้นได้
เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว เปรียบได้ดั่งสายฝนซู่ใหญ่ที่พัดสาดเข้ามาอีกครั้ง แสงระยิบระยับของกระดานหุ้นเร้าใจแมลงเม่าไม่แพ้แสงไฟในฤดูฝน เหล่าแมลงเม่าน้อยใหญ่พากันโบยบินเข้าตลาดหุ้น และแล้วตำนานเรื่องเดิมของเหล่าแมลงเม่าก็เริ่มต้นอีกครั้ง

10เรื่องของนักปั่นหุ้นที่คุณไม่รู้

10เรื่องของนักปั่นหุ้นที่คุณไม่รู้

อ้างอิงเนื้อหาจากเว็บ http://thailworld.blogspot.com/2012/10/10_24.html

คำเตือนก่อนอ่าน:บทความนี้ไม่ได้สนับสนุนให้คุณเข้าไปเป็นลูกขา ลูกวง ลูกทีม หรือเครือข่ายสายในนักปั่นหุ้น แต่เอาไว้ให้รู้ทันเกมของนักปั่นหุ้นเท่านั้น

1.นักปั่นหุ้นจะทำงานของเขาหรือเธอแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ขั้นแรก เก็บหุ้น ขั้นที่สอง ไล่ราคาหุ้น ขั้นที่สาม ขายหุ้น

2.นักปั่นหุ้นจะเลือกเป้าหมายปั่น เป็นหุ้นขนาดเล็กมูลค่าการตลาดหลักร้อยล้านหรือพันล้านบาท เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมราคาหุ้นให้อยู่ในกำมือ

3.นักปั่นหุ้นมักจะร่วมมือกับเจ้าของหุ้นที่จะเข้าไปปั่นราคา โดยอาจทำข้อตกลงให้ยกหุ้นทั้งหมดหรือในภาวะที่ควบคุมได้มาอยู่ในมือของนักปั่นหุ้น และอาจขอเงินสดจากเจ้าของหุ้นมาเพื่อการทำราคา เจ้าของมีหน้าที่ออกข่าวสนับสนุนเป็นระยะๆ

4.นักปั่นหุ้นจะเก็บหุ้นในกระดานช่วงแรกด้วยการทุบ นวด บีบ ปล่อยซึมยาวจนนักลงทุนรายย่อยที่ถืออยู่ทนไม่ไหวยอมคายให้หมด เมื่อเช็กจำนวนหุ้นว่าหมดอุปสรรคแล้วก็จะนำหุ้นที่ได้จากการเก็บหุ้น และหุ้นที่ได้มาจากเจ้าของหุ้นแจกไพ่กระจายไปยังทีมสังกัดโบรกเกอร์ต่างๆเพื่อไม่ให้ทางการจับได้ว่ามีการซื้อขายกระจุกตัว และนำหุ้นนั้นไปขอมาร์จิ้นจากโบรกเกอร์เพื่อนำเงินมาสร้างราคา

5.ในขั้นตอนการไล่ราคาหุ้นขึ้นนั้น นักปั่นหุ้นจะหาลูกค้าที่เป็นนักลงทุนมือใหญ่ใจหนักมารับไพ่เป็นทอดๆ เช่น หากราคาหุ้นอยู่ที่5บาทเขาจะัแจกไพ่ไปในราคา5บาทหรือมีส่วนลดกว่าในกระดาน โดยให้คำมั่นสัญญาว่าให้คุณไปขายที่ 10 บาท ซึ่งเมื่อถึงราคาที่กำหนดต้องขาย ห้ามอม เพราะนักปั่นหุ้นหาคนมารับช่วงที่10บาทไว้แล้ว(ส่วนกำไรส่วนต่างจาก5บาทมา10บาทนั้น นักปั่นหุ้นอาจขอกำไร50%หรือให้ในราคาที่ตกลงไว้ เช่น 7 บาท แต่ส่วนต่างเกินไป3บาทนักปั่นหุ้นเอาไว้เอง) จากนั้่นก็จะมีคนมารับช่วงต่อที่ 15 บาท 20 25 30 40 50 บาทเป็นทอดๆ พวกลูกค้าที่เคยได้ก็จะเพิ่้มวงเงินขึ้นเรื่อยๆจนแทบจะแย่งกันแทบไม่พอ ต้องไปช่วยไล่ซื้อราคาในกระดานนอกเหนือจากที่ทำข้อตกลง ราคาหุ้นช่วงนี้จึงมักวิ่งแรง

6.นักปั่นหุ้นกับเจ้าของจะทยอยปล่อยStoryออกมาเป็นระยะว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปเท่านั้นเท่านี้ที่ราคาเว่อร์ๆหลายเท่าตัว โดยเจ้าของหุ้นจะขยันออกข่าวมากเป็นพิเศษ มักจัดอีเว้นต์สารพัดเพื่อให้เป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ หรือซื้อหุ้นตัวเองแล้วรายงานไปยังกลต. ความเชื่อมั่นของลูกขา ลูกทีมจะมากเป็นพิเศษจนบอกปากต่อปากกันไปในลักษณะของ”ข่าววงใน”

7.ช่วงเวลาจะขายหุ้นนั้นมักมีการปล่อยสตอรี่เด็ดๆ เช่น จะมีคนมาเทกโอเวอร์กิจการ รายใหญ่มีชื่อเสียงจะมาซื้อหุ้นร่วมทุน จะได้งานโครงการใหญ่น้อยสารพัด และการแจกวอร์แรนต์ ขั้นตอนนี้นักลงทุนที่ไม่ใช่ลูกวงลูกขาลูกทีมจะแห่เข้ามามืดฟ้ามัวดิน จะเป็นโอกาสให้นักปั่นหุ้นที่รวบหุ้นคืนจากลูกวงครบแล้วขายแบบโล่งๆให้แมงเม่าที่แห่มาชมกองไฟ

8.หากขายหุ้นได้ไม่ครบจำนวน อาจเกิดรายการโปรโมชั่นพิเศษกับลูกขาลูกวงอีกรอบ เช่นรับราคานี้ไปขายอีกราคาโดยไม่ชักเปอร์เซ็นต์ หรือแจกไพ่ให้โบรกเกอร์ในสายที่เคยรับงานกัน โดยมีส่วนลดจากราคาในกระดาน หรือให้เป็นโบนัสพิเศษ หากชวนลูกตค้าซื้อได้เท่าไหร่ มีเงินทอนให้โบรกเกอร์ที่รับงาน

9.นักปั่นหุ้นเมื่อเสร็จภารกิจจะส่งมอบหุ้นคืนกับเจ้าของ พร้อมเงินต้่น แต่ผลกำไรทั้งหมดก็อาจแบ่งปันกันตามข้อตกลง ส่วนใหญ่คือ50:50 และจ่ายคืนเงินกู้กับโบรกเกอร์ และนักปั่นหุ้นจะนำผลกำไรมหาศาลที่ได้ไปเริ่มงานกับหุ้นตัวใหม่ โดยเริ่มวงจรจากข้อ1ถึงข้อ9 คือ เก็บหุ้น,ไล่หุ้น,ขายหุ้น

10.หากเกิดข้อผิดพลาดใดๆนักปั่นหุ้นจะไม่เสียหายเรื่องเงินเลย เพราะเป็นเงินของเจ้าของ หุ้นของเจ้าของหุ้น สินเชื่อมาร์จิ้นของโบรกเกอร์ เงินไล่ราคาจากลูกวงลูกขาและแมงเม่า อย่างมากหากไม่รัดกุมพอก็โดนทางการเล่นงานข้อหาปั่นหุ้น ซึ่งเมื่อถึงกระบวนการยุติธรรมก็มักหลุด เนื่องจากเขาวางแผนรัดกุมสาวถึงตัวยาก คนในกระบวนการยุติธรรม(ตำรวจ อัยการ ศาล)ก็มักไม่เชี่ยวชาญที่จะจัดการกับนักปั่นหุ้นได้

บทความนี้ไม่ได้สนับสนุนให้คุณเข้าไปเป็นลูกขา ลูกวง ลูกทีม หรือเครือข่ายสายในนักปั่นหุ้น แต่เอาไว้ให้รู้ทันเกมของนักปั่นหุ้นเท่านั้น

พิรุธเทรดหุ้นเกินวงเงิน ก.ล.ต.ผนึกตลาดฯบุกรังสอบโบรกเกอร์ ผงะ!พี/อีพุ่ง100เท่า

พิรุธเทรดหุ้นเกินวงเงิน ก.ล.ต.ผนึกตลาดฯบุกรังสอบโบรกเกอร์ ผงะ!พี/อีพุ่ง100เท่า
วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2013 เวลา 10:05 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 – คอลัมน์ : BIG STORIES

ก.ล.ต.จับมือตลาดหลักทรัพย์ฯ บุกรังโบรกเกอร์ต้องสงสัย หลังมาตรการแรก”เทรดเงินสด”สกัดหุ้นเก็งกำไรไม่อยู่ ขณะที่มือดียังปฏิบัติการจับเสือมือเปล่าปั่นกำไรผ่านเทรดมาร์จินออนไลน์ผสมเนตเซตเทิลเมนต์ แย้มขาใหญ่แอบอาศัยบัญชีมาร์จินโยนหุ้นดันราคา เผย 11 หุ้นติดกลุ่มถูกปั่นกำไรร้อนแรง ติดเกณฑ์แคชบาลานซ์แถมพี/อีพุ่งทะลุ 100 เท่า

ตลาดหุ้นไทยร้อนแรงด้วยกระแสเก็งกำไร จนทำให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ออกมาเปิดข้อมูลหุ้นเข้าเกณฑ์ ที่จะต้องสั่งให้ซื้อขายได้เฉพาะบัญชีเงินสด (แคชบาลานซ์) เพื่อหวังสยบความร้อนแรง โดยพบว่า ช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2556 มีหุ้นที่ถูกสั่งให้เทรดเงินสดสัปดาห์เดียวถึง 14 หลักทรัพย์ สูงสุดตั้งแต่เคยมีการประกาศใช้มาตรการนี้ แต่มาตรการดังกล่าวไม่สามารถดับร้อนได้ จนต้องออกมาประกาศหุ้นที่มีการซื้อขายที่ต่างไปจากสภาพปกติ (Trading Alert List) เพื่อเตือนสตินักลงทุน นั้น
***ก.ล.ต.-ผนึกตลท.ลุยพื้นที่
นางดวงมน จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ช่วยเลขาธิการสายผู้ประกอบการธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ก.ล.ต.ยังไม่มีมาตรการออกมาเพิ่มเติม หลังจากที่ตลท.มีมาตรการออกมาเพื่อป้องกันหุ้นที่ร้อนแรงแล้ว ซึ่งถือว่าเดินมาถูกทาง เนื่องจากจำนวนหุ้นที่ร้อนแรงหากอิงจากเกณฑ์แคชบาลานซ์ ก็ถือว่ามีจำนวนมากกว่าทุกปี
อย่างไรก็ตาม ก.ล.ต.จะทำหน้าที่ในการประสานงาน และช่วยเหลือหากตลท.ขอความร่วมมือ เช่น การลงพื้นที่สุ่มตรวจบริษัทหลักทรัพย์(บล.) หรือโบรกเกอร์ ที่ไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ของตลท. รวมถึงเกณฑ์ที่เข้มงวดที่บล.มีออกมาเองเพิ่มเติมด้วย ว่ามีการปฏิบัติตามเกณฑ์หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมีเสถียรภาพเพิ่มเติมจากการตรวจปกติประจำทุกปีด้วย
***เปิดวงเงินมาร์จิน-เล่นเน็ต
นางดวงมนกล่าวว่า ด้านบัญชีมาร์จิน โลน (สินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์) ที่มีการปล่อยอยู่ ณ วันที่ 18 มกราคม 2556 มีมูลค่า 4.4 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ไม่ถือว่าน่ากลัว โดยโบรกเกอร์มีการปล่อยมาร์จินสูงสุดติด 1 ใน 5 อันดับแรก คือ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย)ฯ ,บล.โนมูระ พัฒนสินฯ และ ทีเอสเอฟซี เป็นต้น
ทั้งนี้ เท่าที่ติดตามความเสี่ยงของบริษัทหลักทรัพย์ ที่อาจจะปล่อยมาร์จินจนเกิดความเสี่ยงต่อบริษัทหลักทรัพย์เองนั้น ถือว่าทำได้ดี เนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์ที่ปล่อยมาร์จินในหุ้นที่ร้อนแรง ก็จะระมัดระวังด้วยการเรียกหลักทรัพย์ค้ำประกันมาวางเพิ่ม เป็นต้น
ด้านนายศุภกิจ จิระประดิษฐกุล ผู้ช่วยผู้จัดการสายงานกำกับหลักทรัพย์ กล่าวว่า ตลท.อยู่ในช่วงลงพื้นที่เข้าไปตรวจสอบโบรกเกอร์ ที่อาจจะไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์แคชบาลานซ์ โดยจะเน้นตรวจเฉพาะบริษัทหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขาย หรือโวลุ่มสูง ๆ ในหุ้นที่ติดแคชบาลานซ์เท่านั้น
“คงต้องรอผลจากการลงทุนพื้นที่หลังโวลุ่มในหุ้นที่ติดแคชบาลานซ์ยังสูงอยู่มาก ทั้งๆที่เป็นหุ้นที่นักลงทุนต้องวางเงินสดไว้ล่วงหน้าก่อนซื้อ”
นายศุภกิจ กล่าวว่า ตลท.ยังไม่พบว่าการเล่นหุ้นในบัญชีมาร์จิน และการเล่นแบบหักกลบค่าซื้อและค่าขายหุ้นตัวเดียวกันในวันเดียวกัน (เนตเซตเทิลเมนต์) มีความผิดปกติ หรือมีโวลุ่มสูงและหมุนรอบเร็วมาก จนทำให้เกิดอันตรายต่อระบบการซื้อขาย
ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการโบรกเกอร์เปิดเผยว่า นักลงทุนบางรายซื้อขายหุ้นในบัญชีมาร์จินผ่านออนไลน์ ผสมการเล่นเนตเซตเทิลเมนต์ นอกจากนี้มีนักลงทุนรายใหญ่ หรือขาใหญ่บางราย แอบอาศัยบัญชีมาร์จินโยนหุ้นดันราคาหุ้นด้วย ซึ่งขณะนี้โบรกเกอร์บางรายให้ความระมัดระวังอย่างมาก
ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ฯรายงานว่า ณ เดือนธันวาคม 2555 มีการซื้อขายแบบเนตเซตเทิลเมนต์ 1.01 แสนล้านบาท คิดเป็น 14.64 % ของโวลุ่มรวมทั้งตลาดที่ 6.91 แสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่าในรอบ 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.2555) ที่มีการซื้อขายแบบเนตเซตเทิลเมนต์เฉลี่ย 10-13 % ของโวลุ่มรวม
***โบรกเกอร์ช่วยลูกค้า
ด้านนายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์(สมาคมบล.)วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่หุ้นติดแคชบาลานซ์แต่กลับมีโวลุ่มซื้อขายหนาแน่น ทั้ง ๆ ที่ต้องวางเงินสดก่อนซื้อนั้น มีความเป็นไปได้ที่โบรกเกอร์อาจช่วยลูกค้ากรณีที่ลูกค้ามีเงินไม่เพียงพอสำหรับการซื้อหุ้น เช่น มีเงิน 10 ล้านบาท แต่ต้องการซื้อขาย 15 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าจำนวนเงินที่มีในบัญชี บริษัทหลักทรัพย์ก็อาจจะยอมให้ลูกค้าซื้อขายได้เป็นต้น
“อยากเตือนนักลงทุนว่าหากต้องการลงทุนในหุ้นที่มีราคาและโวลุ่มสูงเกินปัจจัยพื้นฐานก็ควรใช้ความระมัดระวัง ถึงแม้ช่วงนี้โวลุ่มตลาดสูงมากโดยบางวันสูงถึง 4-5 หมื่นล้านบาท”นายญาณศักดิ์ กล่าว
***เปิดชื่อโบรกเกอร์โวลุ่มพุ่ง
ข้อมูลจากตลท.เปิดเผยรายชื่อโบรกเกอร์ที่มีมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์สูงสุด 10 อันดับแรกตั้งแต่วันที่ 2-24 มกราคม 2556 ประกอบด้วย 1.บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย)ฯ มีมูลค่าการซื้อขายรวม 1.99 แสนล้านบาท 2.บล.ฟินันเซีย ไซรัสฯ 9.73 หมื่นล้านบาท 3. บล.คันทรี่กรุ๊ปฯ 9.47 หมื่นล้านบาท 4.บล.เครดิต สวิส (ประเทศไทย)ฯ 9.36 หมื่นล้านบาท 5. บล.กสิกรไทยฯ 8.88 หมื่นล้านบาท
อันดับ 6 บล.บัวหลวงฯ 8.46 หมื่นล้านบาท 7.บล.ธนชาตฯ 7.43 หมื่นล้านบาท 8.บล.ซีไอเอ็มบี(ประเทศไทย)ฯ 6.90 หมื่นล้านบาท 9.บล.ภัทรฯ 6.62 หมื่นล้านบาท และ 10.บล.เอเซีย พลัสฯ มีมูลค่าการซื้อขายรวม 6.62 หมื่นล้านบาท
***สมาคมบล.หามาตรการเสริม
ด้านนางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบล.กล่าวยอมรับปีนี้มีแรงเก็งกำไรในหุ้นขนาดกลางและเล็กที่อยู่นอกเซต 100 จนราคาปรับตัวสูงขึ้นโดยที่ไม่ได้อิงปัจจัยพื้นฐาน และหุ้นบางตัวก็ยังไม่มีบทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ออกมารองรับเพื่อช่วยเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจลงทุนแต่ก็ยังมีแรงซื้อขายเข้ามาในหุ้นพวกนี้จำนวนมาก ซึ่งยอมรับว่ามีความเสี่ยงต่อนักลงทุนเช่นกัน
ดังนั้นสมาคมบล.กำลังหาแนวทางที่จะป้องกันการลงทุนของนักลงทุนในหุ้นที่ไม่มีปัจจัยพื้นฐานมารองรับเพิ่มเติมจากเดิมที่ได้ขอความร่วมมือให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ยังแนะนำให้ลูกค้าลงทุนในหุ้นดังกล่าวก็ควรออกวิเคราะห์มารองรับด้วย
***ผงะหุ้นบางตัวพี/อีสูงกว่า 100 เท่า
สำหรับหุ้นที่ถูกตลท.สั่งให้ซื้อขายเฉพาะบัญชีเงินสด ได้แก่ บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด(มหาชน(บมจ.) (BEAUTY) บมจ.บางกอกแลนด์ (BLAND) ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ซื้อหุ้นสามัญ ของบมจ.บางกอกแลนด์ ครั้งที่ 3 (BLAND-W3) บมจ. รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) บมจ. คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ (CGD) บมจ.จี เจ สตีล (GJS) บมจ. แผ่นดินทองพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (GOLD) บมจ. พีเออี (ประเทศไทย) (PAE) ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ในการจองซื้อหุ้นสามัญ ของบมจ.โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) ครั้งที่ 2 (SLC-W2) บมจ.ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม (TFD) บมจ.ไทย-เยอรมัน โปรดักส์ (TGPRO) และบมจ. ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น (TWZ)
ขณะที่”ฐานเศรษฐกิจ”รวบรวมข้อมูลหุ้นที่ติดแคชบาลานซ์ และมีพี/อี สูงเกิน 40 เท่า พบว่ามี 11 บริษัท ในจำนวนนี้พบว่ามีหุ้นที่มีพี/อี สูงเกิน 100 เท่า 4 บริษัท ประกอบด้วย บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี พี/อี 895.21 เท่า ,บมจ.ตงฮั้ว คอมมูนิเคชั่นส์ พี/อี 249 เท่า,บมจ.สามารถ ไอ-โมบาย พี/อี 175.34 เท่าและบมจ.ยูนิเวนเจอร์ พี/อี 160.65 เท่า (ดูตารางประกอบหุ้นที่ติดแคชบาลานซ์และมีพี/อีสูงเกิน 40 เท่า
ส่วนข้อมูลจากตลท.เปิดเผยรายชื่อหุ้นที่มีพี/อี สูงเกิน 40 เท่า ณ วันที่ 22 มกราคม 2556 มีจำนวนมากถึง 55 หลักทรัพย์

KMC

KMC : มาอีกแล้ว (๑) รวมพาร (๒) ลดราคาพาร์ (๓) แจก kmc-w3 (๔) เพิ่มทุน แถม kmc-w3
ขอขอบคุณ คคห 6 ขอแก้ไขตามความถูกต้อง

KMC มาแอีกแล้วเล่นไม้เดิม ยุ่งยากซับซ้อนทำเรื่องเข้าใจง่ายไม่เป็น วันนี้ประกาศ

เพื่อเข้าใจง่ายๆเห็นภาพชัดเจน สนมมติว่ามี kmc จำนวน 100,000 หน่วยๅๆละ 0.43 บาท ต้นทุน(ทั้งสิ้น) 43,000 บาท สมมติว่าถึงจนถึงหลังปิดตลาด 4/3/2556 (สมมติราคาปิด 0.43) ก่อนวัน xr 5/3/2556 และ ผลที่จะได้รับ (ตามความเข้าใจผม)

AAA รวมพาร์ ลดทุนลดพาร์ แจก kmc-w3 เพิมทุนแถม kmc-w3

(๑) รวมพาร์ 10 บาท เป็น 20 บาท
…..หุ้นในพอร์ต 100,000 kmc จะเหลือ 50,000 kmc ต้นทุนเท่าเดิม 43,000 บาท เฉลี่ยหุ้นละ 0.86 บาท
…..ถ้าราคาปิด 4/5/2556 ที่ 0.43 บาท ในวันรุ่งขึ้นจะเปิด 0.86 บาท

(๒) ลดทุนจดทะเบียนลดพาร์ 20.00 บาท เหลือ 0.70 บาท
…..ในวันพาร์ 0.70 เข้าซื้อขาย ไม่มีผลต่อราคาเปิดในวันนั้น ราคาไม่น่าเปลี่ยนแปลง

(๓) แจก kmc-w3 อัตราส่วนค่าแปลง 1 kmc-w3 : 1 kmc @ 0.75 และ อายุ 3 ปี จะได้แจกอัตราส่วน 10 kmc : 1 kmc-w3
……จะได้ 5,000 kmc-w3

(๔) เพิ่มทุน 4 kmc : 5 kmc (หุ้นใหม่) ราคาหุ้นละ 0.50 บาท
…….จะได้สิทธิซื้อหุ้นใหม่ 62,500 kmc @ 0.50 เป็นจำนวนเงิน 32,500 บาท
…….รวมหุ้นเดิม 50,000 kmc ต้นทุน 43,000 บาท ทำมีจำนวนหุ้น 112,500 kmc ต้นทุนรวม 75,500 บาท เฉลี่ยต่อหุ้น 0.6711

(๖) แถม kmc-w3 อัตราส่วน 5 หุ้นใหม่ ต่อ 3 kmc-w3 อิตราส่วนและค่าแปลง 1 kmc-w3 : 1 kmc @ 0.75 บาท
…..ถ้าใช้สิทธิซื้อเต็มจำนวน 62,500 kmc จะได้ 37,500 kmc-w3

BBB สมมติว่าใช้สิทธิซื้อหุ้นใหม่เต็มจำนวน จะมีหุ้นในพอร์ต (จากเดิม 100,000 kmc ต้นทุน 0.43 บาทต่อหุ้น พอสรุปได้ดังนี้

(๑) 112,500 kmc ต้นทุนรวม 80,500 บาท เฉลี่ยต่อหุ้น 0.71556
(๒) 43,500 kmc-w3 [AAA (๓) & AAA (๖)]

CCC เฉลี่ยต้นทุน ขึ้นอยู่มูลค่า kmc-w3 จะเล่นกันที่เท่าไร สมมติว่าเล่นกันที่ราคา 0.22 ซึ่งเป็นราคาของ kmc-w2 ขณะนี้ ราคาปิดในวันก่อนขึ้นเครืองบหมาย xr ซึ่งเราสมมติที่ 0.43 บาท ในวันรุ่งขึ้นจะเปิดประมาณ

80,500 = 112,500 kmc + 43,500 kmc-w3
80,500 = 112,500 kmc – 0.22*43,500
112,500 kmc = 80,500 – 9,570
1 kmc = 70,930/112,500 = 0.83048 หรือ 0.63/0.64

ต้นทุน

112,500 kmc* 0.64 = 72,000
43,500 kmc-w3*0.22 = 9,570
รวม = 81,570 เปรียบกับต้นทุนรวมแท้จริง 80,500 ส่วนต่าเกิดขึ้นจากการปัดเศษ

เพื่อความถูกต้องช่วยตรวจสอบตัวเลขต่าง ดั่ง คคห 6 ได้ชี้ข้อผิด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อข้อเท็จจริง ขอขอบคุณ คคห 6 ด้วยครับ

ด้วยยความปรารถนาดี

******************************
วันที่/เวลา 24 ธ.ค. 2555 08:36:43
หัวข้อข่าว กำหนดวันประชุมวิสาม้ญผู้ถือหุ้นปี 2556 , การเพิ่มทุนของบริษัทฯ
หลักทรัพย์ KMC
แหล่งข่าว KMC
รายละเอียดแบบเต็ม

เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร

แต่งตั้งนายวัชรกิติ วัชโรทัยเป็นประธานกรรมการบริษัท
______________________________________________________________________

การเพิ่มทุน

เรื่อง : การเพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน
วันที่คณะกรรมการมีมติ : 21 ธ.ค. 2555
รายละเอียดการจัดสรร
จัดสรรให้กับ : บุคคลในวงจำกัด
ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร : หุ้นสามัญ
ชื่อบุคคลในวงจำกัดที่ได้รับจัดสรร :
ให้คณะกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณากำหนดเงื่อนไขและรายละเอียดต่อไป
จำนวนหุ้นที่จัดสรร (หุ้น) : 5,000,000,000
จำนวนหุ้นสามัญที่เพิ่มทุน (หุ้น) : 5,000,000,000
จำนวนรวมของหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น) : 5,000,000,000
มูลค่าที่ตราไว้ (Par)(บาทต่อหุ้น) : 0.70
หมายเหตุ :
ให้คณะกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณากำหนดเงื่อนไขและรายละเอียดต่อไป
______________________________________________________________________

การเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ (PAR)

เรื่อง : การรวมมูลค่าที่ตราไว้ (รวม par)
วันที่คณะกรรมการมีมติ : 21 ธ.ค. 2555
มูลค่าที่ตราไว้(Par) เดิม(บาท/หุ้น) : 10.00
มูลค่าที่ตราไว้(Par) ใหม่(บาท/หุ้น) : 20.00
______________________________________________________________________

การลดทุน

เรื่อง : การลดทุนโดยลดมูลค่าที่ตราไว้ (Par )
วันที่คณะกรรมการมีมติ : 21 ธ.ค. 2555
มูลค่าที่ตราไว้ก่อนการลดทุน (บาทต่อหุ้น) : 20.00
มูลค่าที่ตราไว้หลังการลดทุน (บาทต่อหุ้น) : 0.70
______________________________________________________________________

การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ

เรื่อง : ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ
วันที่คณะกรรมการมีมติ : 21 ธ.ค. 2555
จัดสรรให้กับ : ผู้ถือหุ้นสามัญเดิม
ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร : ใบสำคัญแสดงสิทธิ
จำนวนหลักทรัพย์ที่จัดสรร (หน่วย) : 211,176,828
: หุ้นสามัญ
หุ้นเพิ่มทุนที่จัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิของหลัก
ทรัพย์แปลงสภาพ
จำนวนหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น) : 211,176,828
อัตราส่วน (หุ้นเดิม : หลักทรัพย์แปลงสภาพ) : 10 : 1
: 07 มี.ค. 2556
วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้รับสิทธิซื้อหลักทรั
พย์แปลงสภาพ (Record date)
วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้น : 08 มี.ค. 2556
ตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
วันที่ไม่ได้รับสิทธิซื้อหลักทรัพย์แปลงสภาพ : 05 มี.ค. 2556
ราคาเสนอขาย (บาทต่อหน่วย) : 0.00
ลักษณะของใบสำคัญแสดงสิทธิ
ชื่อใบสำคัญแสดงสิทธิ : ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท
กฤษดามหานครจำกัด (มหาชน) (“ใบสำคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 3” หรือ “KMC-W3”)
อัตราการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ : หุ้น) : 1 : 1

ราคาการใช้สิทธิ(บาทต่อหุ้น) : 0.75
อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ :
3 ปีนับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 3

จัดสรรให้กับ : ผู้ถือหุ้นที่จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร : ใบสำคัญแสดงสิทธิ
จำนวนหลักทรัพย์ที่จัดสรร (หน่วย) : 1,583,826,205
: หุ้นสามัญ
หุ้นเพิ่มทุนที่จัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิของหลัก
ทรัพย์แปลงสภาพ
จำนวนหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น) : 1,583,826,205
อัตราส่วน (หุ้นเพิ่มทุน : หลักทรัพย์แปลงสภาพ) : 5 : 3
ราคาเสนอขาย (บาทต่อหน่วย) : 0.00
วันเสนอขาย : วันที่ 20 มี.ค. 2556 ถึงวันที่ 27 มี.ค. 2556
ลักษณะของใบสำคัญแสดงสิทธิ
ชื่อใบสำคัญแสดงสิทธิ : ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท
กฤษดามหานครจำกัด (มหาชน) (“ใบสำคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 3” หรือ “KMC-W3”)
อัตราการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ : หุ้น) : 1 : 1

ราคาการใช้สิทธิ(บาทต่อหุ้น) : 0.75
อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ :
3 ปีนับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 3

______________________________________________________________________

การเพิ่มทุน

เรื่อง : การเพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน
วันที่คณะกรรมการมีมติ : 21 ธ.ค. 2555
รายละเอียดการจัดสรร
จัดสรรให้กับ : ผู้ถือหุ้นเดิม
ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร : หุ้นสามัญ
จำนวนหุ้นที่จัดสรร (หุ้น) : 2,639,710,342
อัตราส่วน (เดิม : ใหม่) : 4 : 5
ราคาจองซื้อ (บาทต่อหุ้น) : 0.50
วันจองซื้อและชำระค่าหุ้น : วันที่ 20 มี.ค. 2556 ถึงวันที่ 27 มี.ค. 2556
วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น : 07 มี.ค. 2556
ที่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (Record date)
วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้น : 08 มี.ค. 2556
ตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
วันที่ไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (XR) : 05 มี.ค. 2556
จำนวนหุ้นสามัญที่เพิ่มทุน (หุ้น) : 2,639,710,342
จำนวนรวมของหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น) : 2,639,710,342
มูลค่าที่ตราไว้ (Par)(บาทต่อหุ้น) : 20.00
หมายเหตุ :
จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวนไม่เกิน 2,639,710,342 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 20 บาท
ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม ตามสัดส่วน (Rights Issue)ในอัตรา 4 หุ้นเดิม ต่อ 5 หุ้นเพิ่มทุน
ในราคาเสนอขายหุ้นละ 0.50 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่
7 มีนาคม 2556 โดยกำหนดวันจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนในระหว่างวันที่ 20 มีนาคม 2556 ถึงวันที่ 27
มีนาคม 2556
ในกรณีที่มีหุ้นสามัญเพิ่มทุนเหลือจากการจองซื้อของผู้ถือหุ้นเดิมดังกล่าวข้างต้น ให้คณะ กรรมการบริษัท
หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เหลือดังกล่าวให้กับผู้ถือหุ้นเ
ดิมที่ประสงค์จะจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเกินกว่าสิทธิที่รับการจัดสรร (Excess Rights)
ตามสัดส่วนดังกล่าวข้างต้นในราคาเดียวกัน
จนกว่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวจะได้รับการจัดสรรจนครบทั้งจำนวน
โดยในการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนส่วนที่เหลือดังกล่าวให้คำนึงถึงจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนส่วนที่เหลือ
และจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จองซื้อโดยผู้ถือหุ้นที่ประสงค์จะจองซื้อหุ้นเกินกว่าสิทธิที่ได้รับการจัดส
รร
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการบริษัท
หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทมีอำนาจพิจารณากำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขอื่นๆ
รวมทั้งระยะเวลาในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าว
______________________________________________________________________

กำหนดการประชุมผู้ถือหลักทรัพย์

เรื่อง : กำหนดการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น
วันที่คณะกรรมการมีมติ : 21 ธ.ค. 2555
วันประชุม : 11 ก.พ. 2556
เวลาเริ่มประชุม (h:mm) : 10 : 00
วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมประชุม (Record : 11 ม.ค. 2556
date)
วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อรวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร : 14 ม.ค. 2556
่วมประชุมตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
วันที่ไม่ได้รับสิทธิเข้าประชุม : 09 ม.ค. 2556
วาระการประชุมที่สำคัญ :
– การเพิ่มทุน
– การลดทุน
– การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ
– การเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ (par)
สถานที่ประชุม : โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ
หมายเหตุ :
ห้องบุษบงกช เอ
______________________________________________________________________
สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์
ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ
ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้
และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย
หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ
และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้

แก้ไขเมื่อ 24 ธ.ค. 55 19:35:53

แก้ไขเมื่อ 24 ธ.ค. 55 18:50:41

จากคุณ : luck me

(๔) เพิ่มทุน 4 kmc : 5 kmc (หุ้นใหม่) ราคาหุ้นละ 0.50 บาท
…….จะได้สิทธิซื้อหุ้นใหม่ 62,500 kmc @ 0.50 เป็นจำนวนเงิน 32,500 บาท
…….รวมหุ้นเดิม 50,000 kmc ต้นทุน 43,000 บาท ทำมีจำนวนหุ้น 112,500 kmc ต้นทุนรวม 75,500 บาท เฉลี่ยต่อหุ้น 0.6711

หมายความว่า ใครที่มีหุ้นมีสิทธิซื้อหุ้นใหม่ที่ 50 สตางค์หรือครับ ซับซ้อนซ่อนเงื่อนโคตร

อิอิ..ดีใจกะเม่า KMC ทุกท่านใครอยากเล่น เรามีสูตรคอนทร้าง่ายๆ ให้ไปแก้มือกะเจ้า

ข้อแรก …สาดทิ้ง KMC-W2 ให้หมดสิ้น มันจะลากล่อแมงก็ปล่อยมเค้าทำไปแบบครั้งก่อน

ถ้าท่านติดดอย จะเอาเงินที่เหลือ รอซื้อ KMC-W3 ถูกๆๆชาตินี้ได้ซื้อแน่รับประกัน
อยากเล่นมาก อดใจไว้ ทนขาดทุนไปก่อนถ้าดอย(ดอยไงฟะ เค้าลากจาก 40ตังมาขาย55สบายๆๆ)
รอซื้อเมื่อหุ้นพาร์70ตังเข้าเทรด แล้วค่อยไปรุ่มข่มขืนหุ้นกะเค้ากัน..คริคริ

ขอกำไรจงอยู่ในกระเป๋าเม่า…..ดาร์ทเวเตอร์ฝากมาบอก
(อยากให้หุ้นตัวนี้วิ่งขึ้น เม่าจง **งดซื้อเพิ่มทุนโดยเด็ดขาด** และเช่นเคย จดคำพูดนี้แปะในหนังสือเพิ่มทุนไว้…555 แล้วท่านจะระลึกถึงเรา)

เห็นด้วยว่าราคามันยังไม่แน่นอน

1. ราคาปิด kmc ก่อน xr ที่ใส่ในสูตรเป็นแค่ *คาดการ* ซึ่งจริงๆ ไม่รู้จะออกหัวหรือก้อย

2. ราคา kmc-w3 ก็เป็นแค่ *คาดการ* ซื้อขายช่วงเดือนแรกๆ มันจะวิ่ง 0.01 – 0.02 หรือเปล่าก็ไม่รู้
หรือถ้าเปิดสูงๆ ช่วงวันแรกจริง รับรองมีไหลแน่

รอเก็บหลังมันเข้าเทรดแล้วอาจจะปลอดภัยกว่า

ว่าแต่คุณ luck me คิดให้คร่าวๆ สำหรับคนที่คิดจะใช้สิทธ์เพิ่มทุน (เติมตัง) นี่
แล้วถ้าคนที่อมหุ้นไว้แต่ไม่คิดจะซื้อหุ้นเพิ่มทุนหละ ถ้าปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ จะขาดทุนเท่าไหร่ จากมูลค่าในปัจจุบัน

เพราะนี่ขนาดคนที่ต้องควักตังก์เพิ่มทุนให้เจ้า คำนวนแล้วยังปริ่มๆ เกือบขาดทุน

ช่วงนี้ราคา kmc ถ้าไม่ลากก็ปล่อยให้ไหล ขึ้นอยู่กับเจ้าอย่างเดียวว่าจะเล่นยังไง
เสี่ยงเกินไปสู้ไปหาตัวอื่นเล่นดีกว่า มีตั้งหลายตัวที่ตอนนี้วิ่งกันทะลุมิติ วันๆ นึงขึ้น 20-30%

ที่ จขกท.อธิบายมาเคลียร์หมด เพราะคิดได้ประมาณนี้เหมือนกัน

แต่สงสัยตอนเพิ่มทุนแล้ว ลดพาร์จาก 20 เหลือ 70 สต.จำนวนหุ้น

ไม่เพิ่มเหรอคะ เพราะตอนรวมพาร์ หุ้นยังเหลือครึ่งเดียว

ปล. การเพิ่มทุนใช่ว่าจะไม่ดี ลูกชายลองซื้อ UV เล่น ๆนิดหน่อยตอน

10 บาท เลยต้องเพิ่มทุน 1 : 1.5 ที่ 5 บ. ตอนนี้ทุนก็อยู่ที่ 7 บาท

ถ้าหุ้นที่ซื้อขายได้ 26 ธค. ยังอยู้ที่ 9.5+ ก็กำไรนะคะ